เชื่อว่าทุกคนที่ออกกำลังกายมีจุดประสงค์ในการออกกำลังกายมีหลายอย่างแตกต่างกันไป อย่างบางคนต้องการ “ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก” ก็จะเลือกทำกิจกรรมที่ดึงพลังงานไขมันส่วนเกินออกมาใช้ เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค หรือปั่นจักรยาน
บางคนก็ต้องการ “ออกกำลังกายเพื่อต้องการความกระชับ” คือการทำกิจกรรมที่อวัยวะเคลื่อนไหวหลาย ๆ ครั้งหรือเกร็งอวัยวะส่วนนั้น ๆ เป็นเวลานาน เช่น การเวตเทรนนิ่ง
โดยทั่วไป การออกกำลังกายควรพิจารณาปัจจัย 4 ประการ คือ
- วิธีการออกกำลังกาย
- ความหนักของการออกกำลังกาย
- ระยะเวลาในการออกกำลังกาย
- ความถี่ของการออกกำลังกาย
ประเภทของการออกกำลังกาย
แต่ถ้าหากแบ่งประเภทของการออกกำลังกายจากนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จะได้จำแนกรูปแบบของการออกกำลังกายไว้ด้วยกันทั้งหมด 5 รูปแบบดังต่อไปนี้
-
การออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่
การออกกำลังกายประเภทนี้ จะไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งจะเหมาะสมหรับผู้ที่นั่งทำงานเป็นเวลานานจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายประเภทนี้จะไม่แนะนำให้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง เพราะว่าในการปฏิบัตินั้นจะต้องมีการกลั้นหายใจ
ตัวอย่างของการออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่ ดังนี้
- การใช้มือบีบวัตถุ
- การยืนดันเสาหรือดันกำแพง
- การนั่งบนเก้าอี้แล้วเหยียดแขนและเท้าออกไป แล้วเกร็งกล้ามเนื้อ
-
การออกกำลังกายแบบมีการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ
เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยจะเน้นเลือกทำกิจกรรมเฉพาะส่วนของร่างกายค่ะ
ตัวอย่างของการออกกำลังกายแบบมีการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ ดังนี้
- การวิดพื้น
- การยกน้ำหนัก
- การดึงข้อ
-
การออกกำลังกายแบบทำให้กล้ามเนื้อทำงานไปอย่างสม่ำเสมอตลอดการเคลื่อนไหว
การออกกำลังกายประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ และรวมไปถึงนักกีฬาเพื่อใช้ในการใช้ทดสอบสมรรถภาพทางกาย ซึ่งการออกกำลังกายประเภทนี้จะต้องมีความรู้เป็นอย่างดี เพราะจะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ออกกำลังกายได้ง่าย
ตัวอย่างการออกกำลังกายประเภทนี้ ได้แก่
- การถีบจักรยานอยู่กับที่
- การก้าวขั้นบันได
- การใช้เครื่องมือทางชีวกลศาสตร์
-
การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจนในระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว
การออกกำลังกายประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะปฏิบัติกันในหมู่นักกีฬาที่ทำการฝึกซ้อมหรือแข่งขันค่ะ ไม่เหมาะกับบุคคลธรรมดาทั่วไป ยกตัวอย่าง เช่น
- การวิ่ง 100 เมตร
- กระโดดสูง
- พุ่งแหลม
- ทุ่มน้ำหนัก
- ขว้างจักร
-
การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน
การออกกำลังกายประเภทนี้เป็นที่นิยมกันในหมู่มากของนักออกกำลังกายค่ะ และยังเป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาอีกด้วย รวมถึงในวงการแพทย์ เพราะการออกกำลังกายประเภทนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงสมรรถภาพทางกายของบุคคลนั้นได้เป็นอย่างดี โดยจะทำการทดสอบได้จากอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ ความดันโลหิตค่ะ
นอกจากนี้ก็ยังมีผลต่อด้านร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยลดปริมาณไขมันได้เป็นอย่างดี ฯ
ตัวอย่างของการออกกำลังกายประเภทนี้ ได้แก่
- การวิ่งจ๊อกกิ้ง
- การเดินเร็ว
- การว่ายน้ำ
กิจกรรมของการออกกำลังกายมีอะไรบ้าง ?
จากด้านบนเราได้แนะนำถึงการแบ่งประเภทของการออกกำลังกายไปแล้ว ดังนั้นเราจะขอยกตัวอย่ากิจกรรมในการออกกำลังกาย เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ลองดูและไปเลือกทำตามกันได้เลยค่ะจะได้มีสุขภาพที่ดีกันทุกคน โดยเราจะแบ่งให้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน
-
ออกกำลังกายอย่างเบา
(ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 60 นาที) ยกตัวอย่างเช่น
- การเดินช้า
- การเล่นกอล์ฟ
- การว่ายน้ำ
- การปั่นจักรยานที่มีความต้านต่ำ
- การทำกายบริหาร
-
การออกกำลังกายแบบปานกลาง
(ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 30 – 60 นาที) ยกตัวอย่าง เช่น
- การเดินเร็ว
- การว่ายน้ำอย่างต่อเนื่อง
- การเล่นเทนนิส ชนิดคู่
- การยกน้ำหนัก
- การเล่นบาสเก็ตบอล
- การเล่นวอลเล่บอล
-
การออกกำลังกายอย่างหนัก
(ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 20 – 30 นาที) ยกตัวอย่าง เช่น
- การวิ่งแข่ง
- การวิ่งจ๊อกกิ้ง
- การเล่นเทนนิสเดี่ยว
- การปั่นจักยานขึ้นเขา(หรือปั่นมากกว่า 10 ไมล์)
- การเล่นฟิตเนส
- การเต้นแอโรบิค
- คาร์ดิโอ
สรุปบทความ ออกกำลังกายมีอะไรบ้าง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อน ๆ กับกิจกรรมที่เราได้กล่าวมาข้างต้น เชื่อว่าเพื่อน ๆ ทุกคนน่าจะรู้จักกิจกรรมการออกกำลังกายเหล่านี้เป็นอย่างดี บางคนอาจจะเคยทำบ้างแล้ว หรือบางคนก็อาจจะยังไม่เคยได้ลองทำ แต่ไม่ว่าจะเลือกทำกิจกรรมแบบไหนก็ขอให้เพื่อน ๆ มีความสุขกับการออกกำลังกายกันทุกคนนะคะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าหากว่าเราออกกำลังกายมากเกินไป หักโหมเกินไป จากที่ควรจะได้รับผลดีก็อาจจะเปลี่ยนไปส่งผลเสียต่อร่างกายและกล้ามเนื้อของเราได้ เพราะฉะนั้นควรออกกำลังกายแต่พอดีเอาที่ร่างกายไหวจะดีกว่านะคะ
Write a comment