” สวัสดีค่าาทุกคนวันนี้จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าว่าต้องกินยานานแค่ไหนแต่ก่อนอื่นเรามารู้จักกับโรคนี้กันก่อนนะคะ “
“โรคซึมเศร้า ” ในปัจจุบัน เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มคนจำนวนไม่น้อย และส่วนมากมักจะไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเป็น จึงทำให้ไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที และสำหรับคนส่วนใหญ่ โรคซึมเศร้า สำหรับคนส่วนใหญ่ฟังดูไม่คุ้นหูสักเท่าไร
เมื่อพูดถึงอาการซึมเศร้าเรามักจะนึกถึง เรื่องรามหรืออารมณ์เศร้าที่เกิดจากความผิดหวังทั่วไป แต่โรคซึมเศร้านั้น ไม่ใช่เพียงอาการเศร้าโดยทั่วไป พวกเขาจะมีอาการเศร้าที่เกิดขึ้นนานและไม่มีท่าทีว่าจะหาย และรุนแรงขึ้นตามลำดับ และสิ่งที่ตามมาคือส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ
วันนี้เรามาเช็กกันดีกว่าว่ามีอาการที่เข้าข่ายของการเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า รวมทั้งระยะเวลาของการรักษาและใช้ยามีอะไรบ้าง เพื่อรับมือและทำความเข้าใจกับโรคนี้ไปดูกันได้เลยค่าาา
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า?
9 อาการสังเกตว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
บางคนเคยสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่คืออาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า เพราะอาการบางอย่างก็เข้าค่ายของโรคนี้ แต่ก็มีบางอย่างไม่เหมือนกัน วันนี้เรามีเกณฑ์วินิจฉัยเกี่ยวกับอาการสังเกต เรามาเช็กไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
- มีอารมณ์ซึมและเศร้าแทบทั้งวัน หรือ เป็นอารมณ์หงุดหงิดในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเกิดจากฮอร์โมนไม่ปกติ
- ความสนใจและความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด
- รู้สึกเบื่ออาหารและเจริญอาหารจึงทำให้น้ำหนักลดลงหรือน้ำหนักขึ้นได้ (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่า ร้อยละ5/เดือน)
- มีอาการกระวนกระวาย และอยู่นิ่งไม่ได้ หรือ รู้สึกเชื่องช้าหรือทำอะไรได้ช้ามาก
- บางครั้งก็นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง และห่อเหี่ยว
- ไม่มีสมาธิ ไม่จดจ่อกับสิ่งที่ทำ ใจลอยในบางครั้ง
- รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าไร้หรือ ไร้ความสามารถ
- คิดอยากจะตาย และ อยากหายไปจากโลกนี้
*มีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่า ถือว่าเข้าค่ายของการเป็นโรคซึมเศร้า*
” เมื่อทราบแล้วว่าเรามีอาการดัง 9 ข้อนี้ ครบ 5 ข้อควรปรึกษาแพทย์และทำการรักษาแต่ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าเราจะสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างไร เริ่มกันเลยยย “
โรคซึมเศร้ารักษาได้อย่างไร?
โรคซึมเศร้าถ้าได้รับการรักษาจนหายดีแล้วดีแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น ยิ่งป่วยมานานก็ยิ่งจะรักษายาก ดังนั้นถ้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าควรรีบปรึกษาแพทย์เลยนะคะ
1. ระดับน้อยหรืออาการไม่มาก
แพทย์จะรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะในแก้ปัญหา ให้มุมมองและแนวคิดใหม่ เพื่อช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายหรืออาจรักษาร่วมกับการใช้ยาแก้ซึมด้วยตามความเหมาะสม
2. ระดับมากหรือมีอาการมาก
แพทย์จะรักษาด้วยยาแก้ซึมหรือยาคลายกังวลในช่วงที่เห็นว่าจำเป็นต้องให้ยาและต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
“ เมื่อเราทราบถึงระดับอาการของเราแล้วแพทย์จะทำการรักษาตามระดับของอาการและต่อไปนี้เรามารู้ถึงระยะเวลาของการรักษากันเลยดีกว่าค่ะ “
ระยะเวลาการรักษาและการใช้ยาต้านซึม
ในการรักษานั้นจิตแพทย์จะให้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทเพียงชนิดเดียวโดยมากจะเน้นตัวยา fluoxetine และ sertraline กลุ่มยา2ชนิดนี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย ดังนั้นการรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ทำให้อาการหายไปได้ในทันทีแต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ก่อนนั้นเอง ซึ่งยาแต่ละชนิดก็จะมีระยะเวลาการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ยา fluoxetine
ใช้เวลาในการเริ่มเห็นฤทธิ์ในการรักษาคือ 1-2 สัปดาห์ และเห็นผลการรักษาเต็มที่ภายใน 1 เดือน
ยา nortriptyline
ใช้เวลาในการเริ่มเห็นฤทธิ์ในการรักษา 14 วัน
การให้ยาต้านซึมเพื่อป้องกัน
ระยะเวลาหลังจากที่รักษาโรคซึมเศร้าดีขึ้นแล้วแพทย์จะทำการให้ยาในขนาดใกล้เคียงกับขนาดเดิมให้ต่อไปอีก 4-6 เดือนเพื่อการป้องกัน เพราะคนส่วนมากแม้อาการจะหายไปแล้วแต่ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีก บางคนอาการหายไป 2-3 แต่กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง หรือ 5-7 ปีก็มี และถ้าหากเป็นครั้งที่2แล้ว โอกาสที่จะเป็นครั้งที่ 3 และ 4 ก็จะสูงมากขึ้นทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นสำหรับคนที่เป็นครั้งที่ 2 แพทย์จึงเห็นว่ามีความเสี่ยงที่ต้องให้ยาต้านซึมเพื่อป้องกันเพื่อลดโอกาสในการเป็นครั้งต่อไปนั้นเอง
สรุปแล้วต้องใช้ยานานแค่ไหน?
ขอบอกเลยว่าการใช้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการและสภาพจิตใจของผู้ป่วย ถ้าหากรักษาอย่างสม่ำเสมอก็ทำให้โอกาสในการใช้ยาน้อยลงแต่ถ้าหากไม่รักษาอย่างต่อเนื่องจนอาการหายดีก็ทำให้ต้องกลับมาใช้ยาอยู่เรื่อยๆซึ่งอาจทำให้ต้องใช้ยาต้านซึมเพื่อป้องกันนั้นเอง
” คนที่เป็นโรคซึมพวกเขาไม่ได้อ่อนแอ หรือไม่ต่อสู้กับปัญหา เอาท้อแท้ และซึมเศร้า ที่พวกเขาเป็นแบบนั้นเพราะเกิดจากอาการป่วยของโรคซึมเศร้านั้นเอง ดังนั้นการทำความเข้าใจทั้งการป้องกันและการรับมือได้ทันท่วงทีจะทำให้คนเหล่านี้กลับมายิ้มแย้มแจ่มใสและมีความสุขได้เหมือนเดิมแน่นอนนน”
Write a comment