เดือนที่ 7 คือ เดือนแรกของไตรมาสสุดท้ายในการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายคนก็คงจะตื่นเต้นกันมากเลยทีเดียว หลายคนแอบไปช้อปปิ้งเสื้อผ้า ของใช้ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงลูกน้อยกันแล้ว อักแค่ 2 เดือนเท่านั้นที่คุณแม่ต้องรอคอยที่จะได้เห็นหน้าคร่าตาของเจ้าตัวน้อย เรียกได้ว่ารอแฟนขอแต่งงานก็ไม่ตื่นเต้นขนาดนี้ (หรือเปล่านะ?)
จะว่าไปแล้วมีหลายเคสที่คลอดก่อนกำหนด ทำให้คุณแม่เกิดความสงสัยว่าเมื่อตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน ลูกอยู่ท่าไหนแล้ว ?? วันนี้เราจะมาตอบคำถามที่คุณแม่สงสัยกันนะคะ
ตั้งครรภ์ 7 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน?
ทารก 7 เดือนจะมีน้ำหนักตัว 1 กิโล และมีความยาวประมาณ 35 เซ็นติเมตร เป็นช่วงที่ทารกลืมตาในท้องได้เอง ทารกจะเริ่มขยับตัวแรงขึ้น เพราะเป็นการหมุ่นตัวเพื่อกลับหัวลงและเข่าทั้ง 2 ข้างจะชิดหน้าอก
ปลายคางของทารกจะชิดกับหัวเข่า แขนและขาอยู่ในท่าไขว้กัน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดออกมาในไม่ช้า แต่กระดูกบริเวณศีรษะของทารกจะเชื่อมติดกันหลังจากเด็กคลอดออกมาแล้ว
ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยให้ง่ายต่อการคลอด นั่นแปลว่าทารกเริ่มกลับตัวตั้งแต่เดือนที่ 7 แล้ว เป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งมากจริง ๆ ทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อย
สาเหตุที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนดซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ เป็นการคลอดที่อายุครรภ์ น้อยกว่า 37 สัปดาห์
- ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
- ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- ทำงานที่ออกแรงมาก ๆ
- มีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
- ภาวะแทรกซ้อนปากมดลูกปิดไม่สนิท
- การบีบรัดตัวของมดลูกแรงกระตุ้นทำให้คลอดก่อนกำหนด
- ความเครียดขณะตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์แฝด
โดยอาการท้องก่อนกำหนดนี้คุณแม่จะมีอาการคล้ายประจำเดือน เจ็บท้องโดยไม่ทราบสาเหตุและมีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ปวดท้องที่ขาหนีบและหน้าขา ปากมดลูกเปิดมากถึง 80 % มูกทีอุดปากมดลูกหลุดออกมา
มีสีน้ำตาบหรือเลือดปะปน ถ้าคุณแม่มีอาการเหล่านี้ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะทารกต้องได้รับการดูแลยังเป็นพิเศษเนื่องจากมีอายุน้อยเกินไป
ความเสี่ยงของทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ความเสี่ยงของทารกที่คลอดก่อนกำหนดคือ การพัฒนาจะไม่สมบูรณ์เท่าทารกที่อยู่ในครรภ์ครบสัปดาห์ ทำให้หายใจลำบาก มีสภาวะตัวเหลือง ท้องอืดง่าย ติดเชื้อโรคได้ง่าย
นั่นคือเหตุผลที่ว่าเพราะอะไรทารกที่คลอดก่อนกำหนดต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ เพราะเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงมาก และในระยะยาวปัญหาที่ตามมาคือการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ ไอคิวต่ำ หัวใจวายพิการ หูหนวก และตาบอด
แต่ยังมีอีกหลายเคสมาก ๆ ที่สามารถผ่านไปได้เป็นเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ปกติ เพราะการแพทย์สมัยนี้ได้พัฒนาแล้ว
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 7 เดือน
อารมณ์ของคุณแม่ช่วงนี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงหรือน่ากังวลใจ แต่บางรายมีอาการนอนหลับยากร่วมอาจทำให่ร่างกายอ่อนเพลียพักผ่อนไม่เพียง
ทำให้หงุดหงิดง่าย แต่โดยรวมคุณแม่ยังไม่มีความกังวลใจมากนักในช่วงสัปดาห์ที่ 28 นี้เพราะการคลอดหรือวันกำหนดคลอดยังอยู่อีกไกล
แต่ต้องคอยมั่นเช็กร่างกายตัวเองอยู่บ่อย ๆ สังเกตุอาการเจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอกให้ดี เพื่อมีการคลอดก่อนกำหนดต้องรีบพบแพทย์
บทสรุปของบทความ
ตามที่คุณแม่ได้อ่านไป อายุครรภ์ 7 เดือนลูกกลับหัว อยู่ในท่าที่พร้อมคลอดแล้ว คุณแม่ที่บำรุงตัวเองอยู่ทารกก็จะแข็งแรง แต่คุณแม่ที่ไม่ค่อยได้ดูแลตัวเองก็จะอันตรายต่อลูกและทำให้มีสภาวะแทรกซ้อนคลอดก่อนกำหนด
ในบางรายการคลอดก่อนกำหนดเป็นเพราะคุณแม่ไม่แข็งแรงก็มี แต่ทั้งนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องโทษตัวเอง ภาระและหน้าที่ของแต่ละคนต่างกัน มีเงื่อนไขที่ต่างกัน เมื่อเราดูแลเต็มที่ของเราแล้วถือว่าทำดีแล้ว มืออยู่ในมือหมอให้คิดไว้ว่าปลอดภัยนะคะ
Write a comment