พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กับ สุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กับ สุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กับ สุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน

 

พ.ร.บ สุขภาพแห่งชาติ2550
https://www.healthstation.in.th/

 

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เกิดจากในอดีต คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการรักษาโรคต้องพึ่งพาหมอผี ร่างทรง จึงเน้นที่การรักษามากกว่าป้องกัน ยังคงเกิดความรุนแรงในครอบครัว สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้ประเทศชาติหมดงบประมาณไปกับการรักษา

เพราะประชาชนขาดความเข้าใจและไม่ช่วยกัน การดูแลสุขภาพไม่ใช่เพียงเพื่อดูแลตนเองแต่ต้องดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัว ชุมชนอันจะนำไปสู่สังคมโดยรวมดังนั้นพวกเราจะต้องช่วยกันดูแลพร้อมมีส่วนรวมกับชุมชุม สังคมหน่วยงานภาครัฐเอกชนและหน่วยวิชาการในการจัดการเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสุขนั่นคือที่มาของ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 กฏหมายที่ทำให้การจัดการสุขภาพเป็นเรื่องของคนไทยทุกคน

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เกี่ยวข้องและมีผลกับคนไทยตั้งแต่จนระยะสุดท้ายของชีวิต เช่น สิทธิในการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมและสิ่งเเวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ร่วมกับหน่วยรัฐในการสร้างให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิในการรับบริการจากสาธารณะสุข และ สิทธิที่จะปฏิเสธไม่บริการจากสาธารณะสุขในช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นต้น

 

ความเป็นมาของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

 

พ.ร.บ สุขภาพแห่งชาติ2550
http://library.nhrc.or.th/

 

1. เมื่อปี พ.ศ. 2542

เริ่มต้นจากคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข โดยมี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เป็นประธานจัดทำข้อเสนอ “รายงานระบบสุขภาพประชาชาติ ข้อเสนอการปฏิรูประบบสุขภาพสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540” เพื่อหวังปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ และนี่เป็นครั้งแรกที่ คำว่า “ระบบสุขภาพ” (Health Systems) ถูกใช้อย่างเป็นทางการ

2. ปี พ.ศ. 2543 

มีการผลักดันการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ โดยการจัดทำ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพของสังคมไทยโดยรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.)

โดยในระหว่างการจัดทำมีประชาชนเข้าร่วมลงชื่อมากมาย ได้สนับสนุนการร่าง พ.ร.บ กว่า 4.7 ล้านคนผ่าน โครงการรณรงค์รวมพลังสร้างสุขภาพตามรอยพระยุคลบาท เสนอความคิดการอย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

3. ปี พ.ศ.2543-2549

มีการนำมาทดลองปฏิบัติจริงเกิดขึ้นในส่วนของสาระของร่าง พ.ร.บ บางประการ เช่น ประเด็นเกษตรและอาหารปลอดภัย ประเด็นความอยู่เย็นเป็นสุข ประเด็นการสร้างสุขภาวะด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นอุตสาหกรรม การร่วมมือกับประชาชชนเรื่องสมัชชาสุขภาพ เป็นต้น

 

4. พ.ศ. 2550 

ในที่สุด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติก็ได้ออกมาใช้เป็นกฎหมายได้อย่างเป็นทางการ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติจึงได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่จัดให้มีกลไกเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายในสังคมมาทำงานเรื่องสุขภาพด้วยกัน ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมอย่างเป็นธรรมครั้งแรก

 

ความคิดเห็นของประชาชนต่อพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

 

ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองเรื่องการทำการุณยฆาต (Mercy Killing) หรือ Active Euthanasia ที่ถือเป็นการเร่งการตาย

การุณยฆาตจึงแตกต่างจากการทำหนังสือแสดงเจตนา (Living Will) ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12

ซึ่งถือเป็นการแสดงเจตนาของบุคคลเพื่อที่จะกำหนดวิธีการดูแลรักษาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นการรับรองสิทธิของผู้ป่วยที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง (right to self-determination) ที่จะขอตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยเครื่องมือต่าง ๆ จากเทคโนโลยีต่าง ๆ

กฎหมายหลายประเทศก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้ อาทิ กฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์ ดังนั้น จึงถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงของแพทย์บางกลุ่มที่เห็นว่า การใช้สิทธิตามมาตรา 12 ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นกรณีการุณยฆาต

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของผู้ป่วยที่จะไม่รับการรักษาดังต่อไปนี้พร้อมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน

“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ รีวิวจาก pantip : คุณ safeandsound คลิกเพื่ออ่านรีวิวพ.ร.บ สุขภาพแห่งชาติ2550ฉบับเต็ม

 

 

 

บทสรุปว่าด้วยเรื่องของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

 

พ.ร.บ สุขภาพแห่งชาติ2550
http://library.nhrc.or.th/

พ.ร.บ สุขภาพแห่งชาติ2550 เกิดขึ้นเพื่อให้คนไทยได้มีส่วนรวมในการจัดการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันปัญหาในอดีตของสังคมไทยที่เคยเกิดขึ้น

ดังนั้นในฐานะคนไทยด้วยกันเราต้องร่วมมือกันสอดส่องดูแลสภาพแวดล้อมของเราไม่ให้ใครมาทำลายโดยใช้อาวุธก็คือกฏหมาย อย่าให้ใครมาเอารัดเอาเปรียบ เห็นแก่ประโยชน์สูงสุดของสังคมเป็นหลัก นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าต่อไปในภายภาคหน้าร่วมกัน

สุขภาพLatest articles in the category