สวัสดีค้าาาา วันนี้นะคะเราจะมาบอกเพื่อนๆเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือคุณแม่หลังคลอดรู้ว่าคุณแม่ต้องการอะไร จะพบเจอกับปัญหาแบบไหนบ้าง
โดยผลสำรวจหลังคลอด90%นั้น คุณแม่ที่คลอดใหม่ๆจะมีอาการซึมเศร้าเล็กๆน้อยๆ ในช่วงเวลา2-3วันแรกๆหลังจากคลอด คุณแม่มักจะมีอาการร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ
ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงหลังคลอด มีอารมณ์เศร้า หงุดหงิดง่าย จิตใจอ่อนไหว นอนไม่ค่อยหลับ ถ้าหากได้รับคำแนะนำคำปรึกษาที่ดีก็จะหายได้ในเร็ววัน
แต่ถ้าปล่อยไว้ก็จะเกิดอาการเรื้อรังซึ่งเกิดผลระยะยาวซึ่งจะทำให้คุณแม่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ สาเหตุแสดงอาการของภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอดมีหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งเกิดจากภาวะทานอารมณ์ ทำให้คุณแม่รับมือได้ยาก เรามาดูอาการๆที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้ากันเลยค้าาา
อาการที่เกิดขึ้นหลังจากคลอด มีภาวะโรคซึมเศร้าหรือเปล่า?
1.หลังจากที่คุณแม่ตื่นนอนมีอาการเหนื่อยล้าอยู่เสมอ รู้สึกนอนไม่พออยู่ตลอด มีความรู้สึกอยากนอนอยู่ตลอดเวลาเหมือนพักผ่อนไม่เพียพอ ถึงจะได้ผักผ่อนอยู่ตลอดก็ตาม
2.นอนไม่หลับไม่อยากนอน แม้จะรู้สึกเหนื่อยอ่อนล้า อ่อนเพลียมากแค่ไหนก็ตาม มีเรื่องให้กังวลในหัวจึงนอนไม่หลับ
3.รู้สึกเราไม่มีสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ จดจ่อกับอะไรได้อยาก มักจะลืมรายละเอียดเล็กๆหรือเรื่องที่มีความซับซ้อน
4.ขาดการแยกแยะ กับเรื่องบางเรื่องที่เล็กๆน้อยๆ กลายมาเป็นเรื่องใหญ่ได้ขาดความเข้าใจในสถานการณ์ที่เป็นอยู่
5.รู้สึกแย่กับตัวเอง รู้สึกตัวเราเป็นคนที่ล้มเหลว ทั้งๆที่ความจริงไม่แย่อย่างที่คิด มีความอ่อนไหวกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ
6.ไม่ค่อยรู้สึกกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ราวกับว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นกับคนอื่นทั้งๆที่เป็นเรื่องของตัวเอง ไม่รู้สึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งๆที่เป็นเรื่องตรงหน้าของเราเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง
7.มีพฤติกรรมที่แปลกๆ ที่แสดงอาการมาโดยไม่มีสาเหตุเช่นอยู่ดีๆก็ร้องไห้เสียใจ และจะมีอาการหนักขึ้นมาเรื่อยๆ
8.มักจะหลงลืมเรื่องเวลา ไม่ค่อยรู้เวลา รู้สึกว่าเวลานั้นผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่รู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่
หลังจากที่รู้สาเหตุจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ต่อไปเราจะพาเพื่อนๆทราบถึงอาการเจ็บป่วยทางจิตจากภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอดกันกันบ้าง จะเป็นอย่างไรไปดู!!
อันตราย!! “อาการป่วยทางจิตหลังคลอด”
สิ่งที่จะบอกคุณแม่ต่อไปนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆเลยนะคะ แต่อย่าได้สับสนไปว่าภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคืออาการเดียวกับภาวะทางอารมณ์หลังคลอด คุณแม่บางคนนั้นมีอาการเหล่านี้และจะดีขึ้นใน2-3วัน
การวิจัยพบว่าคุณแม่ที่มีการทางจิตรุนแรงนั้น มี1ใน500เท่านั้น โดยคนที่มีอาการป่วยทางจิตที่รุนแรงหลังคลอดจะถูกเรียกว่า โรคจิตหลังคลอด(Postpartum Psychosis)
โดยคุณแม่นั้นจะมีอาการประสาทหลอนตื่นตัวเป็นเวลาหลายวัน ไม่ค่อยมีสมาธิ กระสับกระส่าย ซึ่งคนรอบข้างจะสังเกตเห็นได้เด่นชัด กับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น
จึงต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องและ ได้รับการรักษาในทันทีนะคะ ไปดูวิธีการช่วยเหลือเลยค้าา
วิธีรับมือและขอความช่วยเหลือเมื่อเป็น”ภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด”
เพื่อนที่ประสบพบเจอกับปัญหาโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นต้องไปปรึกษาศูนย์สุขภาพจิต คุณจะได้รับการช่วยเหลือโดยศูนย์สุขภาพจิตนั้นมีการฝึกอบรม เกี่ยวกับคุณแม่ที่มีปัญหาหลังคลอด หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
และต้องขอบอกก่อนเลย ว่าศูนย์ปรึกษาสุขภาพจิตนั้น ไม่ใช่แค่สถานที่ของคนบ้าหรือคนที่มีภาวะทางจิตรุนแรงเท่านั้นนะ
แพทย์และคุณหมอจะสามารถช่วยคุณแม่ได้มากเลยทีเดียว ทั้งให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่อีกด้วย
ข้อเตือนสำคัญนะคะ การรักษานั้นอาจจะได้รับการรักษาแบบให้ยาต้านโรคซึมเศร้า เพราะฉะนั้นเรื่องการให้นมอาจจะเป็นปัญหา เพราะยาบางชนิดอาจจะส่งผลกระทบกับลูกน้อยในระหว่างช่วงให้นม ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
ก่อนรักษาก็ควรที่จะพิจารณาจัดการการรักษาของตนให้ดี คุณแม่ไม่จำเป็นต้องปิดบังว่าตนเองรู้สึกแย่มากแค่ไหน เพราะคุณแม่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างมากในช่วงเวลาที่ปรึกษาแพทย์ แถมปัจจุบันบ้านเรายังมีบัตรทองให้ใช้ด้วยนะเพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายเลยยย
สิ่งที่สำคัญเลยเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดกับคุณแม่ ควรทำการรักษาและได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม กับเช่นกัน ลูกน้อยก็อยากให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นเหมือนกันนะดังนั้นมันก็คุ้มค่ามากๆเลยที่จะได้รับการรักษา
บทสรุปภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด
สำหรับคุณแม่คุณหลังคลอดเมื่อรู้ตัวว่าตอนเองมีอาการผิดปกติทางอารมณ์และความรู้สึกเหมือนที่ไม่เคยเป็นมาก่อนก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์หากพบว่ามีอาการซึมเศร้าจริงจะได้รักษาอยากทันถ่วงทีนะคะ
และที่สำคัญก็ควรได้รับการช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดด้วยเช่นกัน โรคนี้ถ้าปล่อยไว้ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและลูกน้อยด้วยเช่นกัน เพราะลูกของคุณก็อยากอยากจะให้คุณแม่มีสุขภาพจิตใจที่ดีด้วยเช่นกันนะคะ
Write a comment