#6คำแนะนำดีๆสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ดูแลเขาอย่างไรให้ถูกวิธี เรามีคำตอบ!!

#6คำแนะนำดีๆสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ดูแลเขาอย่างไรให้ถูกวิธี เรามีคำตอบ!!

การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

รู้หรือไม่โรคซึมเศร้านั้นไม่ใช่เรื่องเล็กๆสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพราะมันเป็นสิ่งที่น่ากลัวและควบคุมไม่ได้ ดังนั้นการที่เราอยู่ใกล้ชิดกับคนที่มีปัญหาจากโรคซึมเศร้า ได้รับฟังปัญหานั้นจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยนั้นดีขึ้นได้ในเร็ววัน

แล้วการดูแลที่ดีให้ถูกวิธีนั้นควรจะทำอย่างไรกัน วันนี้เรามีวิธีแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามาบอกกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยย

6 คำแนะนำดีสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

1.พูดคุยและรับฟังผู้ป่วย​ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเลย​ก็ว่าได้ การพูดและการฟังผู้ป่วยจะช่วยให้เขาดีขึ้นแต่ไม่ต้องรบเร้าเอาคำตอบจากเขา เรื่องที่คุยควรจะเป็นเรื่องง่ายๆแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นที่พึ่งให้เขาได้​ สิ่งที่จะช่วยเขาได้ดีที่สุดคือเป็นผู้ฟังที่ดี

2.ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก่อน​ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร

3.ช่วยสนับสนุนให้กำลังใจการรักษาผู้ป่วย​ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะข่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วยิ่งขึ้น​ การสนับสนุนในที่นี้คือ​ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการรักษาตามแผนการรักษา

เช่นพาไปพบแพทย์หรือพยาบาลตามนัด และปฏิบัติตามคำแนะนำ​ ในช่วงแรกคุณอาจจะเอายาให้ผู้ป่วยกิน​ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทานยา​ช่วยเตือนให้กินยา

4.ตระหนัก​ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย​ มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะได้รู้ว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายหรือไม่​

5.การช่วยเหลือในการดำรงชีวิต​ประจำวัน​ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า​มีปัญหาความยุ่งยากในการที่จะทำกิจวัตร​ประจำวัน​

โดยเฉพาะ​ถ้าผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรง​ ผู้ป่วยซึมเศร้าจะไม่อยากทำอะไร​ ไม่มีแรงจูงใจ​ ทำให้บางครั้งนอนทั้งวันขี้เกียจไม่อยากทำอะไร จนคนในครอบครัวเข้าไปตำหนิว่ากล่าว

ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้ง จะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกด้อยค่าเพิ่มขึ้นไปอีก คุณต้องเข้าใจว่านั่นเขาเป็นโรคซึมเศร้านะ เขาไม่ได้อยากเป็นแบบนี้

สิ่งที่เราจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้คือพยายามบอกเขาให้ไปอาบน้ำ ไปกินข้าว หรือให้ออกไปข้างนอกเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์

6.ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมที่เป็นปกติของผู้ป่วย พยายามบอกกล่าวกระตุ้นให้เขาไปทำกิจกรรมที่เขาเคยทำ ที่เป็นปกติก่อนเขาจะเป็นโรคซึมเศร้า เช่นการออกไปทำงานและมีรายได้ เคยไปเล่นกีฬาเป็นประจำ หรือออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนช่วยให้เขาออกไปทำกิจกรรมมากที่สุด โดยเฉพาะการทำงาน แต่อย่าไปบังคับเขา พยายามทำให้เขาดำรงชีวิตต่อให้ดีที่สุด

3สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

1.อย่าบอกปัดผู้ป่วยให้ไปทำกิจกรรมที่ช่วยเหลือหรือผ่อนคลายจิตใจของเขา โดยที่ตัวเราไม่ได้อยู่ข้างๆเขา เช่นให้ไปเข้าวัดฟังธรรม ให้ไปทำจิตใจให้สงบ ซึ่งจะเป็นผลแย่เพราะเขาจะคิดว่าตัวเองเป็นที่น่ารำคาญ และจะตีตัวออกห่าง อาจจะถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อเลยก็ได้

2.อย่าทำเป็นไม่ได้ยิน หรือไม่อยากที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพียงเพราะเขาพูดเกี่ยวกับเรื่องความตายหรือความเศร้าของเขา คนปกติมักจะคิดว่าถ้าสนทนาด้วยจะเป็นชี้โพรงให้กระรอกหรือเปล่าทำให้เขาอยากทำหรือมีโอกาสที่คิดอยากจะฆ่าตัวตายได้ จึงมีท่าทีที่ต่อต้านเขา ทำตัวต่อต้านเช่นอาจจะพูดมา “อย่าทำอะไรบ้าๆ” อย่าคิดมาก ยิ่งทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นรู้สึกแย่ และคิดว่าคุณคงไม่มีวันเข้าใจ

3.อย่ากดดันหรือเร่งรัด ถ้าพวกเขายังไม่มีอาการที่ดีขึ้น ห้ามพูดหรือไปบอกเขาว่า เมื่อไหร่จะหาย หายได้แล้ว ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นจะยิ่งมีความรู้สึกกดดันเพิ่มขึ้น และผิดหวัง คิดว่าคุณจะอยู่ข้างๆเขาเสียอีก เขากลับคิดว่าตัวเองเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ และถ้าอาการเริ่มดีขึ้นมันจะทำให้อาการแย่ลง และยิ่งแย่ลงกว่าเดิมไปอีก

ต่อไปเรามาดูคำแนะนำเล็กๆน้อยๆแต่เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเลยทีเดียว ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยย

คำแนะนำการดูผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

สำหรับผู้ที่จะดูแลผู้ป่วยควรที่จะเปิดใจ พร้อมที่จะเข้าหาและยินดีที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พร้อมที่จะรับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ ไปเป็นเพื่อนเพื่อพบจิตแพทย์เสมอ หากผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า อยากอยู่คนเดียว หรือคิดทำร้ายตนเอง นั้นแสดงว่าเขานั้นมีอาการซึมเศร้ารุนแรงดังนั้นอย่าปล่อยให้อยู่คนเดียวเป็นอันขาด!!

สรุปการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การดูผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่ดีที่สุดคือการรับฟังและอยู่ข้างๆผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ไม่ควรที่จะทำให้เขารู้สึกว่าตนเองเป็นภาระ หรือโดดเดี่ยวเราควรค่อยดูแลอยู่ข้างๆเขาไม่ให้ห่างเพื่อให้เขารู้สึกว่าเราเป็นให้เขาได้ ให้เขาสามารถระบายความเครียดหรือเรื่องราวต่างๆที่เจอมา เพื่อให้เขารู้สึกดียิ่งขึ้น ช่วยให้เค้าเพิ่มโอกาสที่จะกลับมามีความสุขปราศจากความเศร้าและใช้ชีวิตอยู่ในสังคม

 

สุขภาพLatest articles in the category