ท้อง 6 เดือนกับการส่งเสริมพัฒนาการลูกในครรภ์ ทำยังไงบ้างนะ?

ท้อง 6 เดือนกับการส่งเสริมพัฒนาการลูกในครรภ์ ทำยังไงบ้างนะ?

สำหรับคุณแม่หลาย ๆ คนที่เมื่อตั้งท้องเข้าเดือนที่ 6 การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเริ่มคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง ทั้งด้านร่างกาย และฮอร์โมน จึงกลายเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะเริ่มหันมาบำรุง ดูแล และเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ เพื่อให้ลูกน้อยมีร่างกายที่แข็งแรง และสดใส

ในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนนั้น ลูกจะเริ่มที่พัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะขนาดตัวที่โตขึ้น การเคลื่อนไหวของทารกในท้องที่บ่อยครั้งขึ้นจนคุณแม่สัมผัสได้ ไปจนถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัว

วันนี้เราเลยจะพาสาว ๆ มารู้จักกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ 6 เดือนว่าเป็นอย่างไร ดูแลอย่างไร กับเทคนิคการดูแลตัวเองของคุณแม่เมื่ออายุครรภ์ครบ 6 เดือน ว่าต้องระวังอะไร ดูแลตัวเองอย่างไร ไปดูกันค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์วัย 6 เดือน

ในช่วงเข้าเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มมีการขยับตัวมากขึ้น จนคุณแม่สัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มเตะ การม้วนตัว ตีลังกาของลูกน้อยในครรภ์ พร้อมกับขนาดตัวที่โตขึ้น โดยทารกในครรภ์วัย 6 เดือน

จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.3 กิโลกรรม พร้อมความสูงประมาณ 28-40 เซนติเมตร และยังมีการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของร่างกายดังต่อไปนี้

ท้อง 6 เดือน

  • เริ่มมีการเตรียมปอดในทารกน้อยในการทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ และเตรียมปอดให้พร้อมทำงานหลังจากการคลอด
  • มีการพัฒนาหูชั้นในให้ได้ยินเสียงจากภายนอก
  • เริ่มมีช่วงเวลาหลับพักผ่อน และช่วงเวลาที่ตื่น
  • เริ่มมีการได้ยินเสียงจากภายนอก
  • มีการเจริญเติบโตของ ปอด ตับและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • เริ่มมีการรับกลิ่นได้ดีมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ตั้งท้องเข้าเดือนที่ 6 นั้น เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ส่งผ่านคลื่นไฟฟ้าไปยังระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็จะเริ่มมีการเคลื่อนย้ายไปในส่วนต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมใช้งานทันทีหลังคลอดทารกออกมา

คุณแม่อายุครรภ์ 6 เดือนทานอะไรดีนะ

ในช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังต้องการสร้างอาหารจำนวนมาก เพื่อให้ในการเสริมสร้างพัฒนาการ และการเจริญเติบโตนั้น ต้องการสารอาหารนานา ชนิด ทั้งนี้สารอาหารที่จำเป็นและขาด ไม่ได้เลยก็คือ อาหารที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ของ DHA อย่างเช่น ปลาประเภทต่าง ๆ

ท้อง 6 เดือน

ทั้งนี้คุณแม่จะต้องทานโปรตีนให้เพียงพอ เพราะกรดอะมิโนในโปรตีน คือสารอาหารส่วนที่สำคัญที่จะเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการสร้างเซลล์ และร่างกายของทารก โดยควรทานสารอาหารดังกล่าวอย่างน้อย 70 กรัมต่อวัน

รวมถึงโปรตีน หรือแคลเซียมที่จะมาช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันที่แข็งแรงให้กับลูกน้อย พร้อมทั้งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ คุณแม่อายุครรภ์ 6 เดือนนั้น จำเป็นจะต้องมีการดื่มน้ำอยู่เป็นประจำ

เพราะการดื่มน้ำจะเป็นตัวช่วยในการลำเลียงอาหารจากคุณแม่สู่ลูกในครรภ์ เพราะฉะนั้น หากคุณแม่มีอาการขาดน้ำ หรืออ่อนเพลีย ก็จะเป็นอันตรายต่อทั้งร่างกายคุณแม่ และทารกในครรภ์

เทคนิดดูแลตัวเองของคุณแม่ อายุครรภ์ 6 เดือน

เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 6 แล้วคุณแม่ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ จำเป็นจะต้องมีการตรวจสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดสภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

คุณหมออาจจะทำการนัดเพื่อตรวจปัสสาวะ เพื่อวัดระดับกลูโคสในร่างกาย โดยคุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานสามารถดูแลตัวเองไม่ให้เป็นกลุ่มเสียง และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้ต่อไปนี้ค่ะ

ท้อง 6 เดือน

  1. ลดอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล ไปจนถึงผลไม้ที่มีรสหวาน หรือน้ำอัดลม
  2. หมั่นสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ หากมีการเคลื่อนไหว หรือดิ้นน้อยลง จะต้องปรึกษาคุณหมอ
  3. พบแพทย์ตามนัดอยู่เป็นประจำ
  4. หากระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอาจจะต้องมีการฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมลำดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์

ทั้งนี้การเกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ หรือการเป็นโรคเบาหวานนั้นอันตรายมากต่อเด็กในท้อง อาจจะก่อให้เกิดอาการผิดปกติในตัวเด็ก เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องหมั่นดูแลตัวเองอยู่เป็นประจำนะคะ

สรุปท้อง 6 เดือนอันตรายไหมนะ

จริง ๆ แล้วช่วงที่อันตรายที่สุดของการตั้งครรภ์คือช่วงไตรมาสแรกก็คือ 1-3 เดือน และช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดก็คือช่วงไตรมาสที่สอง 3-6 เดือน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับลูกน้อยในครรภ์ทั้งสิ้น

คุณแม่จึงจำเป็นจะต้องหมั่นดูแลร่างกายของตัวเอง ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ เพื่อให้ลูกน้อยคลอดออกมาอย่างปลอดภัย มีสุขภาพที่แข็งแรง สดใส ร่าเริงนะคะ

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category