บทความเดียวตอบครบ #19 ข้อจบทุกคำถาม 「ตั้งครรภ์ 6 เดือน」ต้องรู้อะไรบ้าง ห้ามพลาด!

บทความเดียวตอบครบ #19 ข้อจบทุกคำถาม 「ตั้งครรภ์ 6 เดือน」ต้องรู้อะไรบ้าง ห้ามพลาด!
ตั้ง ครรภ์ 6 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

ยินดีกับคุณแม่ทุกท่านที่ตั้งครรภ์มาถึง 6 เดือนแล้วนะคะ เรียกได้ว่ามากันเกินครึ่งทางอย่างแท้จริง หากลองนับนิ้วเล่นๆก็ไม่เกินสามนิ้วที่จะได้พบหน้าลูกน้อยที่รอคอยมานานกันแล้ว

สิ่งที่คุณแม่อยากรู้ที่สุดในตอนนี้คงหนีไม่พ้นพัฒนาการของลูกช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนคลอด ไหนจะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตนเองและคงมีอีกหลายท่านที่อยากได้คำแนะนำดีๆ บทความนี้จะไม่ทำให้ท่านผิดหวังอย่างแน่นอน ไปเริ่มกันเลยค่ะ

#11 พัฒนาการสำคัญของลูกน้อยเมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ 6 เดือน

1. ในช่วง 23 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกน้อยมีการขยับตัวที่สามารถสังเกตได้ ขยับรุนแรงขึ้น

2. ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 จะมีการพัฒนาสำคัญในเรื่องของปอด เช่น การเตรียมปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สและเริ่มสร้างสารลดแรงตึงผิวเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ปอดทำงานได้ดียิ่งขึ้นหลังคลอด

3. ไม่เพียงเท่านั้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24 การพัฒนาการในส่วนของหูชั้นในเป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว

4. ในช่วงสัปดาห์ที่ 25 ลูกน้อยจะไม่ตื่นและนอนโดยคาดเอาไม่ได้อีกต่อไปแต่จะมีช่วงเวลานอนและช่วงเวลาตื่นอย่างชัดเจน

5. และในสัปดาห์ที่ 25 นี้ลูกน้อยสามารถได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์ ได้ยินเสียงของแม่และเสียงอื่นๆเนื่องจากหูพัฒนาเต็มที่

6. ในช่วงสัปดาห์ที่ 26 ดวงตาของลูกน้อยใกล้จะลืมขึ้น

7. เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ 26 การสร้างไขมันสะสมใต้ชั้นผิวหนังยังน้อยทำให้ลักษณะเด่นก็คือ ผิวหนังยังคงมีรอยย่น

8. ในช่วงนี้น้ำหนักของลูกจะเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มขึ้นไปจนถึงเวลาคลอด คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูก

9. ในช่วงสัปดาห์ที่ 27 ลักษณะภายนอกของลูกเริ่มคล้ายคลึงกับทารกที่คุณแม่เคยเห็นแล้ว

10. ระบบภูมิคุ้มกันของปอดและตับกำลังพัฒนา ในบางรายมีอาการคลอดก่อนกำหนดในช่วงเดือนนี้แต่เรียกได้ว่ามีโอกาสรอดสูงมากเนื่องจากอวัยวะหลายอย่างพัฒนาแล้ว

11. แน่นอนว่าในช่วงตั้งครรภ์ 6 เดือนลูกน้อยเริ่มจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้วนะคะ

 

  • ความยาวตัวทารกตั้งหัวจรดเท่าประมาณ 33 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600 กรัม
  • ตามร่างกายมีขนอ่อนปกคลุมมากขึ้น และเปลือกตาเริ่มเปิดออกได้แล้ว
  • ปอดเริ่มทำงานได้ แต่หลอดลมของปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ลูกในท้องเริ่มไวต่อคลื่นเสียงความถี่สูง ๆ และจะเคลื่อนตัวตามจังหวะเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ได้ การที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับทารกเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทารกสามารถจดจำเสียงได้ ยิ่งพูดคุยด้วยบ่อย ๆ ก็จะยิ่งดี

รักลูก ติดตามฉบับเต็มต่อได้ที่เว็บไซต์Rukluke

 

#4 การเปลี่ยนแปลงและข้อควรระวังของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ 6 เดือน

1. ในช่วงนี้คุณแม่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ การอักเสบหรือการติดเกิดเชื้อรา สิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญมากๆนั่นคือ เรื่องของอาหารการกินและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผดุงครรภ์

2. ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกปวดแถวซี่โครง ไม่เพียงแค่นั้นยังอาจมีอาการของกรดไหลย้อน เนื่องจากขนาดของครรภ์ใหญ่ขึ้นทำให้เกิดการกดทับบริเวณกระเพาะอาหาร

3. ในช่วงนี้จะรู้สึกเสียดท้องน้อยเมื่อขยับตัว เนื่องจากมดลูกเกิดการหดตัวและเกิดการเกร็งกว่าปกติ

4. คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และที่สำคัญความเข้าใจผิดของหลายท่านคือ การที่ยิ่งท้องใหญ่แปลว่าลูกแข็งแรง อยากบอกว่าไม่เกี่ยวกันเลยค่ะ คุณแม่ท่านไหนที่ตัวเล็ก ท้องเล็ก ไม่ต้องกังวลไปนะคะ

ตั้ง ครรภ์ 6 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

#4 เคล็ดไม่ลับที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนควรรู้

1. ในช่วงการตั้งครรภ์ 6 เดือน ภาวะที่คุณแม่อาจเสี่ยงได้นั่นคือ ภาวะเบาหวาน ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเยอะ เช่น น้ำอัดลม หรือแม้แต่ผลไม้ที่มีรสชาติหวานเกินไปก็ต้องระวังนะคะ

2. อย่าลืมที่จะไปพบแพทย์ตามนัดโดยเด็ดขาด เนื่องจากครรภ์ใกล้คลอดถือว่ามีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแท้งคุกคาม ภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือแม้แต่เรื่องพัฒนาการของลูก ดังนั้นคุณแม่ต้องใส่ใจกับเรื่องนัดผดุงครรภ์มากๆ

3. ในช่วงนี้ลูกน้อยจะมีการดิ้นและเริ่มดิ้นแรง คุณแม่จึงควรใส่ใจในการดิ้นของลูก เพราะถ้าหากลูกเริ่มดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลย นั่นอาจหมายถึงความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที

4. ในคุณแม่บางรายที่มีน้ำตาลสูง คุณหมออาจสั่งให้มีการฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล คุณแม่ท่านใดที่กลัวเข็ม ต้องดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่เนิ่นๆนะคะ

 

อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนควรรับประทาน

  • แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว
  • กากใย การกินอาหารที่มีกากใยสูงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ นอกจากจะช่วยป้องกันท้องผูกหรือริดสีดวงทวารแล้ว ยังลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้

รักลูก ติดตามฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์Rukluke

 

บทสรุป ตั้งครรภ์ 6 เดือน

ตั้ง ครรภ์ 6 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

นำมาครบเลยทั้งเทคนิค ทั้งข้อควรระวังที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนต้องรู้ ไม่เพียงแค่นั้นยังแนะนำคุณแม่ถึงเรื่องภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเดินทางมาถึงเกือบไตรมาสสุดท้ายนี้ เรื่องพัฒนาการและการสังเกตการดิ้นของลูกเองก็สำคัญมาก

คุณแม่หลายท่านคงเตรียมตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะถึงแล้ว แต่ก็คงมีอีกหลายท่านเช่นกันที่ยังต้องการกำลังใจอยู่ เพราะแบบนั้นช่วงนี้ต้องให้กำลังใจกันเยอะๆนะคะ

 

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category