พัฒนาการเบบี๋ตัวน้อย กับการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

พัฒนาการเบบี๋ตัวน้อย กับการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

 

ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

ได้เวลานับถอยหลังอย่างจริงจังแล้วนะคะ เบบี๋ตัวน้อยๆที่อยู่ในร่างกายของคุณก็จะออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์นี้ทารกจะมีการเพิมน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยแล้วทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 3 ขีด

แต่น้ำหนักของคุณแม่จะไม่ได้เพิ่มขึ้น และเมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะมีความสมบูรณ์ของร่างกายเกือบ 100 เปอร์เซ็นแล้ว หากคลอดก่อนกำหนดก็จะสามารถมีชีวิตรอด

โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าตู้อบ หรือได้รับการดูแลเป็นพิเศษใด ๆ นะคะ เนื่องจากทารกนั้นสามารถหายใจได้ด้วยตัวเองแล้ว และที่สำคัญทารกสามารถดูดนมคุณแม่ได้เอง

พัฒนาการของทารกในท้องของคุณแม่ช่วง 36  สัปดาห์

ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์
https://www.pobpad.com/พัฒนาการทารกในครรภ์-ตลอ
  • การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ช่วง 36 สัปดาห์ทารกจะมีขนาดยาวโดยประมาณ 47 เซนติเมตร น้ำหนักโดยรวมของทารกจะอยู่ที่ 2,700 กรัม

 

  • ใบหน้ากลมโต แก้มป่อง เนื่องจากกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ได้รับการพัฒนาที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะทำงานแล้ว

 

  • มีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น ระบบประสาทพร้อมจะสั่งการหลังคลอด

 

  • ทารกจะบิดตัวไปมา บางคนก็อาจจะกลับหัวลงเรียบร้อยแล้ว

 

  • ขนอ่อน ๆ จะขึ้นทั่วร่างกาย รวมไปถึงเส้นผมที่ขึ้นมาทั่วศีรษะ

 

  • มีไขที่เคลือบบนผิวของทารกจะลดลง บางคนอาจจะมีไขมากน้อยแตกต่างกันไปเพื่อป้องกันผิวหนังของเขาหลังจากการคลอด

 

  • มีการงอกของเล็บ และสามารถเคลื่อนไหวมือได้

 

  • ปอดและหัวใจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว โดยปกติทารกจะมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 110 – 140 ครั้งต่อนาที

 

  • กระโหลกศีรษะยังคงอ่อนและมีความยืดหยุ่นในช่วงเวลาที่คลอด เพื่อทำให้ผ่านช่องคลอดของคุณแม่ได้ง่ายมากขึ้น

การปลี่ยนแปลงสำหรับคุณแม่

ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์
https://www.nestle.co.th/th/nhw/news/3esรู้วิธีรับมือกับ6อาการปวดที่แม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ

ระยะนี้ขอแนะนำให้คุณแม่ไม่ควรเดินทางไกล ไม่ว่าจะเดินทางโดย รถยนต์ เครื่องบินรถไฟ เพราะว่าอาจจะคลอดเมื่อไหร่ก็ได้ ทางที่ดีควรอยู่บ้านหรือนอนที่โรงพยาบาลเพื่อรอพบหน้าเบบี๋ตัวน้อยอย่างสบายใจ หรือหากมีความจำเป็นก็อย่าลืมพกสมุดฝากครรภ์ติดตัวไปด้วยนะคะ อาการหลัก ๆ ที่คุณแม่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ประสบพบเจอกันเกือบทุกคน มีดังต่อไปนี้ค่ะ

 

  • หายใจไม่พอ มีอาการจุกแน่นหน้าอก เนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงไปเบียดกับกระบังลมของแม่

 

  • ผิวหนังแห้งตึง จากการยืดขยายของผนังหน้าท้องควรงดอาบน้ำอุ่น และควรทาโลชั่นที่มีความชุ่มชื้นสูง

 

  • ท้องแข็งบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกบีบตัว

 

  • หัวเข่า เท้า ขาส่วนล่างบวม เนื่องจากมีของเหลวสะสมอยู่ การยกขาสูงหรือการแช่ขาในอ่างน้ำเย็นจะช่วยให้อาการบวมดีขึ้น

 

  • รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์แปรปวน

 

  • ขยับร่างกายไม่คล่องตัวเท่าที่ควร เนื่องจากขนาดของครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นส่งผลให้การเคลื่อนไหวของร่างกายค่อนข้างลำบาก

 

  • เจ็บหลัง ปวดหลัง เนื่องจากน้ำหนักของครรภ์เพิ่มขึ้น

 

  • มีความเครียด และกังวล ทำให้คุณแม่ไม่สบายใจ ควรพูดคุยกับคุณพ่อและคนในครอบครัว เพื่อน จะได้รู้สึกดีและสบายใจขึ้น

 

  • หน่วงบริเวณท้องส่วนล่างมากขึ้น เนื่องจากศีรษะของทารกที่เคลื่อนที่ลงต่ำเพื่อเตรียมต่อการคลอด

 

  • น้ำหนักคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น ส่วนทารก 38% ส่วนของเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้น 22% ส่วนของมดลูก เต้านม ก้นและขา ที่ขยายใหญ่ขึ้น 20% เป็นน้ำหนักของน้ำคร่ำ 11% และ อีก 9% เป็นน้ำหนักของรก

อาหารที่คุณแม่ควรทาน ในช่วงครรภ์ 36 สัปดาห์

ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์

ในตอนนี้ทารกมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กระเพาะอาหารของคุณแม่จะถูกเบียดจนเหลือพื้นที่น้อยลง ดังนั้นคุณแม่ควรทานอาหารที่เป็นมื้อเล็ก ๆ แต่ทานให้บ่อยขึ้น ดังนั้นอาหารที่แนะนำในช่วงนี้ ได้แก่

อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี และโอเมก้า 3 ควรเน้นเป็นอาหารที่ย่อยง่าย จำพวกเนื้อปลา นมถั่วเหลือง ไข่ เมนูผักและผลไม้ที่ย่อยง่าย อาหารเหล่านี้จะช่วยให้กระโหลกศีรษะของทารกพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น และควรงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารอย่าง หอมแดง หอมหัวใหญ่ กล้วยหอม ฝรั่ง

 

เมนูแนะนำสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด (และหลังคลอด)  คือ แกงเลียงสารพัดผัก ผัดกะเพรา ยำหัวปลี แกงป่า ฟักทองผัดไข่ แกงบวดฟักทอง  ไก่ผัดขิง ฯลฯ เพราะอุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี เบต้า แคโรทีน ช่วยบำรุงเลือด ช่วยระบบขับถ่าย และที่สำคัญคือบำรุงน้ำนม

 

ที่สำคัญ อย่าลืมดื่มนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์วันละ 2 แก้ว ดื่มน้ำวันละ 8 แก้วด้วยนะคะ เพื่อการสร้างน้ำนมที่ดี

 

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category