อารมณ์ดีสดชื่นได้ทุกวัน….ด้วยการดูแลสุขภาพจิต

อารมณ์ดีสดชื่นได้ทุกวัน….ด้วยการดูแลสุขภาพจิต

นอกจากมลภาวะต่างๆที่คอยทำร้ายเราในทุกๆวันแล้ว ยังมีความเครียดอีกด้วยที่หนีไม่พ้น
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้พบว่ามีคนเป็นโรคซึมเศร้าและเครียดสะสมกันมากขึ้น
ด้วยเหตุการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ โรคระบาด ปัญหาครอบครัวหรือแม้แต่ปัญหาหัวใจ
เมื่อทุกปัญหามารุมเร้าในวันที่เราอ่อนแอ มันก็ต้องมีหดหู่และเศร้ากันบ้าง
แต่ปัญหาสุขภาพจิตพวกนี้สามารถส่งผลกระทบให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอไปด้วย

 

สุขภาพจิตดี

บางคนมีความเครียดสูงแต่มีวิธีเอาความเครียดนั้นออกไปได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่บางคนมีความเครียดสะสมไปเรื่อยๆบวกกับมีสิ่งเร้ารอบตัวมากมายเป็นเวลานานๆก็อาจทำให้สภาวะจิตใจเริ่มย่ำแย่และอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ที่ไม่รู้ตัว

ลางบอกเหตุว่าเรากำลังสุขภาพจิตย่ำแย่

1.รู้สึกเหนื่อย
ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ซึ่งอาจเกิดจากอาการนอนไม่เพียงพอ หรือนอนไม่หลับ การที่คุณนอนไม่ถึง 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เป็นอาการที่คุณควรระวัง เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
เช่น หัวใจมีปัญหา โรคซึมเศร้า การมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ การตัดสินใจต่างๆ แย่ลง เป็นต้น

2.อาการวิตกกังวลหรือหงุดหงิดง่าย
ในชีวิตประจำวันเราต่างก็เจอเรื่องที่ทำให้หงุดหงิดใจเป็นธรรมดาอยู่แล้ว บางวันก็อาจจะมาก บางวันอาจจะน้อย
อาจมีเรื่องที่คิดไม่ตก และเริ่มวิตกจริตเป็นประจำจากการทำงานหรืออื่นๆ
แต่หากคุณมีอาการวิตกจริตหรือหงุดหงิดง่าย หรือมองโลกโดยทัศนคติในทางลบในทุกเรื่อง
ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายวัน อย่างไม่มีเหตุผล
ก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณอาจจะกำลังมีปัญหา

3. ห่วงคนอื่น…ไม่ห่วงตัวเอง
การเป็นห่วงเป็นใยคอยดูแลคนนั้นเป็นเรื่องดี แต่หากโฟกัสที่เรื่องของคนอื่นมากจนเกินไป
จนเก็บเอามาคิดจนเครียดจนคิดไม่ตก จนลืมดูแลหรือให้ความสำคัญกับตัวเอง
อาจจะไม่ส่งผลดีนักกับสุขภาพจิตของตัวเอง

4. กินมากผิดปกติ
การที่เราอยู่ภายใต้ความกดดันมากๆ อาจทำให้เราใช้สมองและพลังงานมาก ทำให้เรารู้สึกเหรื่อยและอยากอาหาร หรือไม่ก็กินของหวานมากจนเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด หรือการนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายต้องการน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น สังเกตุตัวเองดีดีเพราะไม่เพียงจะสุขภาพจิตจะเริ่มแย่น้ำหนักเราก็เช่นกัน

5. เริ่มเบื่อไม่ดูแลตัวเอง
ถ้าคุณเริ่มที่จะปล่อยตัว เบื่อการแต่งหน้า เบื่อทำผม ไม่อยากแต่งตัว ไม่สนใจว่ารูปร่างหน้าตาของตัวเองสักเท่าไหร่ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะคุณรู้สึกเบื่อหน่าย และความเครียด จนไม่อยากสนใจอะไรแล้ว
เพราะฉะนั้น ถ้าเริ่มว่าเห็นว่าตัวเองเริ่มโทรมหรือน้ำหนักขึ้นก็ควรกลับมาดูแลตัวเองบ้าง

6.เซื่องซึม
ในช่วงที่คุณท้อแท้ เหนื่อย เศร้าซึม ไม่ว่าจากเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ถ้าจากเป็นจากบางวันกลายเป็นทุกวัน
เมื่อตื่นนอนก็รู้สึกห่อเหี่ยว จนทำให้คุณไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ ถึงขั้นไม่สามารถทำได้ สิ่งเดียวต้องการ คือ
นอนเฉย ๆ ไม่ทำอะไร อยู่มุมมืด ๆ ไม่อยากพบเจอผู้คน ถ้ามีอาการแบบนี้เกิดขึ้นต้องรีบหาที่ปรึกษาโดยด่วน

7.เริ่มติดกาแฟ แอลกอฮอลล์ หรือสารเสพติด
ถ้าเริ่มติดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนตลอดวัน อาจเกิดเพราะว่าคุณนอนหลับไม่เพียงพอ
หรือคุณรู้สึกเหนื่อยเพราะสาเหตุอื่น เช่น โรคโลหิตจาง หรือถ้ารู้สึกต้องการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ซึ่งอาจมีต้นเหตุมาจากความวิตกกังวล หรือความเครียด รู้สึกไม่มีความสุข หรือนอนไม่หลับ
แม้วว่าแอลกอฮลล์อาจจะช่วยได้ช่วยคราวในระยะสั้นแต่ในระยะยางจะทำให้อาการวิตกกังวลแยาลง
และอาจตามมาด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และอาจลามไปถึงการติด บุหรี่ หรือสารเสพติดชนิดอื่นๆได้

8.ร่างกายมีอาการผิดปกติ
ปวดหัวเป็นประจำและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กล้ามเนื้อตึงหรือเริ่มตึงหรือปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ รู้สึกแน่นหน้าอกหรือท้องไส้ปั่นป่วน ไม่รู้สึกหิวไม่อยากอาหาร อาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือบางคนอาจจะมีอาการแขนขาชา
เหนื่อยอ่อนเพลียไม่มีแรง

 

สุขภาพจิตดี

 

ความเครียดและความวิตกกังวลนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย และสะสมได้โดยยเราไม่รู้ตัว
แต่ความจริงแล้วตัวเราเองก็สามารถควบคุมดูแล และจัดการความเครียด เสริมสร้างความแข็งแรง
ของสุขภาพจิตของเราเองได้ เพื่อความสดชื่นและอารมณ์ในทุกๆวันและทำให้คนรอบข้างเรามีความสุขตาม

7 วิธีเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แจ่มใส

1.ออกกำลังกาย
เพราะในช่วงก่อนและหลังจากออกกำลังกาย ร่างกายจะปลดปล่อยสารเอนดอร์ฟินที่ช่วยให้อารมณ์ดีและผ่อนคลายจากความเครียดได้ และปัจจุบันมีการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบให้เราเลือกตามสไตล์ที่เราชอบได้
เพราะฉะนั้นการออกกำลังกายจึงช่วยจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้ดี
ง่ายๆแค่ 30 นาที ต่อวันก็เพียงพอแล้ว สำหรับการลดความเครียด

2.สร้างความสัมพันธ์
หมั่นใช้เวลาในการกระชับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน
หรือแม้แต่เพื่อนบ้าน แต่ถ้าใครที่เราอยู่ด้วยแล้สไม่สบายใจทำให้สุขภาพจิตเราแย่ลง ให้เลี่ยง

3.กิจวัตรประจำวัน
อารมณ์เครียดหรือซึมเศร้า อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันแย่ลง ซึ่งการสร้างกิจวัตรประจำวันในแต่ละวันจะ ช่วยให้มีสติ และพัฒนาอารมณ์ให้ดีขึ้นได้

4.หากิจกรรมอะไรใหม่ๆ
หลายคนที่อ่อนไหวง่ายเมื่อเริ่มหดหู่ และเซื่องซึม ควรออกไปหากิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อเปิดหูเปิดตา เช่น ไปเที่ยวในสถานที่ใหม่ ๆ หรือลองเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เชาน ทำอาหาร เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยดึงความสนใจ
จากความรู้สึกแย่ๆไม่ให้แย่ลง

5.งานอดิเรก
ควรหางานอดิเรก เพราะเมื่อมีความเครียดทางจิตใจหรือมีปัญหา ควรหาโอกาสผ่อนคลาย ด้วยการทำงานอดิเรก
ไม่ว่าคุณจะชอบทำอะไรก็ตาม เช่น เล่นเกมส์ เล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง
แต่ไม่ควรใช้เวลากับมันมากเกินไปจนกลายเป็นการเสพติด

6.ปรับความเข้าใจกับตัวเอง
ตั้งสติ หายใจลึกๆ เรียนรู้วิธีเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง มุ่งเน้นจัดการความคิดในเชิงบวก
ควรมีเวลาแต่ละวันในการทำสมาธิบ้าง เพื่อที่จะได้มีสติในสภาวะจิตใจย่ำแย่หรือสับสน

7.ไปเที่ยวพักผ่อน พักใจ ชาร์ตแบตให้ตัวเอง
หากมีเวลาว่างหรือพอมีวันหยุด ควรออกเดินทางไปเที่ยวกับครอบครัว เพื่อน หรือแฟน บ้าง
นอกจากจะเป็นการให้เวลาตัวเองแล้ว ยังได้ผ่อนคลายจากความเครียดจากการทำงาน หรือจากเรื่องแย่ๆ อีกด้วย
ฉะนั้นหากมีเวลาว่างควรพาตัวเองไปชื่นชมกับธรรมชาติ ได้เจออะไรใหม่ๆ จะช่วยให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้

 

สุขภาพจิตดี

 

ดูแลและสำรวจระดับความมีสุขภาพจิตบ่อยๆ

การมีสุขภาพจิตไม่ได้หมายความว่าจะต้องอารมณ์ดี มองโลกบวกตลอด ไม่มีเรื่องคิดลบเลย ก็ไม่ใช่ขนาดนั้น  เพแต่การที่เรามี อารมณ์เศร้า เสียใจ หงุดหงิด อิจฉา หรือโกรธ นั้นล้วนเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ความรู้สึกแง่ลบนั้นสามารถช่วยให้เรารู้ได้ว่า อะไรคือ ปัญหาและควรจัดการกับมันอย่างไร แค่เราควรควบคุมและปรับทัศนคติเพื่อรักษาสมดุลระหว่างแง่บวกกับแง่ลบด้วย

ดังนั้นเราควรสำรวจอารมณ์ความรู็สึกตัวเองบ่อยๆ และไม่ปล่อยให้ความรู้สึกในแง่ลบส่งผลให้ตัวเองจนเศร้าซึม
ติดอยู่กับอดีตที่ไม่ดี หรือวิตกกังวลถึงอนาคตจนไม่มีความสุขกับชีวิตในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้นอย่าลืมหมั่นเติมพลังบวกให้ตัวเอง ปล่อยให้ตัวเองได้พัก แต่ถ้าไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเอง
ให้ดีขึ้นได้จริงๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อพูดคุยและปรึกษา เป็นการหลีกเลี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้า

สุขภาพLatest articles in the category