สำหรับคุณแม่หลาย ๆ คนที่เริ่มเป็นกังวลถึงเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในครรภ์ กำลังนับวันรอให้เขาออกมาลืมตา ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงแค่สองเดือนเท่านั้น สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 7 ร่างกายก็จะเริ่มคุ้นชินกับการเปลี่ยนแปลง
ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าท้องที่ขยายขึ้น พร้อมกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่แต่ละคน ไปจนถึงฮอร์โมนภายในร่างกายที่จะเริ่มคงที่ ไม่มีอาการแปรปรวนเหมือนตอนท้องแรก ๆ ในช่วง 1-3 เดือนอีกต่อไป
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาที่ลูกน้อยจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของร่างกาย ไปจนถึงพัฒนาการข้างใน ประสาทการรับรู้ต่าง ๆ ส่งผลให้คุณแม่ไม่สามารถดูแลเขาเหมือนตอนท้องช่วงแรก ๆ ได้อีกต่อไป
ดังนั้น ช่วง 7-9 เดือนของการตั้งครรภ์ จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่คุณแม่หลาย ๆ คนเริ่มหาอาหารในการบำรุง และดูแลพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ให้มากขึ้น วันนี้เราเลยจะพาคุณแม่มารู้จักกับพัฒนาการของลูกน้อยในวัย 7 เดือน พร้อมทั้งมารู้จักเรื่องที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน
พัฒนาการทารกในครรภ์วัย 7 เดือน
สำหรับทารกในครรภ์ที่ก้าวเข้าสู่วัย 7 เดือนนั้น ทารกจะมีตัวที่โตมากกว่าเดิม โดยน้ำหนักควรจะอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป โดยในช่วงนี้ทารกจะเริ่มรับ และจดจำรสชาติของอาหารได้มากขึ้น
เพราะฉะนั้นการทานอาหารของคุณแม่ในช่วงนี้จะทำให้ ทารกจดจำรสชาติอาหารดังตั้งแต่คลอดจนถึงอายุ 6 เดือนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเริ่มมีการแยกแยะเสียงดนตรี เสียงพูดคุย รวมถึงเสียงของคุณแม่ และเริ่มมีพัฒนาการในการลืมตา หายใจได้เองแล้วอีกด้วย
ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของเดือนที่ 7 ทารกน้อยในครรภ์จะเริ่มมีการหมุนเปลี่ยนท่าให้อยู่ในลักษณะกลับหัวลง เพื่อเตรียมพร้อมกับการคลอดออกมาภายในอีกไม่กี่เดือน อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนนี้ด้วยน้ำหนักที่มากขึ้น
คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าการขยับตัวของลูกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามหากทารกที่การเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลงจนผิดปกติแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ
คุณแม่ท้อง 7 เดือน ทานอะไรดีนะ?
เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 7 อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าลูกน้อยเริ่มมีพัฒนาการในการรับรส และจดจำรสชาติของอาหารแล้ว พร้อมทั้งยังมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้คุณแม่อาจจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้มากถึง 4.5-8 กิโลกรัม
และเนื่องจากอยู่ในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีพัฒนาการ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงแนะนำให้คุณแม่มีการทานอาหารมากขึ้น อาจจะเป็นมื้อเล็ก ๆ 5-6 มื้อต่อวัน ทั้งนี้สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องเข้าสู่เดือนที่ 7 นั้นก็คือ แคลเซียม และโปรตีน พร้อมทั้งควรได้รับ DHA เพื่อบำรุงสมองอย่างน้อย 200 กรัม ต่อวัน
ท้อง 7 เดือนเตรียมตัวอย่างไร
ยิ่งใกล้วันลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก คุณแม่จึงยิ่งจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมให้ดีที่สุด โดยเรื่องสำคัญที่คุณแม่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมก่อนที่ลูกน้อยจะออกมาดูโลกในอีก 2 เดือนข้างหน้า มีดังต่อไปนี้
- วางแผนเรื่องอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมทั้งสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักใบเขียว ที่มีธาตุเหล็กสูง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้เด็กในครรภ์
- คอยสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ตลอดเวลา ทารกแต่ละคนมีไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตในท้องแม่ไม่เหมือนกัน คุณแม่จึงจำเป็นจะต้องคอยสังเกตความเคลื่อนไหว เวลานอน เวลาพักผ่อนของเขาให้ดี หากพบสิ่งผิดปกติให้แจ้งแพทย์โดยทันที
- มาตรงตามนัดตรวจครรภ์สม่ำเสมอ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์เฉพาะทาง
- ศึกษาอาการก่อนคลอด เพื่อให้คุณแม่สามารถทราบถึงสัญญาณของร่างกายที่จะคลอดได้ตลอดเวลา
- คอยพูดคุยกับทารกในครรภ์อยู่สม่ำเสมอ
- วางแผนการคลอดให้เหมาะสม
ท้อง 7 เดือนดูแลยากไหม
เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 7 ทารกในครรภ์เริ่มมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือดูแลสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพบแพทย์อยู่สม่ำเสมอ เพื่อคอยตรวจสอบการเจริญเติบโตของลูกน้อย และป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ให้ลูกน้อยได้ลืมตาออกมาดูโลกอย่างสดใส แข็งแรง
Write a comment