คลอดลูกบนรถเหตุการณ์ที่คนมักขาดความเข้าใจ
เหตุการณ์การคลอดลูกบนรถ เรามักจะพบได้บ่อย ๆ ตามสื่อที่นำเสนอข่าว ซึ่งการคลอดลูกบนรถส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่คุณแม่ไปโรงพยาบาลไม่ทัน ทำให้ต้องคลอดทารกบนรถ แต่การนำเสนอข่าวกรณีการคลอดลูกบน
มักถูกตีโยงเกี่ยวข้องกับเรื่องของโชคลาภ เลขหวยต่าง ๆ ทำให้เรื่องการคลอดลูกบนรถไม่ได้ถูกให้ความสำคัญถึงความรู้ความเข้าใจ หรือวิธีการรับมือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น
ส่งผลให้ขาดวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง และปลอดภัย ดังที่ได้เห็นการพาดหัวข่าวที่ได้นำเสนอตามสื่อต่าง ๆ คนคลอดลูกบนรถล่าสุด เช่น เลขแม่ ๆ ลูก ๆ ต้องมา “หญิงท้องแก่คลอดเองหลังกระบะ คอหวยจับตาทะเบียนรถ คอหวยแวะส่องทะเบียน” “สาวท้องแก่อั้นไม่ไหว คลอดลูกบนรถกู้ภัย” “คุณแม่ท้องแก่ให้กำเนิดลูกชายบนรถกระบะ ชาวบ้านไม่พลาดส่องทะเบียนไว้ลุ้น” เป็นต้น
อย่างข่าวคนคลอดลูกล่าสุด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ สถานีตำรวจภูธรวิเชียรบุรี จู่ก็มีรถยนต์ขับเข้ามาจอด จากนั้นชายหนึ่งคนก็วิ่งเข้ามาขอความช่วยเหลือภรรยาของตนซึ่งนอนอยู่เบาะหลังรถปวดท้องกำลังจะคลอดลูก เมื่อตำรวจไปตรวจสอบให้ความช่วยเหลือก็พบว่าศีรษะของเด็กกำลังโผล่งออกมาจึงประสานเรียกรถพยาบาลมารับ ซึ่งชาวบ้านและคอหวยต่างก็เอาเลขทะเบียนรถไปเสี่ยงโชค สามารถอ่านข่าวเต็ม ๆ ได้ ที่นี่
เตรียมพร้อมรับมือกับการคลอดลูกบนรถ
จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์การคลอดลูกบนรถนั้นมักพบเห็นได้บ่อย และคนมักจะให้ความสนใจในเรื่องของโชคลาภมากกว่า เรื่องการรับมือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และหลายเหตุการณ์ที่การคลอดลูกแบบนี้ ส่งผลอันตรายถึงชีวิตทั้งตัวแม่และทารก
เนื่องจากในสถานการณ์นั้นขาดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี ทำให้หลายครั้งที่มีข่าวปรากฏว่าแม่คลอดลูกบนรถ แล้วเสียชีวิตทั้งแม่และทารก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดเป็นอย่างมาก ดังนั้นการรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีดังกล่าว
อาจจะเป็นการช่วยชีวิตของคุณแม่ และอีกชีวิตที่กำลังจะคลอดออกมาได้ วันนี้เราจะพาคุณมาเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจไม่คาดฝันแบบนี้ อันดับแรกเรามารู้กันก่อนว่า 5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่ใกล้คลอด
5 สัญญาณอาการเตือนก่อนคลอด
1.อาการท้องลดเคลื่อนต่ำลง
อาการนี้จะเกิดขึ้นช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนการคลอด ทารกในครรภ์จะเคลื่อนศีรษะมาอยู่อุ้งเชิงกรานของแม่ ทำให้แม่ท้องมีขนาดลดลง รู้สึกโล่ง หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
2.อาการมูกไหลจากช่องคลอด
ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ บริเวณปากมดลูกจะมีมูกเหนี่ยว ข้น ที่เรียกว่า mucus plug ที่ป้องการเชื้อโรคเข้าสู่มดลูกในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกจะเริ่มเปิดทำให้มูกเหล่านี้เริ่มหลุดและไหลออกมา ซึ่งในบางกรณีอาจมีเลือดปนนออกมาด้วย
3.อาการเจ็บท้องจริง
อาการนี้คุณแม่จะรู้สึกว่ากำลังจะคลอดโดยมีอาการเจ็บท้องแบบถี่ๆ ปวดสม่ำเสมอและปวดขึ้นเรื่อยๆ หากเดินหรือเคลื่อนไหวจะจะมีอาการเจ็บมากขึ้น ท้องจะแข็งและรู้สึกเจ็บปวดบริเวณส่วนบนของมดลูกก่อนและปวดร้าวไปที่หลัง
4.อาการถุงน้ำคร่ำแตก
หรือที่เรียกว่าอาการน้ำเดิน จะมีของเหลวใสๆไหลออกมาจากมดลูก บ่งบอกได้ว่ามดลูกเริ่มมีการบีบตัวเพื่อให้ศีรษะทารกเคลื่อนที่ลงสู่อุ้งเชิงกราน หากคุณแม่มีการนี้ 80% มีโอกาสที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมงควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
5.ปากมดลูกเปิด
โดยทั่วไปคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีปากมดลูกที่หนาพอสมควร และปิดแน่นสนิทเพื่อป้องกันทารกได้รับอัตราย แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดปากมดลูกจะเริ่มเปิด และขยายขึ้น จนกระทั่งเปิดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทารกคลอดออกมา หากพบอาการนี้หีรีบพบแพทย์โดยทันที
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีประสบเหตุการณ์คลอดลูกบนรถ
หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น กรณีที่คุณแม่ต้องคลอดลูกบนรถ ไปดูกันเลยว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือปฏิบัติอย่างไรเมื่อประสบเหตการณ์ดังกล่าว
1.หากคุณแม่ใกล้คลอด หรือกำลังจะคลอดอันดับแรก ให้คุณแม่หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกช้าๆเป็นจังหวะเพื่อผ่อนคลายอาการปวดเกร็ง
2.หากคุณแม่จะคลอดแล้ว เห็นศีรษะทารกโผล่ออกมา ให้ผู้ติดตามหรือญาติ ใช้ผ้ารองฝีเย็บป้องกันการฉีกขาดของฝีเย็บ
3.ให้ผู้ติดตามใช้มืออีกข้างกดศีรษะด้านบนของทารกเบา ๆ เพื่อให้ทารกก้มหน้า และเพื่อไม่ให้ทารกคลอดเร็วเกินไป และป้องกันการฉีกขาดของช่องปัสสาวะ
4.เมื่อทารกคลอดแล้วให้ใช้ผ้าเช็ดตัวห่อทารก จากนั้นใช้ผ้าสะอาดห่อทั้งนิ้ว เพื่อกวาดเลือดที่ปากทารกออก ป้องกันการสำลัก และจับทารกให้อยู่ในท่านอนตะแคงให้ศีรษะทารกต่ำลง เพื่อให้เสมหะไหลออกจากปอด จากนั้นดูดเสมหะที่ปากและจมูกของทารกออก
5.ใช้ผ้าสะอาดผูกสายสะดีอทารกไว้ ป้องกันเลือดกลับเข้าสู่ตัวทารก
6.ใช้ผ้าสะอาดกดแผลฝีเย็บของคุณแม่เพื่อป้องกันเลือดออกเป็นจำนวนมาก
7.จากนั้นให้คุณแม่นอนราบเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมอง และป้องกันอาการเป็นลมหมดสติ หรืออาการช็อค และควรให้คุณแม่ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำหวานตาม
8.รีบนำคุณแม่และทารกไปโรงพยาบาล หรือคลินิคที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
บทสรุปการเตรียมรับมือคลอดลูกบนรถ
เหตุการณ์คลอดลูกบนรถอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ท่านไหนก็ได้ ดังนั้น เราต้องเรียนรู้วิธีรับมือเบื้องต้นหากกรณีเกิดเหตุการณ์คุณแม่คลอดลูกบนรถ เพื่อควบคุมสติให้คุณแม่ไม่ตื่นตระหนก และทำให้สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นช่วยชีวิตอีกสองชีวิตทั้งคุณแม่ ทารกให้ปลอดภัยได้ อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสให้การเกิดเหตุการณ์ที่ถึงแก่ชีวิตได้มากอีกด้วย
Write a comment