สำหรับสาว ๆ หรือคุณแม่มือใหม่ ที่เพิ่งเคยตั้งครรภ์เป็นท้องแรก มักจะมีความกังวลใจต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึงอาการที่เสียงจะก่อให้เกิดการแท้ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ เรียกได้ว่าเป็นช่วงระยะที่อ่อนไหว และอันตรายที่สุด จากการเก็บข้อมูล เรียกได้ว่าสาเหตุของการแท้งของคุณแม่ส่วนใหญ่เกิดในช่วง 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์สูงถึง 80%
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพ้นช่วงระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไปแล้ว คุณแม่ก็ยังจำเป็นจะต้องมีการสังเกต และคอยตรวจสอบอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในท้อง วันนี้เราเลยจะพาคุณแม่ท้อง 4 เดือนมาตรวจเช็คกันค่ะ ว่าการตั้งครรภ์เข้าเดือนที่ 4 นั้น ร่างกายคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ปัญหาสุขภาพอะไรที่คุณแม่ต้องเผชิญ และต้องดูแลตัวเองอย่างไร เรามาดูกันเลย
ร่างกายคุณแม่ท้อง 4 เดือน
สำหรับคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 4 นั้น หน้าท้องจะเริ่มขยายออกและโตอย่างเห็นได้ชัด เพราะมดลูกจะเริ่มลอยสูงขึ้นจากบริเวณเชิงกรานเข้าสู่ช่องท้อง
สามารถมองเห็นเส้นดำกลางหน้าท้องได้ นอกจากนี้ยังเริ่มมีอาการเจ็บบริเวณหัวนม หัวนมเริ่มดำคล้ำ และมองเห็นเส้นเลือดสีดำที่ดูเป็นริ้วสีเขียวได้ชัด ในช่วงเดือนที่ 4 นี้ คุณแม่จะต้องวางแผนเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว 1.5-2 กิโลกรัม เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดี
ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ท้อง 4 เดือนมีอะไรบ้างนะ
โดยช่วงระยะเวลาที่คุณแม่ท้อง 4 เดือนนั้น จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เข้ามา อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่ว่าจะเป็น ตะคริว เส้นเลือดขอด หรืออาการริดสีดวงทวาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณแม่ต้องพึงระวัง ดังต่อไปนี้ค่ะ
- ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนต้องเผชิญ โดยมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป
หรืออาการท้องอืด ท้องผูก เป็นต้น เพราะฉะนั้นคุณแม่จำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ และการทานอาหาร เพื่อลดอาการต่าง ๆ ไปจนถึงป้องกันปัญหาท้องผูกในระยะยาวอีกด้วย
- ปัญหาตามผิวหนัง
คุณแม่ท้อง 4 เดือนมักจะมีปัญหาตามผิวหนังมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจุดด่างดำ หรือฝ้าบนใบหน้า ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการดูแล และบำรุงผิวหน้าอยู่สม่ำเสมอ ทาครีมกันแดดอยู่เป็นประจำนอกจากนี้ยังจะมีปัญหา คันตามผิวหนัง บริเวณหน้าท้อง มือ และเท้า รวมถึงผิวแตกลาย อันเนื่องมาจากการขยายออกของบริเวณหน้าท้อง คุณแม่สามารถแก้ไข้ได้โดยหมั่นทาครีม ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหน้า และผิวกายอยู่เป็นประจำ
แต่ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้จะต้องผ่านการรับรองจากแพทย์ว่าสามารถใช้ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์
- ปัญหาปวดเมื่อยตามร่างกาย
ปัญหาปวดเมื่อตามร่างกายของคุณแม่ท้องช่วง 4 เดือนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณแผ่นหลัง ขาหนีบ หรือต้นขา รวมไปถึงอาการปวดร้าวลงขาที่เกิดจากครรภ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จนมีการไปกดทับเส้นประสาท ก่อให้เกิดอาการปวดตั้งแต่บริเวณสะโพกยาวลงมาถึงขา โดยอาการปวดต่าง ๆ ตามร่างกายคุณแม่สามารถบรรเทาอาการด้วยการนวด ประคบร้อน หรือประคบเย็น และนอนตะแคง
โดยใช้หมอนรองระหว่างหัวเข่า จนถึงข้อเท้า จะช่วยแก้ปัญหาปวดเมื่อยตามร่างกาย และปวดร้าวบริเวณขาได้เป็นอย่างดี
เคล็ดลับการดูแลสุขภาพของคุณแม่ท้อง 4 เดือน
- พบแพทย์ตามนัดฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อคอยตรวจเช็คร่างกาย ตรวจเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงตรวจสุขภาพ และพัฒนาการของลูกน้อยของเราอีกด้วยค่ะ - สวมรองเท้าเพื่อสุขภาพ
ด้วยการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และการขยายออกของหน้าท้อง ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเรามีการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นคุณแม่จำเป็นจะต้องเลือกรองเท้าส้นเตี้ย ที่สามารถรองรับน้ำหนัก และรักษาข้อเท้าของเราได้เป็นอย่างดี - เลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่เต็มไปด้วย แคลเซียม โปรตีน ธาตุเหล็ก ต่าง ๆ ผัก ผลไม้ และนม โดยคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวางแผนรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย และทารกในครรภ์ - หาเวลาใช้บริการนวด
เพื่อผ่อนคลายร่างกาย และอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ โดยอาจจะเลือกโปรแกรมนวดสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการนวดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์
ท้อง 4 เดือนดูแลยากไหม
ถึงแม้ว่าเราจะผ่านช่วงที่เสี่ยงที่สุดของการตั้งครรภ์มาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าเดือนที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และฮอร์โมนต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตของคุณแม่ไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเข้าเดือนที่ 4 ก็ยังต้องคอยดูแลเป็นพิเศษ ทั้งตัวคุณแม่ และคนรอบข้าง เพื่อให้ลูกในท้องมีพัฒนาการที่ดี และสุขภาพแข็งแรงนะคะ
Write a comment