ผิวหนัง เป็นอวัยวะขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ที่บทบาทสำคัญต่อร่างกายเรา ในการช่วยทำหน้าที่เป็นเกราะปกป้องร่างกายจากแสงแดดและมลภาวะต่างๆ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ช่วยขับของเสียออกมาในรูปแบบของเหงื่อ เพื่อระบายความร้อนในร่างกาย
ถ้าหากผิวหนังได้รับเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวเสียสมดุล อาจจะส่งผลให้ร่างกายไม่สบายตัว เกิดอาการระคายเคืองและทำให้ไม่สบายในเวลาต่อมา ซึ่งผิวหนังที่ติดเชื้อแบคทีเรียยังส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังที่มีอาการหลากหลาย และยังสามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย จะมีโรคอะไรบ้างไปดูกันเลย
โรคพุพอง (Impetigo)
โรคพุพอง (Impetigo) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นของหนังกำพร้า เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง แต่จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้หลังจากที่อาการปวด ตุ่มหนอง หรือสะเก็ดหยุดลง
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดและมีตุ่มหนองหรือตุ่มพองอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ เมื่อตุ่มแตกจะกลายเป็นรอยถลอก โรคนี้จะพบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถเกิดได้ในทุกวัย
ซึ่งตำแหน่งที่พบบ่อย คือบริเวณแขน ขา รอบปาก รอบจมูก และใบหน้า โรคนี้ไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาหายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าหากติดเชื้ออาจจะทำให้มีอาการไข้และต่อมน้ำเหลืองโตในบริเวณนั้นร่วมด้วย
โรครูขุมขนอักเสบ (Folliculitis)
โรครูขุมขนอักเสบ (Folliculitis) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสและการใช้ของร่วมกัน โรครูขุมขนอักเสบเกิดจากการอักเสบของรูขุมขน
มีลักษณะอาการเป็นตุ่มแดงหรือเกิดหนอง ลักษณะคล้าย ๆ เป็นสิวหัวสีขาวขึ้นตามรูขุมขน ทำให้มีอาการคัน กดแล้วจะรู้สึกเจ็บ ถ้าเกิดการอักเสบจะทำให้เกิดการลามไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ อาจจะทำให้เกิดเป็นไตเเข็งใต้ผิวผิวหนัง
หรืออาจจะทำให้กลายเป็นฝี ซึ่งจะมีหนองอยู่ภายใน ทำให้เกิดอาการปวด เมื่อฝีแตกออกจะมีหนองไหลออกมา ในบางรายอาจจะทำให้เป็นไข้สูงได้
โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นหนังแท้อย่างรุนแรง ทำให้ผิวหนังอักเสบเกิดเป็นผื่นแดงอักเสบตามผิวหนังมีลักษณะขรุขระ คล้ายเปลือกส้ม
โรคนี้จะเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเเสบร้อนและปวดบริเวณผิวหนัง สามารถเกิดได้ทั่วทั้งร่างกาย และจะลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการอักเสบของท่อน้ำเหลืองในบริเวณผิวหนังใกล้เคียง
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง ทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นตาย แพทย์ต้องผ่าตัดนำออก หรืออาจจะเกิดหนอง และอาจจะไข้ตามมาอีกด้วย
โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis)
โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการอักเสบในชั้นชั้นหนังแท้และชั้นใต้ผิวหนัง โดยจะเกิดจากเชื้อโรคเเบคทีเรียเข้าสู่ผิวจากบริเวณที่มีแผลเปิด เช่น แผลผ่าตัด หรือบริเวณผิวหนังบอบบาง ผู้ป่วยจะมีอาการปวด แสบร้อนบริเวณที่อักเสบ
ซึ่งโรคนี้จะมีลักษณะเป็นผื่นแดง บวม และสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็วแต่ไม่เร็วเท่าโรคไฟลามทุ่ง โดยจะเเพร่กระจายออกไปตามต่อมน้ำเหลือง และมักจะพบมากในบริเวณขา ถ้าหากมีอาการรุนเองอาจจะมีไข้ร่วมด้วย
การรักษา โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยการใช้ยาปฏิชีวนะ แนะนำว่าไม่ควรซื้อยารับประทานเอง โดยแพทย์จะจ่ายยาตามเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค สำหรับเคสที่ไม่รุนแรง แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบรับประทาน แต่สำหรับเคสที่รุนแรง ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่วินิจฉัย อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบยาฉีด
- การรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัส การเกา การแกะผิวหนังที่เป็นแผล เพราะนิ้วมือของเราไม่สะอาด และจะทำให้เชื้อโรคลุกลามมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
- การรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยการทำความสะอาดผิวหนังโดยการอาบน้ำ ฟอกสบู่ ให้สะอาด ช่วยขจัดเชื้อแบคทีเรียได้ รวมทั้งทำความสะอาดบริเวณแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อลดการลุกลามของเชื้อโรค
การป้องกัน
- การป้องกันอาการติดเชื้อเเบคทีเรียโดยการทำความสะอาดร่างกายให้สะอาด โดยการอาบน้ำฟอกสบู่ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย และถ้าหากมีแผลควรรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและล้างแผลให้ถูกวิธี
- การพยายามไม่ทำให้ร่างกายเกิดแผลโดยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะเกิดแผล ต้องระมัดระวัง เช่น สวมรองเท้าทุกครั้งที่เดินนอกบ้าน หรือการแกะ การเกาผิวหนัง
- การรักษาสุขลักษณะอนามัยของตัวเองให้สะอาด โดยการตัดเล็บ หรือล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ป้องกันการสะสมเช้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
บทสรุป
อาการผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย
จบไปแล้วนะคะ สำหรับอาการผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย แบบไหนที่ต้องรีบรักษา ซึ่งโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคที่สามารถติดต่อกับผู้อื่นได้เพียงแค่สัมผัสหรือใช้ของร่วมกัน ยิ่งถ้าหากมีแผลยิ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
โดยเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลให้ผิวหนังมีอาการปวด แสบร้อน ถ้าหากอักเสบรุนแรงอาจจะมีอาการไข้ร่วมด้วย และอาจจะอันตรายถึงขั้นติดเชื้อรุนแรงได้โดยเฉพาะสำหรับในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว นอกจากนี้ ในส่วนของการรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรจะพบเเพทย์เพื่อเข้าการรักษา
เพราะส่วนใหญ่ผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย จะเกิดการลุกลามได้ง่ายโดยเชื้อจะไปตามต่อมน้ำเหลือง ดังนั้น เราควรจะรักษาความสะอาดของร่างกาย และสุขลักษณะให้สะอาดเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
Write a comment