วันนี้แม่รับบทเปิดคลาสอีกแล้วค่ะ 55555 จริงๆเรื่องนี้มันก็ค่อยข้างลึกนิดนึง ส่วนใหญ่ต้องเฉพาะคุณหมอที่ดูแลด้านสตรีและบุตรโดยเฉพาะที่จะทราบเรื่องนี้กันค่ะ แต่สำหรับคุณแม่สายเนิร์ดเหมือนแอดมิน มาจ้ะ จะคลอดทั้งที เอาให้สุดทางค่ะ วันนี้แม่จะมาเปิดคลาส “กลไกการคลอด 8 ขั้นตอน” กันค่ะ
- 1. กลไกการคลอด คืออะไร?
- 2. แล้วขั้นตอนของกลไกการคลอดมีอะไรบ้าง?
- 2.1. ขั้นตอนที่ 1 – Engagement คือ การที่ร่างกายทารกค่อยๆเคลื่อนตัวลงสู่เชิงกราน
- 2.2. ขั้นตอนที่ 2 – Flexion คือ การก้มของศีรษะ
- 2.3. ขั้นตอนที่ 3 – Descent คือ การเคลื่อนต่ำของทารก
- 2.4. ขั้นตอนที่ 4 – Internal Rotation คือ การหมุนภายในไปข้างหน้า
- 2.5. ขั้นตอนที่ 5 – Extension คือ การคลอดของหัวทารกโดยการเงยหน้า
- 2.6. ขั้นตอนที่ 6 – Restitution คือ การหมุนท้ายทอยมาอยู่ตรงด้านหลัง
- 2.7. ขั้นตอนที่ 7 – External Rotation คือ การหมุนภายนอกของศีรษะตามไหล่ที่หมุนภายใน
- 2.8. ขั้นตอนที่ 8 – Expulsion คือ การคลอดของไหล่ ลำตัว และ แขนขา
- 3. สรุปกลไกการคลอด 8 ขั้นตอน
กลไกการคลอด คืออะไร?
กลไกการคลอดก็คือ วิธีการที่ทารกพร้อมจะออกมาสู่โลกภายนอกแล้วนั่นเองค่ะ ซึ่งทารกน้อยของเราเมื่ออายุครรภ์ถึงกำหนดทารกจะกลับหัว เพื่อเตรียมออกสู่โลกภายนอกกันค่ะ
แล้วขั้นตอนของกลไกการคลอดมีอะไรบ้าง?
ขั้นตอนที่ 1 – Engagement คือ การที่ร่างกายทารกค่อยๆเคลื่อนตัวลงสู่เชิงกราน
การที่ส่วนกว้างที่สุดของหัวทารกเราเตรียมผ่านช่องเชิงกรานของคุณแม่เพื่อออกมาสู่โลกภายนอกนั่นเองค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนนี้มักจะเกิดขึ้นในระยะ 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ค่ะ
การประเมินว่าเกิด Engagement แล้วประเมินได้จากอะไรบ้าง?
1. คุณแม่รู้สึกท้องต่ำลงและฉี่บ่อยมากขึ้น
2. จากการตรวจหน้าท้อง (Ultrasound)
3. จากการตรวจทางช่องคลอดหรือทวารหนัก ถ้าหัวทารกลงมาอยู่ระดับใกล้มดลูก แสดงว่า Engage แล้ว
ขั้นตอนที่ 2 – Flexion คือ การก้มของศีรษะ
ซึ่งคือขั้นตอนที่หัวของทารก อยู่ในลักษณะก้มหน้าเพื่อเตรียมมุดลึกลงมาในเชิงกรานนั่นเองค่ะ
องค์ประกอบที่ช่วยให้เกิด Flexion คือ
1. กดหดตัวของมดลูกจะส่งผลให้เกิดแรงดันไปสู่ตัวทารกให้เคลื่อนต่ำลงมา
2. ลักษณะของช่องเชิงกราน ที่ตรงส่วนทางคลอดมีความลาดลงมาด้านหลังซึ่งจะทำให้ทารกน้อยก้มหัวมากขึ้น เพื่อเตรียมออกสู่โลกภายนอกได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 – Descent คือ การเคลื่อนต่ำของทารก
ก็คือเหตุการณ์ที่ทารกค่อยๆเคลื่อนต่ำลงเพื่อออกสู่มดลูกนั่นเองค่ะ
ซึ่งการตรวจว่าทารกในครรภ์มี descent หรือยังสามารถตรวจได้จาก
1. คลำทางหน้าท้อง จะพบว่าส่วนหัวของทารกอยู่ต่ำลงมาเรื่อยๆ
2. การฟังเสียงเต้นของหัวใจของทารก ตำแหน่งที่ใช้ในการฟังจะเลื่อนต่ำลงมาเรื่อยๆ จากการฟังครั้งแรก
3. การตรวจทางช่องคลอดหาระดับของมดลูก
4. จากการสังเกตด้วยตา เช่น บริเวณช่องคลอดหรือทวารหนักโป่งออก
5. ความรู้สึกของคุณแม่ ที่จะรู้สึกเจ็บเหมือนมีอะไรมากดบริเวณทวารหนักหรือ มีอาการคล้ายปวดอึ
ขั้นตอนที่ 4 – Internal Rotation คือ การหมุนภายในไปข้างหน้า
หรือง่ายๆก็คือ เมื่อหัวของทารกลงไปถึงเชิงกรานแล้วจะไม่สามารถเคลื่อนต่ำกว่านี้ได้ ดังนั้น จะต้องหมุนหัวให้ท้ายทอยอยู่ใต้กระดูกหัวหน่าวของคุณแม่ เพื่อให้ง่ายต่อการดันหัวออกมาจากช่องคลอดนั่นเอง
การตรวจว่ามี Internal Rotation หรือยัง
สามารถตรวจได้ทางช่องคลอด โดยการคลำดูรอยต่อแสกกลางของหัวทารก ถ้ายังไม่มี Internal Rotation หัวของทารกจะอยู่ในแนวขวางหรือแนวเฉียง ทำให้ยังไม่สามารถออกมาได้
ขั้นตอนที่ 5 – Extension คือ การคลอดของหัวทารกโดยการเงยหน้า
น้องใกล้จะออกมาดูโลกแล้วค่ะ ขั้นตอนนี้ก็คือ หัวของทารกจะค่อยๆเงยหน้าขึ้น ทำให้ปากช่องคลอดยืดขยายมากที่สุด เรียกภาษาบ้านๆชาวเรา ก็ หัวเด็กโผล่มาแล้วค่า
ขั้นตอนที่ 6 – Restitution คือ การหมุนท้ายทอยมาอยู่ตรงด้านหลัง
คือเมื่อหัวของทารกได้หลุดออกมาจากเชิงกรานแล้ว จากที่เป็นลักษณะตัวคว่ำหน้าเงยขึ้นมา จนหน้าเงยออกมาได้แล้วนั้น หัวของทารกจะบิดกลับไปในท่าทางตามธรรมชาติของเขา ก็คือ อยู่ในแนวตั้งฉากกับไหล่ หรือท้ายทอย ไม่เงยหน้า
ขั้นตอนที่ 7 – External Rotation คือ การหมุนภายนอกของศีรษะตามไหล่ที่หมุนภายใน
เมื่อหัวของทารกหมุนท้ายทอยมาตรงกับหลังแล้ว ตัวทารกเองจะค่อยๆเคลื่อยต่ำลงมาเรื่อยๆ เมื่อไหล่กระทบเชิงกรานจนกระชับ จะเกิดการห่อไหล่ไปด้านหน้า เพื่อให้ไหล่แคบลงอีก ดังนั้นหัวของทารกที่อยู่ข้างนอกจะไม่ตั้งฉากกับไหล่ หัวของทารกจึงหมุนตามไหล่ที่มีการพยายามหุบไหล่ลงไป
ขั้นตอนที่ 8 – Expulsion คือ การคลอดของไหล่ ลำตัว และ แขนขา
เมื่อหัวของทารกออกมาภายนอกได้แล้ว ส่วนที่ค่อยๆตามออกมาก็คือ ไหล่ ลำตัว และ ขา ซึ่งจะมีตัวช่วยส่งออกมาก็คือ การบีบรัดของมดลูก หรือก็คือ แรงเบ่งของคุณแม่เผื่อผลักทารกออกจากตัวค่ะ
สรุปกลไกการคลอด 8 ขั้นตอน
เป็นยังไงกันบ้างคะ บอกเลยว่ายิ่งคุณแม่มือใหม่ได้อ่าน คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อยเลยนะคะ การคลอดลูกมันมีขั้นตอนกันขนาดนี้เลย พอได้อ่านกลไกการคลอด 8 ขั้นตอนก็คือ ทำให้คุณแม่จินตนาการตอนคลอดกันออกเลยใช่มั้ยคะ
คงจะตื่นเต้นกันน่าดู แต่ตอนแอดมินคลอด ใจจริงแอดมินอยากคลอดธรรมชาติมากๆเลยค่ะ แต่ช่วงใกล้คลอด ปรากฏว่า ถุงน้ำคล่ำรั่ว แถม รกยังพันคอน้องถึง 2 รอบ คุณหมอเลยตัดสินใจให้ผ่าแทนค่ะ
เพื่อลดความเสี่ยงในการพยายามออกมาดูโลกของน้อง ยังไงแอดมินขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านที่มีความตั้งใจจะคลอดธรรมชาตินะคะ เพราะการคลอดธรรมชาติเอง จะทำให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วกว่าผ่ามากๆเลยค่ะ 🙂
Write a comment