#15 สิ่งสำคัญและพัฒนาการของลูกที่คุณแม่ต้องรู้เมื่อ 「ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์」

#15 สิ่งสำคัญและพัฒนาการของลูกที่คุณแม่ต้องรู้เมื่อ 「ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์」
ตั้ง ครรภ์ 25 สัปดาห์
ที่มา https://pixabay.com/

ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์แล้ว คุณแม่หลายคนคงยิ้มแก้มปริแม้จะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวกันใช่ไหมคะ แต่เพื่อลูกน้อยในครรภ์ต่อให้ความเมื่อยล้าถาโถมมาแค่ไหนก็ไม่คณามือแม่

เกือบถึงปลายทางที่หวังแต่ก็ยังต้องตามอัพเดทกันแบบไม่เห็นหน้า ตามไปอ่านกันเลยว่าตอนนี้ร่างกายคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง แล้วเจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการอะไรในครรภ์บ้าง รับรองว่าจะต้องทึ่งให้กับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างแน่นอน

#2 อาการสำคัญของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์

1. หิวบ่อยกว่าปกติ คุณแม่หลายคนในช่วงนี้จะรู้สึกอยากรับประทานนั่นนี่ เพราะระบบการย่อยอาหารร่างกายคุณแม่ทำงานได้ไว แต่ทั้งนี้อย่างที่รู้กันดีว่าไม่ควรตามใจปาก เนื่องจากจะทำให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้

อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ควรรับประทานรับประทานขนมปังโฮลวีต ผักและผลไม้ นม
2. ปัญหาช่องปากเพิ่มสูงขึ้น โดยคุณแม่ในช่วงเวลานี้จะรู้สึกว่าตัวเองมีอาการเหงือกบวม ปากฟันแล้วมีเลือดออก ในบางรายมีอาการเหงือกอักเสบ ซึ่งคุณแม่ห้ามละเลยโดยเด็ดขาด พยายามแปรงฟันให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ไม่เพียงแค่นั้นการพบทันตแพทย์ยังเป็นเรื่องที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง

ส่อง #4 ความกังวลของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์

1. กังวลเรื่องการคลอด ไม่แปลกเลยที่คุณแม่ท้องแรกจะรู้สึกกังวลหรือกลัวเรื่องการคลอด สารพัดความคิดประดังประเดเข้ามาจนอาจเกิดอาการแพนิคได้ คุณแม่อาจจะต้องทำใจให้สบาย หาอะไรที่ช่วยให้ผ่อนคลายมากขึ้นทำ หรืออาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอที่ดูแลครรภ์อยู่ก็ได้ค่ะ

2. กังวลเรื่องคลอดก่อนกำหนด กลัวแท้ง หากว่าคุณแม่ตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง มันเป็นเรื่องยากมากๆเลยค่ะที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ นั่นถึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ต้องไม่ละเลยนัดนะคะ

3. กังวลเรื่องลูก เนื่องจากความผูกผันระหว่างแม่กับลูกเป็นอะไรที่ใกล้ชิดมาก ทำให้ในช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกว่าลูกเป็นเฟิร์ส ไพออริตี้ (First priority) ทำอะไร คิดอะไรก็จะนึกถึงลูกเป็นหลัก จนอาจเกิดความกังวลที่มากเกินไป

4. กังวลจากคำแนะนำของผู้หวังดี หลายครั้งที่คุณแม่ท้องจะต้องฟังคำแนะนำของผู้หวังดีมากมาย ที่บางทีฟังแล้วรู้สึกไม่อยากฟังเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าหากคุณแม่ไม่อยากรับรู้ก็ควรหาทางปฏิเสธอย่างละมุนละม่อมค่ะ

ตั้ง ครรภ์ 25 สัปดาห์
ที่มา https://pixabay.com/

#4 พัฒนาการเด่นของลูกน้อยในครรภ์ 25 สัปดาห์

1. ตำแหน่งการนอนของทารกจะหันหัวขึ้นไปอยู่ใต้กระดูกซี่โครงแม่ ในบางครั้งอาจนอนเป็นแนวขวางหรือเอียงซ้ายขวา คุณแม่ไม่ต้องกังวลในเรื่องท่านอนนะคะว่าจะเกิดอันตรายอะไรขึ้นหรือเปล่า เนื่องจากในตอนนี้มดลูกของคุณแม่ยังมีพื้นที่พอจะให้ขยับอย่างอิสระค่ะ

2. จมูกและปอดของทารกทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกับส่วนของรูจมูกที่เริ่มเปิดเพื่อที่ว่าเมื่อคลอดแล้วจะสามารถหายใจรับออกซิเจนได้ด้วยตนเองแม้ว่าจะถูกตัดสายรกแล้ว

 

ถ้าคุณแม่มีนัดตรวจสุขภาพในช่วงสัปดาห์นี้ คุณหมออาจจะให้ฟังเสียงหัวใจลูกน้อย โดยเฉลี่ยแล้วหัวใจของทารกจะเต้นเร็วกว่าหัวใจของคุณแม่ประมาณ 2 เท่า คุณแม่อาจซื้ออุปกรณ์ที่เรียกว่า Doppler มาใช้ในบ้านได้นะคะ เพื่อฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ได้ด้วยตัวเอง Huggies ติดตามฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ฮักจี้
3. ผิวหนังของทารกเริ่มเรียบตึงยิ่งขึ้น โดยเริ่มมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิดแล้วนะคะ
4. แน่นอนว่ามือเล็กๆของลูกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณแม่จึงมักจะเห็นลูกทำท่าทางกำมือ แบมือ เคลื่อนไหวมือไปมาเมื่อไปอัลตราซาวด์ดู

#5 เทคนิคดีๆที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ห้ามพลาด

1. ความผิดปกติของการตั้งครรภ์มักมีสัญญาณเตือนมาล่วงหน้า ถ้าหากมีเลือดออกหรือมีอาการปวดท้อง คุณแม่ห้ามละเลยเด็ดขาด ควรรีบพบแพทย์ทันที

2. อาหารที่คุณแม่รับประทานต้องเป็นอาหารที่มีความปลอดภัย โดยเฉพาะกับเชื้อลิสเตอเรีย (Listeria) ที่เป็นอันตรายสำหรับคนท้อง ควรระมัดระวังอาหารจำพวกชีส นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ อาหารดิบ

3. เรื่องบุหรี่ คือ เรื่องที่คุณแม่ควรระมัดระวังยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสูบเองหรือดมกลิ่นบุหรี่ เนื่องจากนิโคตินและสารอื่นๆในบุหรี่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์เป็นอย่างมาก

4. ควรคาดเข็มขัดนิรภัยเสมอเมื่อเดินทางไปไหนมาไหนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง

5. ควรเลือกซื้อหมอนที่ออกแบบมาเพื่อหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เนื่องจากช่วงนี้ท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้นมาทำให้เกิดอาการปวดหลัง หายใจลำบาก

บทสรุป ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์

ตั้ง ครรภ์ 25 สัปดาห์
ที่มา https://pixabay.com/

คุณแม่หลายท่านไม่รู้สึกว่าช่วงนี้มีปัญหาเท่ากับเมื่อสัปดาห์แรกๆที่เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ กลับกันยิ่งรู้สึกมีความสุขในการนับถอยหลังได้พบหน้าลูกน้อย ในสัปดาห์ที่ 25 ร่างกายและอวัยวะของลูกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่จึงควรดูแลตนเองและทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่ออีกหนึ่งชีวิตในครรภ์นะคะ

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category