เฮ้โย่ววววว สวัสดีจ้าาาาาเรามาในฐานะคนที่อยากจะเป็นเพื่อนกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือใครที่กำลังมีเพื่อนหรือคนรอบข้างที่เป็นซึมเศร้าอยู่วันนี้เราจะมาบอกวิธีการอยู่กับพวกเขาให้เป็นเพื่อนที่จะได้ไม่เป็นการทำร้ายเขาทางอ้อมด้วยพฤติกรรมที่ไม่สมควรนั้นเองค่ะ แต่ก่อนอื่นเราต้องเปิดใจเรียนรู้และเข้าใจกับโรคนี้ให้มากๆ เราจะไปฉุดเขาออกมาจากความมืดเราก็ต้องเช็กตัวเองให้ดีเสียก่อน อย่างไรน่ะหรอ?? ไปดูกันเลยย
ก่อนจะช่วยเขา เราต้องเช็กตัวเองก่อน!!!
การที่เราจะดูแลเพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้นั้น เราต้องมีความพร้อมในตัวเองด้วยเช่นกัน ตรวจเช็กตัวเราว่าเรามีจิตใจที่เข้มแข็งพอไหม ไม่เช่นนั้นเราเองก็อาจจะเป็นคนที่ป่วยด้วยเช่นกัน
หากเราจะอยู่กับคนใกล้ตัวที่มีภาวะเป็นโรคซึมเศร้าให้ได้นั้น ต้องมีความเข้าอกเข้าใจพร้อมที่จะรับฟัง เราอาจจะช่วยในปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่การรับฟังจะทำให้จะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกดีขึ้นได้มากเลยทีเดียว
เราต้องอยู่ร่วมกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่สร้างความรู้สึกแย่ๆเพิ่มให้แก่คนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพื่อที่เราจะไม่สร้างปัญหาใหม่ให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเครียดมากยิ่งขึ้น
และยังช่วยทำให้เขารู้สึกดีเมื่ออยู่กับเรา อีกทั้งยังรู้สึกไว้ใจและระบายสิ่งต่างๆให้เราฟังได้ เขาจะได้ไม่ต้องเก็บไว้คนเดียว และที่สำคัญเราต้องเปลี่ยน Mindset ที่มีต่อคนเป็นโรคซึมเศร้าให้ดีขึ้นเสียก่อน แล้วควรจะมี Mindset แบบไหนล่ะ? อยากรู้ไปดูกันเลยย
Mindset !! สำหรับคนที่จะดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
เรามักจะคิดว่าทำไมผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ทำไมถึงเศร้าได้ขนาดนั้น ทั้งที่บางเรื่องก็แค่เป็นเรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะกระทบจิตใจขนาดนั้น ทำให้บางครั้งอาจจะพาลโมโหโกรธผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้
หรือมักคิดว่าผู้ป่วยเป็นคอ่อนแอ การที่ทำแบบนี้นั้นยิ่งทำให้ผู้ป่วยคิดมาก ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่เข้าไปอีก รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระแก่ผู้อื่น ทำให้สภาพจิตใจตกอยู่ในสภาวะของความทุกข์
ดังนั้นเพื่อนๆต้องเปลี่ยนความคิดของตนเองใหม่ มองว่าภาวะแบบนี้ไม่ใช่อารมณ์เศร้าปกติคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นไม่สามารถควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองได้ ดังนั้นต้องพยายามเข้าใจและใจเย็นกับเขาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้น้าา
ต่อไปหากเพื่อนๆมีความพร้อมแล้ว เราไปดู 4 วิธีการที่เราจะอยู่กับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างถูกวิธี ซึ่งเราเองก็เป็นสภาพแวดล้อมหนึ่งทีเขาต้องเจอ ดังนั้นเราก็ต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้เขาให้ได้ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยย
4 วิธีการอยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อย่างถูกต้อง
1.ทำตัวให้เป็นปกติ ไม่เอาใจใส่มากเกินไปต้องทำให้เพื่อนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ารู้สึกอึดอัด ให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนปกติ แบบไม่ต้องพยายามอะไรมากเกินไปมันจะดูเกร็งๆ แค่เราต้องเป็นธรรมชาติ ทำตัวให้เป็นปกติได้มากที่สุด
เพราะการที่เราเอาใจใส่มากเกินไปนั้น จะทำให้เขารู้สึก”อ่อนแอ” ไม่ได้เรื่อง รู้สึกเหมือนว่าดูแลตนเองไม่ได้ รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระให้กับผู้อื่นหรือเปล่า ก็จะยิ่งโทษตัวเอง เพราะฉะนั้น เคยปฏิบัติต่อกันอย่างไรก็ทำแบบเดิม
ใส่ใจกันในแบบที่พอดี เวลาที่เป็นห่วงหรือจะถามอะไร ก็ควรจะคุมน้ำเสียงให้ปกติ เป็นธรรมชาติ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ได้รับปฎิบัติอย่างมนุษย์คนหนึ่ง เขาก็จะรู้สึกมีความสุขแล้ว
เพราะทางของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นมันจะดิ่งลึกลงไปเหมือนหลุมดำ สิ่งที่เราทำได้ก็ควรจะเป็นพลังด้านบวกที่มีให้
2.เราต้องระวังคำพูดให้มาก คำพูดให้กำลังใจเล็กๆน้อย เป็นพลังที่สามารถช่วยให้เพื่อนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นผ่านช่วงเวลาที่ท้อแท้ไปได้ สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้น บางคำพูดเมื่อเราพูดออกไปแล้วทำให้มีกำลังใจมาก
แต่ในอีกหลายคำเมื่อฟังแล้วก็อาจจะเป็นคำที่ทิ่มแทงจิตใจของผู้ป่วยได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะระวังให้มากที่พูดคำใดออกไป เพราะคำที่ทิ่มแทงเขาอาจจะตอกย้ำจิตใจของเขาไปตลอดเลยก็ได้
คำที่ควรพูด
เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ / เธอมีค่ากับฉันเสมอนะ / เราจะอยู่ข้างๆเธอเสมอนะ / เธอสามารถระบายกับเราได้ทุกเรื่องเลยนะ
คำที่ไม่ควรพูด
ออกไปหาอะไรทำดูสิ / เมื่อไหร่จะหาย / เลิกคิดมากได้แล้ว / ไม่เป็นไรหรอก / เดี๋ยวมันก็ดีขึ้น / จะเศร้าไปไหน /ใครๆก็เป็น
3.รับฟังด้วยความเข้าใจ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าต้องการมาก สิ่งที่คนใกล้ชิดสามารถทำได้คือเป็นผู้ฟังที่ดี แค่รับฟังอย่างเดียวนะ ไม่ต้องไปตัดสินแทน ไม่ต้องไปแนะนำให้อย่างนั้นอย่างนี้
แค่เพียงเรารับฟังเขาก็จะรู้สึกว่ายังมีคนที่อยู่เคียงข้างเขาอยู่ ถ้าเราไม่รู้จะพูดหรือแสดงออกยังไง เพียงนั่งข้างๆเขา หรือสัมผัสเพื่อแสดงความรู้สึกก็เพียงพอแล้ว
4.พาออกมาหากิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะหลีกเลี่ยง การพบปะผู้คนไม่อยากออกไปไหน มักจะปัดความหวังดีจากผู้อื่น ซึ่งการกระทำแบบนี้เกิดจากภาวะทางจิตใจที่ควบคุมไม่ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ออกมามีปฏิสัมพันธ์กับผู้บ้างก็จะเป็นสิ่งที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว
คนที่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องหมั่นชวนให้ออกมาทำกิจกรรมหรือออกมาสู่สังคมภายนอก แม้จะถูกปฏิเสธจนเราท้อก็ตาม แต่ให้เราอย่ายอมแพ้ถ้าเราอยากจะช่วยเขาจริงๆ ห้ามถอดใจเด็ดขาด ขอให้เขามาเป็นเพื่อนเราก็ได้
เช่นชวนไปออกกำลังกาย ไปเดินเที่ยว ไปชมธรรมชาติ ทำขนม ทำอาหาร จะทำให้ผู้ป่วยหลุดจากการจมดิ่ง ให้มาสนใจในกิจกรรมที่ทำตรงหน้าแทน ตอนที่ระหว่างทำกิจกรรมนั้นก็จะทำให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้นมากๆนั้นเองง
บทสรุปวิธีการอยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้านั้น จะดีขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนที่เข้าใจ และอยู่เคียงข้าง ไม่ให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคิดว่าตัวเองอยู่ตัวคนเดียว มีคนที่คอยรับฟังและเป็นกำลังใจให้ จากบทความข้างต้น คงทำให้เพื่อนๆรู้วิธีที่จะอยู่ร่วมกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยฉุดให้เพื่อนๆหรือคนรอบข้างเราไม่ว่าจะใครก็ตามนั้นหลุดพ้นจากโรคซึมเศร้านี้ได้สักที
Write a comment