ตอนนี้รอบตัวของเราเต็มไปด้วยมลพิษ ทั้ง ฝุ่น ควัน และไหนจะยัง PM 2.5
ซึ่งนอกจากมีผลกับสุขภาพของเราแล้ว ยังมีผลกับผิวพรรณของเราอีกด้วย
ยิ่งถ้าใครมีผิวบอบบางแพ้ง่ายหรือระคายเคืองได้ง่ายอยู่แล้วหล่ะก็
ยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคผิวหนังต่างๆกับตัวเอง
เพราะฉะนั้นเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าโครงสร้างผิวหนังของคนเราเป็นยังไง
เข้าใจโครงสร้างผิวหนังง่ายๆ
ผิวของคนเราประกอบชั้นผิว 3 ชั้นผิว ซึ่งชั้นของผิวหนังแต่ละชั้นก็มีหน้าที่แตกต่างกัน
1)ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
เป็นชั้นผิวที่อยู่นอกสุด ช่วยปกป้องผิวจากแบคทีเรียและ ป้องกันการสูญเสียน้ำในชั้นผิว เป็นชั้นผิวที่บาง
เพราะฉะนั้นจะถูกทำให้ระคายเคืองง่ายเช่น ถูหน้าแรงเกินไปเวลาล้างหน้า
2)ชั้นหนังแท้ (Dermis)
เป็นผิวหลัดที่คอยรักษาความยืนหยุ่นของผิว องค์ประกอบหลักของชั้นหนังแท้คือ คอลลาเจน และ อิลาสติน ช่วยให้ความแข็งแรง และความยืดหยุ่นแก่ผิว ทำให้ผิวมีสุภาพดี ดูอ่อนเยาว์ ความยืนหยุ่นของชั้นหนังแท้จะน้อยลงเมื่อเรามีอายุมากขึ้นทำให้เกิดริ้วรอยตามวัย
3) ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer)
ชั้นใต้ผิวหนังเป็นชั้นไขมัน (Subcutaneous) ความหนาขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันของแต่ละคน มีหน้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย สามารถช่วยลดแรงกระทบกระแทกจากภายนอก
ซึ่งชั้นผิวหนังที่ควรจะให้ความดูแลเป็นพิเศษ คือ ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และ ชั้นหนังแท้ (Dermis)
โรคผิวหนังที่มักจะพบบ่อยๆ
1.สิว (Acne)
สิวที่ทุกๆคนรูกันดีก็สามารถถือว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งเช่นกัน ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี
สิวก็มีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีสาเหตุที่แตกต่างกันที่ช่วยใหญ่ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดสิว
ก็คือสิ่งสกปรกและแบคทีเรียที่ตกค้างอยู่บนผิวของพวกเรานั่นเอง
2.โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)
คือโรคทีเกิดจากอาการผิวหนังอักเสบเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งบางคนก็จะปรากฏเป็นผื่นแดง บ้างก็มีอาการผิวหลุดลอกเป็นขุย ซึ่งมลพิษในสิ่งแวดล้อมก็เป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวบอบบาง แต่ถึงโรคแม้ไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้แต่สามารถทำอาการทุเลาลงได้แต่ต้องคอยพบเเพทย์อยู่อย่างสม่ำเสมอ
3.โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
เป็นหนึ่งโรคผิวหนังที่โรคเรื้อรัง มีอาการผิวหนังหนา หรือเป็นขุย ถ้าขั้นร้ายแรงหน่อยก็จะมีอาการปวดข้อตามมา มักจะเป็นๆหายๆแต่ไม่ได้หายขาด ส่วนสาเหตุจะเกิดจากกหรรมพันธุ์ หรือการทำงานผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดและสาเหตุอื่นๆแล้วแต่บุคคล
4.โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatophytosis)
เราอาจจะรู้จักในชื่อที่ถูกแยกออกเป็นหลายเประเภท เช่น กาก เกลื้อน
กลาก เป็นอาการแดง หรือ มีตุ่มขึ้นบริเวณผิวหนัง สามารถเกิดบนทุกส่วนของร่างกาย และติดต่อได้
เกลื้อน เป็นดวงๆบริเวณผิวหนัง ผิวหนังจะแห้งและอาจมีอาการคัน
แต่ไม่สามารถติดต่อระหว่างคนได้
เป็นโรคผิวหนังที่มีสาเหตุมาจาก สิ่งสกปรก หรือความเปียกอับชื้น ซึ่งทำให้เกิดเชื้อรา
5.ลมพิษ (Urticaria)
อาการผื่นแดงเป็นจุดเล็กๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณ แต่มักพบมากในบริเวณ แขน และขา
สามารถขยายตัวได้จากการเกา ลมพิษนั้นอาจเกิดได้จากการแพ้ยาหรือ แพ้อาหาร
วิธีป้องกันโรคผิวหนังเบื้องต้น
- รักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการอาบน้ำเพราะการไม่อาบน้ำจะก่อให้เกิดความสกปรกหมักหมม ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผิวหนัง
- ปกป้องและหลีกเลี่ยงผิวหนังจากการแสงแดด ด้วยการทาครีมกันแดด เพราะแสงแดดจะส่งผลเสียระยะยาวกับผิวหนัง และสามารถก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
- หลีกเลี่ยงสารพิษที่ส่งผลต่อผิวหนัง ไม่ว่าจะจากมลพิษต่างๆหรือ เครื่องสำอางก็ควรเลือกที่ปลอดภัยไม่ผสมสารอันตราย หรือทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูอย่างเต็มที่
- หมั่นเช็คร่างกายของตัวเองเป็นประจำ เพราะอาการที่เกี่ยวกับผิวหนังสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อพบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายต้องรีบรักษาทันที
บทสรุปส่งท้าย
ส่วนใหญ่โรคผิวหนังที่พบมากจะเกิดขึ้นมา มลพิษ และสิ่งสกปรกต่าง
เราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคผิวหนังได้ง่ายๆแค่เริ่มจาการรักาาความสะอาดเท่านั้น
ล้างมือบ่อยๆ พยายามไม่สัมผัสใบหน้าโดยตรงเวลาอยู่นอกบ้าน อาบน้ำให้สะอาดทันทีหลังกลับถึงบ้าน แค่มีวินัยในการรักาาความสะอาดง่ายๆ
แค่นี้เราก็สามารุถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคผิวได้มากแล้ว…
Write a comment