เข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 28 หรือเดือนที่ 7 อีกไม่นาคุณพ่อและคุณแม่ก็จะได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้ว อีกแค่ 2 เดือนเท่านั้น ช่วงนี้คุณแม่ก็จะอึดอัดตัวเองมากหน่อยเนื่องจากท้องที่โตขึ้นมาก คลื่นไหวได้ไม่คล่องแคล่วเท่าเดิม
และหิวมากแต่รับประทานอาหารได้ไม่เท่าเดิม เพราะมีอาการจุกเสียดร่างกายได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก หนึ่งในสาเกตุที่ทำให้คุณแม่มีอาการท้องแข็งหรือเปล่าไปดูกัน
อาการท้องแข็งคืออะไร
แบ่งออกได้ 3 ประเภท
ประเภทแรกคือ ท้องแข็งเพราะลูกดิ้น เนื่องจากขนาดตัวของทารกเริ่มโตขึ้นและช่วง 7 เดือนเป็นช่วงที่ทารกกำลังเริ่มหมุนตัวเพื่อกลับหัว จุดที่ท้องคุณแม่แข็งอาจจะเป็นก้น แขน ขา ของทารก เพราะแบบนี้เองจึงทำให้คุณแม่มีอาการท้องแข็งและอาจจะนูนออกมาให้คุณแม่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์เห็นด้วย แต่จะท้องแข็งเป็นบางจุดเท่านั้น แบบนี้ไม่มีอะไรอันตรายแน่นอน
ประเภทที่สองคือ ท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัว ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 แบบย่อย ๆ
- มดลูกหดและบีบตัว (ท้องแข็งของแท้) –
โดยปกติแล้วอาการนี้มักพบได้จากคนท้องที่อายุครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 เพราะช่วงนี้ลูกจะดิ้นมากป็นพิเศษและเป็นการกระตุ้นให้บีบมดบีบตัวบ่อยขึ้น แต่ถ้าหากบีบตัวนานและเกิดขึ้นบ่อยมากต่อหนึ่งวัน
และท้องแข็งทั้งหมดไม่มีจุดนิ่ม ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นคืออาการมดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกมดเปิดนั่นแปลว่าคุณแม่อาจจะคลอดก่อนกำหนดได้แม้ว่าจะเป็นครรภ์ 28 สัปดาห์ก็ตาม
- มดลูกหดตัวตามธรรมชาติ –
สาเหตุนี้เป็นอยู่แล้วโดยปกติในคนท้องแก่ซึ่งเริ่มมีอาการนี้เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 บางรายอาจเริ่มรู้สึกเมื่อเข้าเดือนที่ 8 ก็มี เป็นการเกร็งตัวเล็กน้อยของคนที่มีอายุครรภ์มาก แล้วก็จะคลายตามธรรมชาติแบบนี้ไม่อันตราย
ประเภทที่สาม คือ อิ่มจนท้องแข็ง คืออาการจุดเสียดท้องของคุณแม่นั่นเอง คุณแม่จะรู้สึกจุกที่ลิ้นปี่ทุกครั้งหลังเมื่ออาหาร จะพบมากในคุณแม่ที่มีรูปร่างเล็ก และคนท้องที่อายุครรภ์เยอะ ๆ เท่านั้น เพราะท้องมีขนาดใหญ่มากขึ้น
มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เบียดอวัยวะอื่นในร่างกาย แนะนำให้คุณแม่แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ อิ่มท้องแบบไม่จุกเสียด
ดูแลตัวเองยังไงไม่ให้ท้องแข็ง
ไม่กลั้นปัสสาวะ –
เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ นอกจากจะเป็นกระตุ้นอาการท้องแข็งแล้วยังทำให้ กระเพาะปัสสาวะเสี่ยงติดเชื้ออีกด้วย
เคลื่อนไหวช้าลง –
การลุกนั่งแบบปุ้ปปั้บก็จะทำให้เกิดอาการจุกเสียดในท้องได้ รวมถึงการบิดขี้เกียจ ควรทำอย่างระมัดระวัง
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด –
ลดอาการจุกเสียดท้องหลังมื้ออาหาร นอกจากจะแบ่งมื้ออาหารแล้วคุณแม่ต้องค่อย ๆ ทานด้วยนะคะ ระบบย่อยจะได้ทำงานได้ดีมากขึ้น เพื่อไม่เป็นการกระตุ้นอาการท้องแข็ง
งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสุดท้าย –
ในบางท่าอาจะทำให้เกิดอาการท้องแข็ง ขึ้นได้เกิดจากการเกร็งตัวของมดลูก และร่างกาย รวมถึงการสัมผัสจุดที่ไวต่อความรู้สึกก็สามารถทำให้ท้องแข็งขึ้นมาได้ เช่นเต้านม
ลดความเครียด –
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ร่างกายเกร็ง เนื่องจากความตึงเครียดจาดสมองทำให้ร่างกายไม่ผ่อนคลาย รวมไปถึงความเครียดส่งปัญหาต่อการนอนหลับของคุณแม่ด้วย พยายามหาอะไรที่คุณแม่ชอบทำเพื่อคลายความเครียด
อารมณ์ของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์
อารมณ์ของคุณแม่ช่วงนี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงหรือน่ากังวลใจ แต่บางรายมีอาการนอนหลับยากร่วมอาจทำให่ร่างกายอ่อนเพลียพักผ่อนไม่เพียง
ทำให้หงุดหงิดง่าย แต่โดยรวมคุณแม่ยังไม่มีความกังวลใจมากนักในช่วงสัปดาห์ที่ 28 นี้เพราะการคลอดหรือวันกำหนดคลอดยังอยู่อีกไกล
บทสรุปของบทความ
คุณแม่หมดห่วงได้เลยอาการท้องแข็งที่เป็นอยู่เป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอทุกคนเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
แต่ถ้าหากมีอาการบีบท้องนาหลายนาทีและท้องแข็งทั้งท้อง มดลูกบีบตัวบ่อย ๆ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อคุณแม่คลอดก่อนกำหนดขึ้นมาต้องถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด ห้ามรอนะคะ
Write a comment