ใกล้เข้าสู่ช่วงที่คุณแม่หลายคนรอคอย เพราะอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ เท่ากับ 8 เดือน หลายคนอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่เป็นระยะ แต่ชักไม่แน่ใจว่าที่ท้องแข็งเกิดสาเหตุอะไรกันแน่ เป็นเพราะใกล้คลอด หรือจะคลอดก่อนกำหนดหรือว่าอาการปกติของคนท้องแก่อยู่แล้ว วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย
อาการท้องแข็งคืออะไร ?
คือการที่มดลูกเกร็งตัวและบีบรัดตัวเข้าหากัน อาจจะมีอาการเจ็บร่วมด้วยบ้าง เมื่อจับบริเวณท้องจะรู้สึกตึง ๆ แบะสัมผัสได้ว่าท้องเป็นก้อน แต่เป็นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 10 นาทีเท่านั้น ถ้ามากกว่านั้นอาจจะเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดได้
อาการท้องแข็งของคุณแม่ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์
อาการท้องแข็งของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ 32 – 34 สัปดาห์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
- ท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว
- รับประทานอาหารเยอะเกินไป
- สาเหตุอื่น
เรามาดูความแตกต่างของแต่ละประเภทกัน
ประเภทแรก ท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว –
เป็นประเภทที่คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าท้องมีที่แข็งและที่นิ่ม บริเวณที่แข็งจะเป็นอวัยวะของลูกน้อยที่นูนแข็งขึ้นมา ส่วนมากจะเป็นแขน ขา และก้น แต่บริเวณอื่นคือนิ่มหมด แบบนี้ไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยแน่นอน หมดกังวลได้เลย
ประเภทที่สอง ท้องแข็งเพราะอิ่ม –
จะพบมากในคุณแม่ที่มีรูปร่างเล็ก และคนท้องที่อายุครรภ์เยอะ ๆ เท่านั้น เพราะท้องมีขนาดใหญ่มากขึ้น มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เบียดอวัยวะอื่นในร่างกาย เป็นสาเหตุที่ทานอาหารเข้าไปคุณแม่จะรู้สึกจุกที่ลิ้นปี่
เหมือนอาหารไม่ลงไปทำให้แน่นท้อง แต่อาการนี้ไม่ได้ทำให้ท้องแข็งจากการที่มดลูกบีบตัว แนะนำให้คุณแม่แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อต่อวัน
ประเภทที่สาม สาเหตุอื่น ๆ
- มดลูกหดและบีบตัว (ท้องแข็งของแท้) –
อาการนี้จะเป็นอาการของคนท้องที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ มักจะพบได้บ่อยที่สุด เพราะช่วงนี้ลูกจะดิ้นมากป็นพิเศษและเป็นการกระตุ้นให้บีบมดบีบตัวบ่อยขึ้น ถ้าผ่านช่วงนี้นี้ไปก็จะคลอดได้ตามปกติแต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อย ๆ และเกิดขึ้นเป็นเวลานานต้องรีบเข้าปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าท้องแข็งและไม่ได้รับการดูแล มดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกมดเปิดนั่นแปลว่าคุณแม่อาจจะคลอดก่อนกำหนดได้
- มดลูกหดตัวตามธรรมชาติ –
สาเหตุนี้เป็นอยู่แล้วโดยปกติในคนท้องแก่ เป็นการเกร็งตัวเล็กน้อยของคนที่มีอายุครรภ์มาก แล้วก็จะคลายตามธรรมชาติแบบนี้ไม่อัยตราย
ข้อสังเกตความแตกต่างของท้องจริงและหลอกอยู่ที่ว่าท้องแข็งเป็นเวลานานเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน และมีส่วนที่ท้องนิ่มหรือไม่? ถ้าท้องแข็งเป็นเวลานาน เป็นบ่อย ไม่มีส่วนท้องนิ่มเลย แข็งทั้งท้อง ต้องรีบพบแพทย์
สิ่งที่คุณแม่พึ่งระวัง เพื่อไม่เป็นการกระตุ้นให้ท้องแข็ง
- การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ –
ยิ่งอายุครรภ์มาก ยิ่งยากต่อการมีเพศสัมพันธ์ จังหวะและทวงท่าเป็นสิ่งสำคัญ หากผิดพลาดขึ้นมาอาจเป็นการกระตุ้นให้ท้องแข็งได้ การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจึงไม่สามารถทำได้ - ห้ามกลั้นปัสสาวะเด็กขาด
การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เป็นการกระตุ้นให้ท้องแข็งได้ อาการนี้เกิดขึ้นได้แม้กระทั่งกับคนที่ไม่ได้ท้อง เพราะฉะนั้นคนท้องต้องระวังเป็นอย่างมาก ลดอาการเสี่ยงติดเชื้อด้วย - ไม่ควรสัมผัสกับอวัยวะที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว
เช่น บริเวณหน้าอกและเต้านมเป็นต้น เพราะถ้าหากหัวนมแข็งชัน ก็จะทำให้มดลูกบีบรัดตัวเข้าไปด้วย
บทสรุปของบทความ
ทีนี้คุณแม่ก็รู้แล้วว่าอาการท้องแข็งจริงและท้องแข็งหลอกเป็นยังไง ต้องลองสังเกตดูดี ๆ เพราะในช่วงตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์จะมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นบ่อยมาก ถ้าผ่านช่วง 32 – 34 ไป ก็จะไม่ค่อยมีอาการนี้แล้ว ยังไงก็ดูแลตัวเองและมั่นสังเกตอาการตัวเองดี ๆ เกิดอะไรขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที
Write a comment