แม้ว่าคุณแม่จะไม่มีปัญหาในเรื่องทารกไม่กลับหัว หรือครรภ์เป็นพิษ และสามารถคลอดตามธรรมชาติได้ แต่อาจจะมีปัญหาหนึ่งที่ทำให้คุณแม่หลายคนกังวลใจได้ คือปัญหาทารกน้อยคลอดติดไหล่
ไม่สามารถคลอดออกได้ง่ายและต้องมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว มาทำความรู้จักกับปัญหา “คลอดติดไหล่” กันค่ะ เพื่อให้คุณแม่ได้รู้แนวทางและการปฏิบัติของแพทย์ รวมทั้งคลายความกังวลใจของคุณแม่ด้วยเช่นกัน
คลอดติดไหล่ คืออะไร
การคลอดติดไหล่ คือภาวะที่ศีรษะของทารกคลอดแล้ว แต่ไหล่ยังไม่คลอดนานมากกว่า 1 นาที หรือจำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ไหล่คลอด ซึ่งเหตุการณี้มีเปอร์เซ็นเกิดขึ้นได้เพียง 0.19-16 เปอร์เซ็น และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะต้องช่วยคลอดอย่างรวดเร็วและถูกต้อง เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่อทารก
การคลอดติดไหล่เป็นภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร็ว เพื่อป้องกันอันตรายต่อทั้งคุณแม่และเด็ก อาการคลอดติดไหล่นี้ เป็นอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา และแพทย์รวมทั้งผู้ช่วยคลอด จะต้องได้รับการฝึกฝนการช่วยทารกคลอดติดไหลจนชำนาญ เพื่อที่เมื่อเกิดขึ้นจริง จะสามารถช่วยได้ทันท่วงที
ลักษณะของการการคลอดติดไหล่
ลักษณะของการคลอดติดไหล่ คือแพทย์ไม่สามารถทำคลอดไหล่ ไม่ว่าจะไหล่หน้าหรือไหล่หลัง หรือไหล่ทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน ด้วยการดึงศีรษะทารกลงล่าง ตามปกติแล้วการทำคลอด เมื่อคลอดศีรษะทารกออกมาแล้ว จะมีกระบวนการช่วยคลอดไหล่เพิ่มอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ หากระยะเวลาระหว่างการการคลอดศีรษะและลำตัวใช้เวลามากกว่า 1 นาที นั่นหมายความว่า กำลังเผชิญกับสถานการณ์คลอดติดไหล่ ซึ่งจำเป็นต้องเร่งมือช่วย
แน่นอนว่า การคลอดที่ผิดปกติไป ย่อมทำให้อาจจะเกิดอันตรายต่อทั้งแม่และเด็ก บางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นพิการ และจะตามมาถึงเรื่องการฟ้องร้องระหว่างกัน ดังนั้น แพทย์จึงต้องมีการฝึกซ้อมในการช่วยเหลือการคลอดติดไหล่อยู่เสมอ ไม่ประมาท เพราะหากผิดพลาดเพียงขั้นตอนเดียว นั่นหมายถึงอันตรายถึงชีวิต
ปัจจัยเสี่ยงการคลอดติดไหล่
ปัจจัยเสี่ยงมากที่สุดที่ทำให้เกิดการคลอดติดไหล่ได้ นั่นก็คือ ทารกตัวโต เพราะเมื่อทารกตัวโตมากเท่าไหร่ น้ำหนักก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ทำให้มีโอกาสคลอดติดไหล่มากขึ้น ซึ่งเฉลี่ยแล้ว เกณฑ์ของทารกที่ตัวโตเกินไปจะอยู่ที่ 3,600 กรัม – 4,000 กรัม
อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการคลอดติดไหล่มากขึ้น ก็คือ คุณแม่เป็นโรคเบาหวาน โดยทารกในกลุ่มนี้จะมีไหล่ที่กว้างกว่าปกติ สัดส่วนระหว่างศีรษะกับไหล่ลดลงเพราะมีไขมันในร่างกายมากกว่าและหนากว่า เมื่อเทียบกับทารกที่คลอดจากครรภ์ของคุณแม่ที่ไม่เป็นเบาหวาน
การใช้เครื่องมือในการช่วยทำคลอดทางช่องคลอด เป็นการบ่งบอกว่าอาจเกิดความล่าช้าในทำคลอดหรือมีการคลอดเองตามธรรมชาติได้ยาก หรืออาจเกิดจากแรงเบ่งของแม่ไม่เพียงพอ หรือมีความผิดปกติระหว่างทารกกับช่องเชิงกราน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการคลอดติดไหล่ได้
การคลอดที่นานเกินไป เป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่าง โดยอาจเกิดจากสัดส่วนของทารกกับช่องเชิงกรานนั้น ไม่สัมพันธ์กัน ทำให้คลอดได้แต่เพียงศีรษะแต่คลอดไหล่ออกมาไม่ได้
คุณแม่อาจจะสงสัยว่า การคลอดที่เร็วเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะคลอดติดไหล่ด้วยหรอ ความจริงแล้ว ทางการแพทย์ได้อธิบายไว้ว่า การคลอดทารกโดยที่ยัไม่มีการหมุนไหล่ให้ไปอยู่ในแนวเอียง จะทำให้เกิดการติดไหล่หลังคลอดศีรษะได้
หากเคยมีประวัติการคลอดติดไหล่ ก็อาจจะมีโอกาสที่จะเกิดการคลอดติดไหล่ซํ้า
เช่น คุณแม่อ้วนเกินไป หรือคุณแม่มีอายุมาก ตั้งครรภ์เกินกำหนด การเร่งคลอด เป็นต้น
ขั้นตอนช่วยเหลือเมื่อคลอดติดไหล่
ขั้นตอนช่วยคลอดเมื่อศีรษะทารกคลอดแล้วไม่สามารถดึงให้ไหล่หน้าคลอดได้ตามปกติควรปฏิบัติดังนี้24,25
1.ตั้งสติและเรียกกุมารแพทย์และวิสัญญีแพทย์
แพทย์และผู้ช่วยจะต้องไม่ร้อนรน และสงบสติ เพราะการตื่นตระหนกจะทำให้เผลอออกแรงมากไป ซึ่งส่งผลต่อเส้นประสาทต่าง ๆ ได้ เมื่อตั้งสติได้แล้ว ก็ให้รีบขอความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์ หรือหากหากมีความพร้อมควรตามกุมารแพทย์และวิสัญญีแพทย์ด้วย
2. สวนปัสสาวะทิ้ง
3. ควรตัดบริเวณฝีเย็บ ให้กว้างมากขึ้น ฉีดยาชาให้เพียงพอ
4. ใช้ลูกยางแดง ดูดเมือกในปากและจมูกทารก
5. โดยให้ผู้ช่วย 2 คนยกขา แล้วงอช่วงสะโพกขึ้นมาจนชิดหน้าท้อง ผู้ทำคลอดดึงศีรษะทารกลงล่างเพื่อให้ไหล่หน้าคลอดโดย
6.ให้ผู้ช่วยใช้กำปั้นกดลงบริเวณเหนือหัวหน่าวตรงๆ หรืออาจผลักไหล่หน้าพร้อมๆ กับแพทย์ผู้ทำคลอดดึงศีรษะทารกลงล่าง แต่ห้ามให้ผู้ช่วยกดบริเวณยอดมดลูกเด็ดขาดเพราะจะทำ ให้ไหล่หน้ายิ่งเข้าไปติดแน่นมากขึ้นและอาจเกิดมดลูกแตกได้
7. หากวิธีข้างต้นที่กล่าวมาไม่สำเร็จ ใช้มือผู้ทำคลอดใส่ไปด้านหลังของไหล่หลังทารก แล้วผลักไหล่หลังไปด้านหน้า180องศา ให้ไหล่หน้าที่ติดอยู่ถูกหมุนเปลี่ยนมาคลอดออกทางด้านหลังได้
8. ใช้มือกดด้านหลังของไหล่หน้าทารกมาด้านหน้า ไหล่หน้าก็จะหลุดออกมา
9. หากยังไม่สำเร็จ ให้คลอดแขนหลังก่อน คุณแม่ต้องดมยาสลบ จากนั้น สวมถุงมือยาวสอดมือเข้าไปกดบริเวณข้อพับแขนของแขนหลัง แล้วงอข้อพับแล้วจับข้อมือของทารกดึงผ่านหน้าอกในแนวเฉียงให้ไหล่หลังหมุนและดึงแขนออกมาทางด้านข้างของหน้า เมื่อไหล่หลังคลอดไหล่หน้าก็จะคลอดตามมา
10. ในกรณีทำมาหลายวิธียังไม่สำเร็จ และผู้คลอดสามารถให้ความร่วมมือ ให้ผู้คลอดอยู่ในท่ามือ2ข้าง ยันพื้น และคุกเข่า2ข้าง ผู้ทำคลอดดึงศีรษะของทารกลงล่างเพื่อทำคลอดไหล่หลังก่อน พร้อมกับให้คุณแม่เบ่ง
11. ถ้ายังไม่สำเร็จ ขั้นตอนต่อไปคือหักกระดูกไหปลาร้า โดยใช้นิ้วกดกระดูกใกล้หัวไหล่ เข้าไปหากระดูก pubic rami ของมารดา หักเส้นผ่าศูนย์กลางของไหล่จะลดลงทำ ให้คลอดไหล่ออกมาได้
12. วิธีอื่นๆ ที่มีกล่าวถึงแต่ค่อนข้างยาก คือจับศีรษะทารกให้ก้มแล้วดันศีรษะทารกเข้าไปมดลูกคืนแล้วนำ ไปผ่าท้องคลอด ซึ่งทำ ได้ค่อนข้างยาก และวิธีที่ควรใช้เป็นวิธีสุดท้าย คือตัดแยกกระดูกซึ่งนี้ค่อนข้างยากและใช้เวลานาน ทารกมักเสียชีวิต ก่อนที่จะทำสำเร็จ
ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดติดไหล่
1. มดลูกแตก
2. มดลูกหดรัดตัวไม่ดีทำให้ตกเลือดหลังคลอด
3. ช่องทางคลอดฉีกขาด ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด
4. มีโอกาสติดเชื้อได้สูง
1. ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมาก ซึ่งเนื่องจากมีการดึงหรือกดศีรษะทารกลงด้านข้างมากกว่าปกติ ทำ ให้เส้นประสาทถูกยืดจนบางครั้งอาจถึงขาดได้ ลักษณะที่พบคือ มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อไหล่ แขนข้างนั้นจะห้อยลง ทารกจะยกไหล่และแขนด้านนั้นไม่ได้
หากเส้นประสาทไม่ถึงกับขาด ส่วนใหญ่จะหายเองได้ภายใน 1 ปี แต่หากเส้นประสาทถูกทำลายอย่างรุนแรง จะทำให้แขนและมือเหมือนอยู่ในท่าแบมือขอเงินตลอดเวลา มีลักษณะอ่อนแรง
2. สมองขาดออกซิเจน เป็นภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ทารกจะมีพัฒนาการทางสมองผิดปกติ กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน เนื่องจากมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อบางมัด อาจมีการชักบ่อยๆจึงมีผลต่อสมอง
3. กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกแขนหักมักหายเองได้
4. เสียชีวิต ในกรณีที่ติดไหล่นาน ช่วยไม่ทันเวลา ทารกเสียชีวิตได้
การป้องกันการเกิดภาวะคลอดติดไหล่
แม้ว่าจะมีงานวิจัยมากมายที่พยายามจะหาวิธีเพื่อประเมินภาวะคลอดติดไหล่ ทั้ง คาดคะเนจากนํ้าหนัก การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทั้งแบบ 2 มิติ และ3 มิติ แต่วิธีเหล่านี้ก็มักคลาดเคลื่อน ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว การคลอดติดไหล่จึงไม่สามารถคาดเดาได้ก่อนอย่างแม่นยำ
สรุป
จากความรู้เรื่องการคลอดติดไหล คุณแม่พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยคะว่า คุณแม่หรือทารกแบบไหน ที่มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดการคลอดติดไหลได้บ้าง หากคุณแม่มีความเสี่ยง ก็ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ทน หรือแพทย์เองก็จะได้เตรียมพร้อมหากคุณแม่เกิดคลอดติดไหล่ เพื่อช่วยเหลือทารกได้ทันท่วงที และปลอดภัยทั้งคุณแม่และเด็กด้วยค่ะ
Write a comment