สำหรับคนที่เป็นโรคผิวหนังอย่างโรคด่างขาว เป็นโรคที่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ 100 เปอร์เซ็น ผู้ป่วยจะมีลักษณะผิวหนังด่างขาว ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในคนที่มีสีผิวเข้ม
โรคนี้ไม่อันตรายและไม่ติดต่อกับผู้อื่น แต่ด้วยลักษณะของผิวหนังที่ด่างขาว ทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจไม่กล้าเข้าสังคม เพราะกลัวถูกคนอื่นมองว่าเป็นโรคร้าย แต่ในปัจจุบันโลกเปิดกว้างทำให้เริ่มมีคนรู้จักโรคนี้และเข้าใจมากขึ้น คนที่ป่วยเป็นโรคด่างขาวสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติ
ไม่ต้องถูกมองด้วยสายตาเเปลก วันนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคด่างขาว ที่ทำให้ผิวหนังด่างขาว พร้อมวิธีรักษา จะเป็นยังไงไปดูกันเลย
ผิวหนังด่างขาว คือโรคอะไร
โรคที่ทำให้ผิวหนังด่างขาว หรือโรคด่างขาว เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่จะรู้สึกไม่มั่นใจในการพบเจอกับผู้อื่น เพราะมีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ โรคนี้ไม่อันตรายต่อคนรอบข้าง มีลักษณะเป็นผิวหนังด่างขาวมีขอบที่ชัดเจน
เกิดจากการสูญเสียเม็ดสีใต้ผิวหนัง สามารถเกิดได้แบบกระจายทั้งตัวและเกิดเป็นจุดบริเวณต่างๆ บนร่างกาย ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะขนาด ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะพบมากบริเวณปลายมือปลายเท้า และสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า
อาการของโรคด่างขาว
อาการของโรคด่างขาว จะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล มักจะเกิดบริเวณผิวหนังที่โดกับแสงแดด เช่น มือ เท้า ใบหน้า เป็นต้น ซึ่งโรคนี้พบได้แม้คนที่มีสุขภาพดี เริ่มแรกจะมีลักษณะเป็นจุดขาวเล็กมักจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยผิวหนังจะมีลักษณะด่างขาวถึงขาวซีด
โดยจะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน และสามารถกระจายได้ทั่วทั้งตัว ส่วนใหญ่ไม่มีอาการคันตามผิวหนัง แต่ในบางคนอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย
อะไรเป็นสาเหตุของโรคด่างขาว
โรคที่ทำให้ผิวหนังด่างขาว หรือโรคด่างขาว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้มีสุขภาพที่ดี อาจจะเกิดจากทำงานของระบบภูมิคุ้มกันขัดข้อง หรือการสัมผัสสารเคมีอย่างรุนแรง หรืออาจะเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม
แต่จะพบมากในกลุ่มผู้ป่วยโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 โรคผมร่วง โรคต่อมหมวกไต และโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
วิธีการรักษา ผิวหนังด่างขาว
ในการรักษาโรคผิวหนังด่างขาวหรือโรคด่างขาว เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้ยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล 100% ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ แต่จะมีแนวทางการรักษา ดังนี้
1. การรักษาด้วยยาสตีรอยด์ เพื่อช่วยกดภูมิคุ้มกันของร่างกายไว้ ไม่ให้ไปทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีบนผิวหนัง ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่ยังเป็นน้อย แต่ผลการรักษาสำหรับวิธีนี้ไม่ค่อยดีนัก
2. การรักษาด้วยการใช้ยาทา เพื่อช่วยกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถใช้ทาเฉพาะบริเวณที่เป็นด่างขาวเท่านั้น
3. การรักษาด้วยการฉายแสงอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งวิธีนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 ปี
4. การรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายเซลล์สร้างเม็ดสี วิธีนี้เป็นการหรือการผ่าตัดย้ายผิวหนังปกติมายังส่วนที่เป็นด่างขาว เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดสี
5. การรักษาด้วยการฟอกสีผิวปกติให้เป็นสีขาวทั้งหมดทั้งร่างกาย
6.การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์กระตุ้นการสร้างเม็ดสีด้วย Excimer laser
Write a comment