สวัสดีคุณแม่ที่น่ารักทุกคนนะคะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังนับวันรอจะได้เจอกับเจ้าเบบี๋น้อยเร็ว ๆ นี้ เพราะวันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดที่มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ในช่วงอายุครรภ์ 9 เดือนกันค่ะ ว่าจริง ๆ แล้วเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน แล้วจริงหรือไม่ว่าอาการแบบนี้จะ เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ!!!??
ก่อนอื่นเราขอพาคุณแม่ไปรู้จักกับไตรมาสของการตั้งครรภ์ก่อน เพื่อให้อธิบายแล้วเห็นภาพมากขึ้นนะคะะะ 🙂
มาทำความเข้าใจ “ไตรมาสของการตั้งครรภ์” กัน!!!
-
ไตรมาสที่ 1 (ช่วงอายุครรภ์เดือนที่ 1-3) ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในระดับที่สูงขึ้น การไหลเวียนของเลือดก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งตรงนี้จะเป็นผลให้คุณแม่เริ่มมีอาการต่าง ๆ เช่น แพ้ท้อง เต้านมขยายใหญ่ขึ้น มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด เป็นต้น
-
ไตรมาสที่ 2 (ช่วงอายุครรภ์เดือนที่ 4-6) ช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเริ่มหายจากอาการแพ้ท้อง เบบี๋เจริญเติบโตมากขึ้นกว่าไตรมาสแรก ท้องของคุณแม่ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ๆ ทำให้คุณแม่จะเริ่มมีอาการปวดหลัง หิวบ่อย บางทีอาจมีเลือดกำเดาไหล และที่ขาดไม่ได้ในไตรมาสนี้คือเบบี๋น้อยจะเริ่มตอบโต้กับคุณแม่ด้วยการดิ้นนั่นเองจ้า
-
ไตรมาสที่ 3 (ช่วงอายุครรภ์เดือนที่ 7-9) ไตรมาสสุดท้ายนี้ คุณแม่จะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างยากลำบากมากขึ้นเพราะมีการขยายตัวของทารกในครรภ์ รวมถึงมดลูกก็ขยายตามไปด้วย ตัวเริ่มบวม และในช่วงก่อนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะมีอาการเจ็บครรภ์เตือนก่อนที่จะคลอดจริงอีกด้วยจ้า
อาการทั่วไปของคุณแม่เตรียมคลอด (อายุครรภ์ 9 เดือน) มีอะไรบ้าง???
-
มีอาการเจ็บครรภ์เตือน คุณแม่จะมีอาการเจ็บท้องที่เกือบเทียบเท่าตอนคลอดจริง แต่ครั้งนี้มาเพื่อหยอกเท่านั้นจ้า ยังไม่คลอดจริง!! เหมือนเป็นสัญญาณเตือนให้รู้เฉย ๆ ว่า ใกล้คลอดจริง ๆ แล้วนะ!!!
-
รู้สึกหน่วงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ ถ้าคุณแม่จะแอบหน่วง ๆ บริเวณกระเพาะปัสสาวะสักหน่อยก็อย่าเพิ่งเป็นกังวลไป!!! เพราะว่าคุณเบบี๋เคลื่อนตัวมากดทับตรงกระเพาะปัสสาวะนั่นเองจ้า
-
มดลูกขยายตัว เพราะว่าใกล้ถึงเวลาคลอดเต็มทีแล้ว มดลูกก็จะค่อย ๆ ขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของทารก และเป็นการเปิดเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดจ้ะ
-
เท้าบวม เป็นปกติที่เท้าของคุณแม่จะบวมขึ้นมาในช่วงไตรมาสสุดท้าย เพราะในช่วงนี้ร่างกายของคุณแม่จะมีการสะสมน้ำมากกว่าปกติ!!! นอกจากเท้าแล้ว ส่วนอื่น ๆ ในร่างกายก็บวมได้เหมือนกันนะจ๊ะ
-
คัดเต้านม สำหรับไตรมาสสุดท้ายที่ใกล้จะคลอดเบบี๋แล้ว หน้าอกของคุณแม่ก็จะมีการขยายและเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก จึงจะมีอาการคัดเต้านมตามมานั่นเองจ้ะ
ท้อง 9 เดือน มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ เสี่ยงครรภ์เป็นพิษจริงหรือไม่!!??
ท้อง 9 เดือนแล้ว ดิฉันมักจะเวียนหัวแล้วก็คลื่นไส้บ่อย ๆ แบบนี้ผิดปกติไหมคะคุณหมอ???
อืม…สำหรับคนท้องไตรมาสที่ 3 อาการแบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษได้นะครับ
ครรภ์เป็นพิษเหรอคะ??!!
ก่อนอื่น หมอขออธิบายเรื่องครรภ์เป็นพิษให้ฟังก่อนนะครับ
ครรภ์เป็นพิษ คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากการฝังตัวของรกที่มีความผิดปกติ ทำให้รกมีส่วนที่ขาดเลือดและออกซิเจน จนเกิดการหลั่งสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่ และในที่สุดก็เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในร่างกาย!!!
แล้วมันมีอาการยังไงบ้างเหรอคะคุณหมอ???
อาการเบื้องต้นของครรภ์เป็นพิษ ก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ จุกบริเวณลิ้นปี่ หายใจติดขัด คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ บวมบริเวณหน้า มือ และเท้าครับ
แล้วคนท้องเดือนไหนเสี่ยงจะเกิดครรภ์เป็นพิษมากที่สุดคะ???
ครรภ์เป็นส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับคนท้องไตรมาสที่ 3 ครับ!!!
แล้วดิฉันควรทำยังไงต่อคะคุณหมอ???
รีบมาพบแพทย์จะดีที่สุดเลยครับ!!!!
แต่ไม่ต้องกังวลมากไป เพราะหมอจะให้คำแนะนำและดำเนินการรักษาตามขั้นตอนต่อไปได้อย่างแน่นอนครับ 🙂
สรุป #5 เคล็ดลับช่วยป้องกันครรภ์เป็นพิษก่อนจะสายไป!!!
-
ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด คุณแม่ที่เริ่มรู้ตัวว่ากำลังต้องครรภ์ควรจะรีบไปฝากครรภ์ให้คุณหมอช่วยดูแลให้เร็วที่สุด เพราะคุณหมอจะดูแลและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัยต่อคุณแม่และคุณลูกมากที่สุด ซึ่งก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะผิดปกติต่าง ๆ ได้นั่นเอง
-
ดื่มน้ำยิ่งเยอะยิ่งดี!! แต่ละวันคุณแม่ควรจะดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะดีต่อสุขภาพของคุณแม่อย่างแน่นอน เพราะน้ำจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะโรคต่าง ๆ ได้ดีมาก
-
พักผ่อนให้เพียงพอ ในทุก ๆ วัน คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สำหรับคุณแม่นั้นการนอนเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ไม่เกิดความเสี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ เพราะขณะที่นอนหลับร่างกายก็จะได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่นั่นเอง
-
เน้นอาหารที่มีแคลเซียม คุณแม่ควรจะบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของครรภ์เป็นพิษได้ หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษตามมา!!!
-
งดแอลกอฮอล์ ระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่นี้ คุณแม่สายปาร์ตี้อาจจะต้องห่างน้ำมึนเมาไปก่อน!!! เพื่อให้สุขภาพร่างกายของคุณแม่เองไม่ทรุดโทรม นอกจากนั้นก็ควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างชา กาแฟไปก่อนอีกด้วย
เป็นยังไงบ้างคะคุณแม่ หวังว่าจะเข้าใจเกี่ยวกับครรภ์เป็นพิษและวิธีป้องกันกันแล้วนะคะ แล้วก็อย่าลืมเอาไปปรับใช้กับตัวเองน้า สำหรับคุณแม่ที่มีอาการหรือสงสัยว่าตัวเองจะเสี่ยงครรภ์เป็นพิษมั้ย ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์กันนะคะ!!! สำหรับวันนี้ ขอลาไปก่อนค่าาาา 🙂
Write a comment