ยารักษาโรคซึมเศร้ากินมากๆจะสะสมในร่างกายไหม??? อยากรู้ห้ามพลาด!!

ยารักษาโรคซึมเศร้ากินมากๆจะสะสมในร่างกายไหม??? อยากรู้ห้ามพลาด!!

ยารักษาโรคซึมเศร้า

สวัสดีค่าเพื่อนๆ พบกันอีกแล้วนะคะที่นี่ที่เดิม วันนี้เราก็มีสาระดีๆมาแชร์ให้เพื่อนๆอีกตามเคย เพื่อนๆรู้หรือไม่คะว่าโรคซึมเศร้านั้นแท้จริงแล้วสามารถรักษาให้หายได้ ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยนะคะเพื่อนๆ

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องยารักษาโรคซึมเศร้า เชื่อว่าต้องมีหลายคนอยากรู้เกี่ยวกับเจ้ายารักษาโรคซึมเศร้านี้แน่ๆ มีใครรู้หรือไม่คะว่ายารักษาโรคซึมเศร้านั้นมีกี่กลุ่ม และแต่ละกลุ่มใช้รักษาแตกต่างกันอย่างไร แต่ก่อนที่เราจะไปรู้ถึงยารักษาเราขอเกริ่นถึงโรคซึมเศร้ากันสักนิดว่ามันเกิดจากอะไรกัน ไปดูกันเลย

โรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร?

ปกติในสมองของคนเราจะมีสารที่สำคัญเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดอยู่ 3 ชนิด คือ

  • สารเซโรโทนิน
  • สารนอร์อิพิเนฟริน
  • สารโดปามีน

เมื่อสารเหล่านี้หลั่งในปริมาณที่น้อยกว่าปกติจะส่งผลให้เราไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้ มักจะมีอารมณ์ที่แปรปรวน เศร้าเสียใจ ซึมๆอยู่ตลอดเวลาโดยอาจไม่รู้สาเหตุ ซึ่งนั้นก็คืออาการของโรคซึมเศร้านั้นเอง

และเมื่อสารสื่อประสาททั้ง 3 นี้ทำงานผิดปกติดังนั้นเราจึงต้องปรับสมดุลของสารให้กลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติด้วยการใช้ยารักษานั้นเอง และยารักษาโรคซึมเศร้านั้นก็มีด้วยกันถึง 2 กลุ่ม  จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

2 กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า มีอะไรบ้าง?

ยารักษาโรคซึมเศร้า

1.ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มแรก

  • กลุ่มยา Monoamine Oxidase Inhibitors เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีออกมาได้ในปริมาณที่ปกติ
  • กลุ่มยา Tricyclic Antidepressants เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซับสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมากลับเข้าไป เพื่อคงปริมาณสารให้เพียงพอต่อความต้องการของสมองนั้นเอง

2.ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มใหม่

  • กลุ่มยา Selective Serotonin Reuptake Inhibitors  ยากลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน และ โดปามีน
  • กลุ่มยา Selective Serotonin-Norepinephrine Reuptake Inhibitors  ยากลุ่มนี้จะยับยั้งการดูดซึมกลับของาสารสื่อประสาท นอร์อิพิเนฟริน และ เซโรโทนิน
  • กลุ่มยา Noradrenergic Dopaminergic Reuptake Inhibitors (NDRIs) ยากลุ่มนี้แพทย์มักจ่ายให้กับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียผิดปกติ
  • กลุ่มยา Noradrenergic Reuptake Inhibitors (NaRI) ยากลุ่มนี้จะยับยั้งการดูดซับกลับของสารสื่อประสาทนอร์อิพิเนฟริน
  • กลุ่มยา Noradrenergic and Specific Serotonergic Antagonist (NaSSA) ยากลุ่มนี้ช่วยในการเพิ่มน้ำหนัก สำหรับผู้ป่วยที่เบื่ออาการ และทำให้หลับง่ายขึ้นได้อีกด้วย
  • กลุ่มยา Serotonin Antagonist/Receptor Inhibitor (SARI)  ยากลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ทำให้หลับง่ายขึ้น และยับยั้งการดูดซับกลับของสารเคมีในสมอง
  • กลุ่มยา Melatonergics มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ

หลังจากที่เรารู้ประเภทยาแต่ละชนิดกันแล้วทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับแพทย์วินิจฉัยนะคะเพื่อนๆว่าแพทย์จะสั่งยาตัวไหนให้เหมาะกับอาการของเรา แล้วระยะเวลาการทานยาล่ะนานแค่ไหนกัน? อยากรู้ไปดูกันค่ะ

ยารักษาโรคซึมเศร้าต้องกินยานานแค่ไหน?

ยารักษาโรคซึมเศร้า

ส่วนใหญ่แล้วยารักษาโรคซึมเศร้ามักเป็นยาที่ออกฤทธิ์ในระยะยาวดังนั้นผู้ป่วยอาจต้องกินยารักษาอย่างน้อย 6 เดือนหรืออาจจะเป็นปี ซึ่งตรงนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป

โดยปกติแพทย์มักจะนัดสังเกตอาการใน 2 สัปดาห์หลังจากการรับยาชุดแรกไป และอาจจะทำการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มยาเพื่อรักษาต่อไป มาถึงตอนนี้หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้วถ้าต้องรักษานานนับปียานี้จะสะสมในร่างกายจนเป็นอันตรายหรือไม่ เรามีคำตอบ!! ไปดูกันเลยค่ะ

ยารักษาโรคซึมเศร้ากินนานจะสะสมในร่างกายหรือไม่?

ยารักษาโรคซึมเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้าจะไม่สะสมในร่างกาย!! มักถูกขับออกภายใน 12-24 ชั่วโมงอาจเป็นในรูปแบบปัสสาวะหรืออุจจาระ ช่วยทำให้ระดับยาในเลือดนั้นลดลงและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายแน่นอน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆกับสาระที่เรานำมาแชร์ในวันนี้ หวังว่าเพื่อนๆจะได้ความรู้กับบทความนี้กันไปอย่างเต็มอิ่มเลยนะคะ สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้วกำลังอ่านบทความนี้อยู่ขอให้สบายใจได้เลยนะคะว่ายาที่เรารับประทานนั้นจะไม่สะสมในร่างกายให้เกิดอันตรายเพราะฉะนั้นต้องกินยาตามที่หมอสั่งกันด้วยน้าาา

บทสรุปยารักษาโรคซึมเศร้า

ยารักษาโรคซึมเศร้านั้นมีด้วยกัน 2 กลุ่ม 9 ชนิดด้วยกันซึ่งก็จะมียิบย่อยของแต่ละชนิดอีกต่างๆนานา ซึ่งตรงนี้แพทย์จะเป็นคนสั่งยาให้กับเรา โดยจะเริ่มรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์อ่อนๆเพื่อดูปฏิกิริยาตอบรับของร่างกายว่าตอบรับได้ดีแค่ไหน แล้วจะทำการปรับยาเพื่อให้การรักษานั้นได้ผลดีมากยิ่งขึ้นและเพื่อนๆก็จะหายกันได้ในเร็ววันแน่นอนน

 

สุขภาพLatest articles in the category