เคลียร์ชัดจัดเต็ม!! โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ? ระดับไหนโหดสุดอยากรู้ต้องอ่าน!

เคลียร์ชัดจัดเต็ม!! โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ? ระดับไหนโหดสุดอยากรู้ต้องอ่าน!

โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ

สวัสดีค่าาเพื่อนๆ เป็นอย่างไรกันบ้างคะสบายดีกันหรือเปล่าเอ่ยย สำหรับเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านบทความในตอนนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะสงสัยเหมือนกันใช่ไหมคะว่าโรคซึมเศร้านั้นมันมีกี่ระดับแล้วจะร้ายแรงไปตามแต่ละระดับหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนี้ให้กับเพื่อนๆได้รู้เองง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยย

โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับกันนะ?

โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ

โรคซึมเศร้านั้นมีทั้งหมด 3 ระดับด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  1. ระดับแรก เป็นซึมเศร้าระดับทั่วไป Dysthymia Depression ระดับนี้เป็นอาการซึมเศร้าที่เป็นแบบเรื้อรัง จะไม่มีอาการรุนแรงมากแต่ก็จะมีอารมณ์แปรปรวนไปบ้างในบางครั้ง
  2. ระดับที่สอง ระดับเรื้อรัง Major Depression ระดับนี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นมาจากเดิมหน่อย ผู้ที่เป็นซึมเศร้าระดับนี้มักมีอาการเศร้า ซึมเป็นเวลานานกว่า 2 อาทิตย์ขึ้นไปโดยไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้
  3. ระดับที่สาม Bipolar Disorder หรือที่ได้ยินคุ้นหูว่า ไบโพล่านั้นเอง สำหรับใครที่เป็นซึมเศร้าในระดับนี้มักมีอารมณ์แปรปรวนเป็นคนมีอารมณ์สองขั้ว อาจเกิดได้ใน 1 ปี 3-4 ครั้ง โดยนานๆจะเป็นทีแล้วแต่อาการของแต่ละคน

หื้มมม เป็นไงบ้างคะเพื่อนๆรู้กันแล้วใช่ไหมว่าซึมเศร้าที่เรารู้จักกันนั้นมีก็มีระดับมีประเภทของมันแตกต่างกันไปในการรักษาทางการแพทย์ แต่ใดๆก็ตามอาการของคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นก็จะคล้ายๆกัน

บางคนอาจแสดงออกเยอะหรือน้อยแล้วแต่คนไป วันนี้เรามีวิธีการช่วยให้กำลังใจสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามาแนะนำเป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆ สำหรับใครที่มีเพื่อนหรือคนรอบกายที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะได้รับมือและให้กำลังใจได้อย่างถูกวิธี ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยยย

วิธีการให้กำลังใจ ให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้า”รู้สึกดีขึ้น”

โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ

การให้กำลังใจที่เราอยากจะแนะนำเพื่อนๆให้วันนี้คือเรื่องของการพูด อย่าลืมว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะไวต่อความรู้สึก ดังนั้นผู้ที่อยู่รอบข้างจำเป็นจะต้องระมัดระวังในเรื่องของคำพูดให้มาก เพราะเขามักจะเก็บคำพูดเล็กๆน้อยๆของเราไปคิดเสมอ ดังนั้นการพูดเป็นสิ่งที่ช่วยให้กำลังใจคนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี โดยวันนี้เรามีแนวทางการพูดมาบอก ดังนี้

  1. พูดให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวนะ ยังมีเราเสมอไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราจะช่วยเธอเสมอ
  2. คอยถามว่าเขาไหวหรือเปล่า โอเคไหมวันนี้มีอะไรอยากเล่าให้ฟังไหม คอยเป็นพี่อ้อยพี่ฉอดให้กับเขา
  3. พูดโน้มน้าวให้เขารู้ว่าชีวิตเขามีค่ามากๆ มีค่าต่อตนเอง ต่อพ่อแม่ และคนอื่นๆ
  4. สร้างแรงจูงใจให้เขาอยากหายจากโรคนี้ให้ได้ พูดถึงอนาคตที่จะสดใสและต้องผ่านวันนี้ไปให้ได้

นอกจากวิธีการพูดให้กำลังใจแล้ว วันนี้เรายังมีคำพูดที่ห้ามพูดกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเด็ดขาดมาบอกอีกด้วย ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

คำต้องห้ามเด็ดขาด! สำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ

คำพูดเป็นดาบสองคมเสมอพูดดีก็ดีไป พูดแย่ก็อาจเป็นดาบฟาดฟันอีกฝ่ายได้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าคำพูดแม้เล็กน้อยก็อาจมีผลกระทบรุนแรงต่อจิตใจได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งคำต่อไปนี้เป็นคำต้องห้ามที่เลี่ยงได้ควรเลี่ยง เบาได้ควรเบาเลยนะคะเพื่อนๆ จะมีคำไหนบ้างไปดูกันเลย

  1. ยังไม่หายอีกหรอ  คำพูดนี้จะสื่อให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าคิดว่าตนเองนั้นเป็นภาระหรือเปล่า เหตุใดถึงยังไม่หายสักที
  2. คิดไปเองหรือเปล่าว่าเป็นโรคซึมเศร้า เป็นคำพูดที่บั่นทอนจิตใจของคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เขานั้นไม่มั่นใจในตนเอง และไม่กล้าไปรักษาเพราะคิดว่าคงแค่คิดไปเองเท่านั้น
  3. มองโลกในแง่บวกบ้างสิ คำพูดนี้แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าคุณไม่ได้เข้าใจคนที่เป็นโรคซึมเศร้าเลย เพราะเขานั้นไม่สามารถควบคุมความคิดของตนเองได้ และจะทำให้เขารู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นคนที่แย่คิดอะไรก็มีแต่แง่ลบ
  4. จัดการกับความรู้สึกตัวเองให้สิเดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง คำพูดนี้เหมือนคุณกำลังปล่อยเขาไว้กลางป่าใหญ่เพียงลำพังเหมือนให้เขาสู้กับตนเองเพียงคนเดียว ยิ่งจะทำให้คนที่เป็นซึมเศร้านั้นรู้สึกแย่ลง
  5. คนอื่นก็แย่ไม่ใช่แค่เธอคนเดียว คำพูดนี้แสดงออกได้ชัดเจนว่าเรานั้นเห็นปัญหาของเขานั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย
  6. เดี๋ยวก็ดีขึ้นเองแหละสู้ๆ คำพูดนี้อาจจะดูเหมือนเป็นคำพูดที่ดี แต่จริงๆแล้วมันแสดงออกว่าคุณนั้นกำลังจะมองข้ามปัญหาของเขาไป ทำให้เขานั้นรู้สึกแย่ลงได้

บทสรุปโรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ

โรคซึมเศร้าที่เรารู้จักกันทั่วไปนั้นแท้จริงแล้วมีถึง 3 ระดับด้วยกัน มีระดับซึมเศร้าทั่วไป ระดับซึมเศร้าเรื้อรัง และระดับไบโพล่า ซึ่งทั้ง 3 ระดับจะมีอาการและวิธีรักษาแตกต่างกันไป

แต่จะไม่แตกต่างกันมากนักอาจจะยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังนั้นใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดนั้นเป็นโรคซึมเศร้าแนะนำว่าควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าคุณนั้นเป็นซึมเศร้าระดับใด เพื่อการรักษาที่ถูกวิธีนั้นเองค่าาา

 

 

สุขภาพLatest articles in the category