สวัสดีค่าเพื่อนๆ เป็นอย่างไรกันบ้างคะสบายดีกันหรือเปล่าเอ่ยยยย วันนี้เป็นวันดีที่เราจะมาพูดถึงเรื่องของการรักษาโรคซึมเศร้ากันสักหน่อย ถ้าพูดถึงโรคซึมเศร้าเพื่อนๆจะนึกถึงอะไรกันบ้างคะ
คงจะนึกถึงเรื่องเศร้าเสียใจที่ประสบพบเจอกันแน่ๆเลยใช่ไหม ไม่แปลกหรอกค่ะที่เพื่อนๆจะนึกแบบนั้เพราะเรื่องราวต่างๆที่เจอมาในชีวิตนั้นแหละค่ะที่เป็นสาเหตุหลักๆของการเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นมา
เมื่อมีเรื่องราวต่างๆมากมายที่กระทบจิตใจ ทำให้เราเสียใจกันอยู่บ่อยๆนั้นเองจะส่งผลต่อระบบสมองและร่างกาย ทำให้สมองนั้นหลั่งสารสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับระบบกระบวนการคิดและอารมณ์ ซึ่งทำให้เรานั้นมีภาวะซึมเศร้าขึ้นมาได้นั้นเอง
และในวันนี้เราก็จะตั้งคำถาม และรวบรวมคำตอบจากประสบการณ์การรักษาจากเพื่อนๆที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มาแชร์ประสบการณ์และให้คำแนะนำสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าไว้มากมายจากใน pantip มาบอกเพื่อนๆกัน บอกเลยว่าบทความนี้สำหรับใครที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้วมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาต้องห้ามพลาดเลยทีเดียวค่ะ อยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยย
4 คำถามข้องใจ ที่ชาว Pantip ตอบให้! เกี่ยวกับการรักษาโรคซึมเศร้า
คำถามที่ 1 : เหตุใดผู้ป่วยซึมเศร้าบางรายจึงรักษาอาการนานหลายปี แต่ก็ไม่หายสักที ?
ต้องไปดูว่ารักษาด้วยอะไร ยาต้านซึมเศร้าไม่ได้รักษาโรคซึมเศร้า ยาแค่บรรเทาอาการให้เบาลงแต่โรคไม่ได้หายไป การใช้ยามาจากข้อสมมติ (assumption) ว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารในสมอง ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงและไม่สามารถพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้เต็มตัว (จิตแพทย์กับนักจิตวิทยาไม่ค่อยลงรอยในประเด็นนี้บ่อย ๆ) สมมติว่าแม่เพิ่งสูญเสียลูกจากอุบัติเหตุอย่างกะทันหันจนเกิดเป็นโรคซึมเศร้า คิดว่าโรคซึมเศร้าของแม่คนนี้เกิดจากลูกเสียชีวิตหรือสารในสมองผิดปกติ? ถ้าสมมติว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารในสมองจริง การใช้ยาก็ทำได้แค่ปรับระดับสารในสมองในช่วงที่ใช้ยาอยู่เท่านั้น หยุดยาก็กลับมาเหมือนเดิม ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริงคนที่มีโรคซึมเศร้าต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต
ถ้าตั้งข้อสมมติใหม่ว่าโรคซึมเศร้าของแม่ในตัวอย่างข้างบนเกิดจากประสบการณ์เลวร้าย (ลูกเสียชีวิต) แบบนี้การรักษาด้วยการปรับความคิดของแม่จะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำดังกล่าวคือจิตบำบัดโดยนักจิตวิทยา จิตบำบัดเป็นวิธีที่ฟังดูดีมากในอุดมคติ แต่ในทางปฏิบัติมักติดปัญหาหลายอย่าง สมมติว่าจริง ๆ แล้วโรคซึมเศร้าของแม่ไม่ได้เกิดจากลูกเสียชีวิต แต่เกิดจากปัญหาชีวิตที่ท่วมท้นตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว เช่น งาน เพื่อน ความรัก โรคเกิดขึ้นมานานแล้วแต่ถูกซ่อนเอาไว้ภายใน การเสียชีวิตของลูกเป็นเพียงตัวจุดชนวน (trigger) ให้โรคแสดงออกมา เหมือนถูกเทน้ำมันใส่สะสมทุกวันแล้ววันหนึ่งติดไฟขึ้นมา การทำจิตบำบัดในอุดมคติต้องจัดการตั้งแต่ต้นเหตุ แต่ในทางปฏิบัติแม่และนักจิตบำบัดไม่รู้ว่าอะไรคือต้นเหตุที่แท้จริง เห็นเฉพาะการจากไปของลูกที่เป็นตัวจุดชนวน กว่าจะค่อย ๆ ซักประวัติจนลึกถึงต้นเหตุจึงทำยากและใช้เวลานาน หลายครั้งหลงทางไปกับรายละเอียดปลีกย่อยจนไม่เจอต้นเหตุ
คำตอบจากผู้รู้จริงใน Pantip สมาชิกหมายเลข 5958345 คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
คำถามที่ 2 : กินยาตามที่จิตแพทย์สั่งแต่ทำไมอาการยังไม่ดีขึ้นเลย จะทำอย่างไรดี ?
อาการของโรคซึมเศร้า โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการที่เปลี่ยนแปลงทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความจำ ความสัมพันธ์
กับคนรอบข้างเปลี่ยนไปและอาการแสดงทางร่างกายต่างๆ โดยอาการอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสัปดาห์ หรือค่อยเป็นค่อยไป
ก็เป็นได้ค่ะ
ทั้งนี้ สำหรับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้านั้น แพทย์อาจจะเลือกใช้ยาและจิตบำบัดในการรักษาควบคู่กันไปค่ะ โดยแพทย์อาจจะพิจารณา
จากหลายๆปัจจัย ได้แก่ อายุ ความรุนแรง ผลข้างเคียง การใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้นค่ะ และนอกจากนี้ แพทย์มักจะวางแผนการรักษา
ร่วมกับผู้ป่วยอย่างละเอียด ซึ่งการใช้ยาที่รักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีหลายกลุ่มตามลักษณะทางเคมีและการออกฤทธิ์ของตัวยา
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจึงสามารถบอกได้ว่าตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ และในปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 80-90%
ตอบสนองต่อยาซึมเศร้าทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น จนหายได้ค่ะ และอาจจำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1-2 ปี เป็นต้นค่ะ
คำตอบจากผู้รู้จริงใน Pantip คุณ Ram hosp คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
คำถามที่ 3 : หากลืมกินยารักษาโรคซึมเศร้าตามที่คุณหมอสั่งจะเป็นอะไรไหม ?
การลืมกินยา ปรับลดหรือเพิ่มยา รวมทั้งหยุดยารักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง มีผลต่อการรักษาค่ะ หากลืมบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดการดื้อยา การถอนยา และทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร บางทีหมอต้องปรับยาใหม่เหมือนเริ่มต้นใหม่เสียเวลาในการรักษาไปค่ะ หากลืมกินบ่อย ๆ เป็นไปได้ต้องลองหาวิธีเตือนตัวเองเพื่อไม่ให้ลืมอีก เช่น การจ้ดยาใส่กล่องในแต่ละวัน และกินยาเวลาเดิมทุกวัน เป็นต้นค่ะ เราเคยรักษาด้วยยาอย่างเดียวมานานถึงห้าปี ตอนนั้นโรคซึมเศร้ายังไม่เป็นที่รู้จักไม่มีข้อมูลความรู้ความเข้าใจใด ๆ แม้กระทั่งจากหมอที่จะแนะนำ ทำให้เราปรับยาและหยุดยาเอง การรักษาไม่ได้ผลพอหมอรู้ว่าไม่กินยาตามที่แนะนำอาการเราแย่ลง ก็เริ่มปรับยาตัวใหม่ พอดีขึ้นคิดว่าหายแล้ว ก็ดันหยุดยาเองอีกค่ะ
ทำให้กลับมาป่วยซ้ำอีกอาการรุนแรงและเป็นโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย การรักษายากขึ้น ซับซ้อนขึ้น อีกทั้งใช้เวลาในการบำบัด เยียวยา ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจเกือบสิบปีถึงจะหาย ตอนนี้หายป่วยแล้วค่ะ การปรับพฤติกรรมการกิน การนอนให้ดีมีคุณภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกจัดการกับความเครียด สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนยาวิเศษที่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ค่ะ
คำตอบจากผู้มีประสบการณ์ตรงใน Pantip สมาชิกหมายเลข 2374946 คลิกอ่านรีวิวเพิ่มเติมได้ที่นี่
คำถามที่ 4 : เมื่อมีความรู้สึกว่าโรคซึมเศร้ามันกำเริบอีกแล้วควรจะรับมือกับมันอย่างไรดี ?
สิ่งที่ผมพอจะแนะนำคุณได้ก็คือ
1. พักผ่อนนอนหลับให้เต็มที่
2. หาอาหารและของว่างมาทาน อย่าให้ขาด
3. จดรายละเอียดปัญหาของตัวเองมาคร่าวๆ แล้วแก้ไขทีละจุด
4. หาที่ระบาย เช่น เขียนหรือพิมพ์ข้อความ
5. เปิดเพลงเพราะๆ ฟังสบายๆ เน้นการให้กำลังใจ
6. ให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอ ไม่ควรซ้ำเติมตัวเอง
7. หาเกมมาเล่นในยามว่าง
8. พยายามเผชิญหน้ากับความกลัว
ผมจะเอาใจช่วยคุณนะครับ ขอให้คุณสู้ๆ อย่าเพิ่งท้อถอยนะครับ แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นเอง
คำแนะนำจากผู้รู้ใน Pantip สมาชิกหมายเลข 5266049 คลิกอ่านรีวิวเพิ่มเติมได้ที่นี่
เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆสำหรับคำตอบจากเหล่าผู้รู้ใน pantip ข้อมูลแน่นๆทั้งนั้นเลยใช่ไหมคะ เพียงเท่านี้ยังไม่พอวันนี้เรายังได้รวมแหล่งพบปะนักจิตวิทยาทั้งออนไลน์และออฟไลน์ มาแนะนำให้เพื่อนๆอีกด้วยเป็นการรักษาโรคซึมเศร้าแบบจิตบำบัดไปในตัวอีกด้วย ถ้าอยากรู้ว่ามีที่ไหนบ้างไปดูกันได้เลยย
ขอแนะนำ แหล่งพบนักจิตวิทยาเพื่อพูดคุยและปรึกษาปัญหาต่างๆ
- Samaritans Thailand
เป็นสายด่วนที่พร้อมให้คำปรึกษา โดยอาสาสมัครจากหลากหลายอาชีพ ที่ผ่านการอบรมทักษะการฟังมาเป็นอย่างดี พร้อมรับฟังและให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กน้อยไปถึงปัญหาใหญ่หลวงก็สามารถโทรเข้าไปได้เลยย – ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
– ติดต่อได้ที่เบอร์ 02 713 6793
– เวลาทำการ 12.00-22.00 - สายด่วนสุขภาพจิต 1323 สำหรับใครที่มีปัญหาทุกข์ร้อนใจ อดทนรอตอนเช้าไม่ได้ สามารถโทรเข้าสายด่วนสุขภาพจิตได้ตลอด 24 ชม. มีนักจิตวิทยามืออาชีพคอยให้บริการให้คำปรึกษาเพื่อนๆอยู่
– ติดต่อได้ที่เบอร์ 1323 – บริการฟรีตลอด 24 ชม.
3. Center for Psychological Wellness
เป็นบริการปรึกษาและพบนักจิตวิทยาของคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ สามารถปรึกษาได้ทุกเรื่องราวร้อนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน ความเครียดจากเรื่องต่างๆ
– ติดต่อได้จองคิวได้ที่เบอร์ 02 218 1171
– อัตราค่าบริการ 800 บาท / 120 นาที
4. Relationflip
เป็นเว็บไซต์ของนักจิตวิทยาคอยให้บริการรับฟังและให้คำปรึกษาได้ในทุกๆเรื่องโดยนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษาได้ทุกเพศทุกวัย คุยได้จนกว่าจะสบายใจเลยทีเดียว
– ติดต่อได้ที่เบอร์ 099 002 6888
– อัตราค่าบริการ 1,000 บาท/ครั้ง
จะเห็นได้ว่าที่เราแนะนำมานั้นมีทั้งฟรีและมีค่าบริการ ดังนั้นเพื่อนๆสะดวกแบบไหนสามารถเลือกช่องทางนั้นได้เลยนะคะ การพบนักจิตวิทยานั้นก็เป็นสิ่งดีๆอย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้เรานั้นได้ระบายและได้รับคำแนะนำอย่างถูกวิธีเพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขกันนะคะเพื่อนๆ
บทสรุปคำถาม ที่ชาว Pantip ตอบให้! เกี่ยวกับการรักษาโรคซึมเศร้า
สำหรับบทความในวันนี้นั้นใครที่มีคำถามในใจเกี่ยวกับการรักษาโรคซึมเศร้านั้น เราก็ได้รวมคำตอบดีๆสาระแน่นๆจากผู้รู้จริงใน pantip มาตอบคำถามให้เพื่อนๆได้หายสงสัยกันแล้วในวันนี้
พร้อมทั้งแนะนำแหล่งพบจิตแพทย์เพื่อให้เพื่อนๆนั้นได้ระบายและเหมือนเป็นการรักษาด้วยการบำบัดจิตไปอีกทางหนึ่งด้วย เราขอเป็นกำลังใจหนึ่งให้กับเพื่อนๆสามารถผ่านโรคนี้ไปให้ได้น้าาา
Write a comment