คุณแม่หลายคน อาจจะมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด และอยากทราบใช่ไหมคะว่า การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร และทำไมคุณแม่บางคนถึงได้คลอดก่อนกำหนด วันนี้ เราได้รวบรวมคำตอบมาบอกคุณแม่แล้ว ไปดูกันค่ะ
การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร
การคลอดก่อนกำหนด คือการคลอดทารกก่อนวันครบกำหนดจริง ซึ่งส่วนใหญ่ การคลอดก่อนกำหนด จะอยู่ที่ประมาณ 3 สัปดาห์ก่อนถึงวันกำหนด และอยู่ที่ประมาณ ก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของลูกน้อยในครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด ค่อนข้างที่จะมีความเสี่ยงกับทารกน้อย เนื่องจากอวัยวะบางส่วนอาจจะยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีภาวะเสี่ยงกว่าทารกในครรภ์ของคุณแม่ที่คลอดตามกำหนด แต่คุณแม่หลายท่านก็อย่าเพิ่งกังวลใจไป
วันนี้ เรามาทำความรู้จักกักการคลอดก่อนกำหนดกันเถอะว่า สาเหตุุของการคลอดก่อนกำหนดคืออะไร และคุณแม่ประเภทไหนบ้างที่เข้าข่ายการครรภ์ที่ต้องคลอดก่อนกำหนด
ระยะการคลอดก่อนกำหนด
ปกติแล้ว ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทั่วไป จะเริ่มคลอดทารกน้อยเมื่อย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 37-40 เพราะถ้าคลอดก่อนหน้านั้น อวัยวะบางส่วนของทารกบางส่วน อาจจะยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ปอดอาจจะยังไม่แข็งแรงพอ และยังไม่สามารถหายใจได้เอง ตัวก็ยังเล็กอยู่ และมีความจำเป็นต้องอยู่ในตู้อบ เหล่านี้ ก็อาจส่งผลให้เมื่อโตขึ้น ร่างกายอาจจะไม่แข็งแรง
ระยะในการคลอดก่อนกำหนด แบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้
- คลอดก่อนกำหนด ระหว่าง 34 ถึง 36 สัปดาห์
2. คลอดก่อนกำหนด ระหว่าง 32 ถึง 34 สัปดาห์
3. คลอดก่อนกำหนด ในครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์
4. คลอดก่อนกำหนด ก่อน 25 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
คุณแม่แบบไหนเข้าข่ายโอกาส “คลอดก่อนกำหนด”
คุณแม่ที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว และมีประวัติว่าการคลอดครั้งก่อนเป็นการคลอดก่อนกำหนด เป็นไปได้ว่ารอบนี้ ก็อาจจะมีการคลอดก่อนกำหนดได้อีก ดังนั้น หากรู้ว่าตัวเองเคยคลอดก่อนกำหนด ก็ควรปรึกษาแพทย์ และบอกแพทย์เพื่อจะได้ดูแลเรื่องการคลอดก่อนกำหนดของคุณแม่เป็นพิเศษ
ไม่ว่าจะคุณจะเคยเป็นเด็กที่เกิดก่อนกำหนดจากคุณแม่ หรือพี่น้องของคุณ ก็เกิดกำหนดเช่นกัน เหล่านี้ ล้วนมีผลทำให้คุณอาจจะเป็นคุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนดได้
ปกติแล้วในการตั้งครรภ์ มดลูกจะบีบตัวเป็นพัก ๆ อยู่แล้ว แต่ในกรณีนี้ หากคุณแม่มีความรู้สึกว่า มดลูกบีบตัวถี่ และมีการบีบตัวของมดลูกทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง ต้องรีบพบแพทย์ทันที
หากคุณแม่พบว่ามีมูกเลือดออกจากช่องคลอด นั่นหมายความว่า ปากมดลูกของคุณแม่อาจเปิด คุณแม่จึงควรเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจดูว่า ปากมดลูกสั้นหรือไม่ หรือปากมดลูกเปิดกี่เซนติเมตรแล้ว
การมีน้ำออกจากช่องคลอด มีได้ 2 กรณี คือ
- น้ำเดิน จะมีลักษณะเหมือนน้ำปัสสวะ คุณแม่จะรู้สึกว่าน้ำไหลไม่หยุด มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่ออกมาแปบเดียวแล้วหยุดไป แต่ถ้าไม่ชัวร์ว่าใช่น้ำเดินหรือไม่ ก็ควรพบแพทย์
- ตกขาว อีกกรณีหนึ่งก็คือ คุณแม่อาจจะเป็นตกขาว แต่หากไม่แน่ใจว่าคืออะไร ก็ต้องรีบแพบแพทย์เช่นกัน
เป็นเรื่องปกติของคุณแม่วัยตั้งครรภ์เช่นกัน ที่มือเท้าอาจจะบวมได้ แต่หากคุณแม่มีอาการตัวบวมทั้งตัว น้ำหนักขึ้นเรว จุกลิ้นปี่ ความดันสูง ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าอาการเหล่านี้คืออาการ “ครรภ์เป็นพิษ” ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องพบแพทย์อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นอาการที่ค่อนข้างอันตรายมาก ทั้งต่อตัวแม่และลูกเอง
ความดันที่ขึ้นสูงมาก ก็อาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ดังนั้น หากพบอาการข้างต้นเหล่านี้ ควรเข้าพบแพทย์ ให้แพทย์เฝ้าสังเกตอาการทันที
ในการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องหมั่นตรวจดูว่าใน 1 วัน ลูกน้อยดิ้นถึง 10 ครั้งหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้ว ลูกน้อยจะดิ้นอย่างน้อย 10 ครั้งต่อวัน และจะเริ่มดิ้นในช่วงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์
การดิ้นของลูกน้อยในท้อง บ่งบอกความแข็งแรง ยิ่งดิ้นเยอะ ก็ยิ่งข็งแรง แต่หากลูกน้อยในครรภ์ ดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 10-12 ชั่วโมง ก็ควรรีบพบแพทย์ เพราะการดิ้นน้อย มีหลายสาเหตุ อาจจะอันตรายต่อลูกในครรภ์และคุณแม่ได้
วิธีลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด
- ลดการมีเพศสัมพัน
2. พักผ่อนเพียงพอ
3. ไม่ควรทำงานหนัก
4. ไปตามที่หมอนัดทุกครั้งในการตรวจครรภ์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด
1.การติดเชื้อบางอย่างโดยในน้ำคร่ำและระบบสืบพันธุ์ส่วนล่าง
2.ภาวะเรื้อรังบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง และ เบาหวาน
3.สูบบุหรี่หรือใช้ยาผิดกฎหมาย
4.มีน้ำหนักน้อยหรือมีน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์
5.เหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้เครียด เช่น การเสียชีวิตของคนที่คุณรัก หรือ ความรุนแรงในครอบครัว
6.การแท้งบุตรหรือการแท้งหลายครั้ง
7.การบาดเจ็บทางร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นจากการคลอดก่อนกำหนด
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาในการหายใจเนื่องจากระบบทางเดินหายใจและปอดยังไม่พัฒนาเต็มที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก เนื่องจากปอดไม่สามารถขยายและหดตัวได้ตามปกติ
และเป็นไปได้ว่าอาจเกิดความผิดปกติของปอดที่เรียกว่า dysplasia ของหลอดลมและปอด บางรายอาจหยุดหายใจเป็นเวลานานหรือที่เรียกว่าภาวะหยุดหายใจ
ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่พบบ่อยที่สุดของทารกที่คลอดก่อนกำหนด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (PDA) และความดันโลหิตต่ำ (ความดันเลือดต่ำ)
PDA คือ หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดแดงในปอด ซึ่งจะปิดได้เองหลังจากทารกน้อยคลอดออกมาใน 72 ชั่วโมง แต่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจจะปิดช้า
หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น
ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงของการมีเลือดออกในสมองมากขึ้นเท่านั้น หรือที่เรียกว่าภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ซึ่งอาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและรักษาได้ โดยอาจจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากทารกบางคนมีเลือดออกในสมองมาก ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้
ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวจากการคลอดก่อนกำหนด
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจเป็นอัมพาตทางสมอง หรือมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอ รวมทั้ง อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่สมองของทารกแรก
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป โดยอาจมีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งไม่ใช่ความบกพร่องทางสติ แต่เป็นความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน และคำนวณ
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด อาจเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งเป็นความผิดปรกติของเส้นเลือดที่จอประสาทตา โดยมีตั้งแต่ภาวะที่ไม่รุงแรง ที่ไม่มีผลต่อการมองเห็น จนถึงรุนแรงมาก ซึ่งอาจนำไปสู่การตาบอดได้
สรุป
การคลอดก่อนกำหนด ค่อนข้างที่จะมีความเสี่ยงต่อตัวทารกน้อย เนื่องจากยังไม่ได้รับการพัฒนาที่เต็มที่ ดังนั้น คุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
แต่ถ้าหากคุณแม่เข้าข่ายผู้ที่อาจจะมีโอกาสในการคลอดก่อนกำหนด ก็ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เพื่อที่แพทย์จะได้หาทางช่วยได้ทัน
Write a comment