มาค่ะ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เรียกว่าตึงเครียดกันเลยทีเดียวสำหรับเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันนี้ ทำไมถึงรู้น่ะหรอ สังเกตุได้จากข่าวต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น
ข่าวการเมือง ข่าวฆาตรกรรม ข่าวการฆ่าตัวตาย ข่าวที่มีเนื้อหารุนแรงมากขึ้นจากแต่ก่อนเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าถ้าเกิดเสพข่าวต่างๆมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการเครียด หรือจิตตกเลยก็ว่าได้และในช่วงนี้ตามสื่อหรือช่องทางการสื่อสารต่างๆ
เราจะเห็นข่าวคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆ การป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีปัจจัยมาจากอะไรบ้าง ถึงทำให้จำนวนคนที่ป่วยเป็นโรคนี้เยอะมากขึ้นทุกวัน แล้วตัวเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ วันนี้เราจึงจะมายกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้ามาให้ทราบกัน เพื่อให้เราทุกคนตรวจสอบตนเองไปด้วยพร้อมๆ กันค่ะ
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร มาดูกันเลย
การเป็นโรคซึมเศร้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในสมอง สมองส่งสัญญาณจากเซลล์สมองหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งด้วยสารเคมีที่เรียกว่าสารสื่อประสาท (neurotransmitters) สารสื่อประสาท เหล่านี้รวมถึง เซโรโทนินนอร์อิพิเนฟรินและ โดพามีน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทางร่างกายและจิตใจต่างๆเช่นอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม ฯลฯ สารสื่อประสาทจะไม่สมดุลและทำงานไม่ปกติในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
ปัจจัยที่ทำให้เกิด “โรคซึมเศร้า”
1.การเลี้ยงดู บุคลิกภาพ เช่น คนที่มองโลกในแง่ลบ ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ
2. พันธุกรรมจากครอบครัว
3. ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง อาจจะเกิดจากเหตุการณ์บางอย่างมากระตุ้น เช่น การสูญเสียคนรัก หรือเจ็บป่วยประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น
4. สังคมความเป็นอยู่ คนรอบข้างตัวที่เราใช้ชีวิตด้วยกัน
18 อาการของโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง
โดยส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคซึมเศร้าคือความรู้สึกทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย หากคุณมีอาการต่อไปนี้ที่อาจทำลายชีวิตประจำวันของคุณ เช่น การทำงานและกิจกรรมทางสังคมเป็นระยะเวลานานคุณอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
อาการทางกายภาพ | อาการทางอารมณ์ |
•ปวดหัว | •มีอารมณ์หงุดหงิด |
•อาการปวดที่ไม่ได้อธิบาย | •ความคิดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย |
•มีความฝันและรู้สึกเหมือนว่าคุณไม่ได้หลับไปทั้งคืน | •การสูญเสียความสนใจในสิ่งต่างๆ |
•ความเมื่อยล้าและการขาดพลังงาน | •อารมณ์แตกต่างและขาดแรงจูงใจ |
•ปัญหาทางเดินอาหาร | •จดจ่ออยู่กับความยากลำบากหรือไม่ได้นาน |
•หายใจถี่ | •ความคิดที่เกิดซ้ำซากกับประสบการณ์ที่ไม่พึงพอใจ |
•คลื่นไส้ | •รู้สึกไร้ค่าต่ำต้อยและรู้สึกผิด |
•นอนไม่หลับ | •รู้สึกกระวนกระวายใจ |
•รู้สึกอ่อนแอ | •ความรู้สึกของความสิ้นหวัง |
ข้อควรทราบ
- โรคนี้ไม่ได้อาการดีขึ้นทันทีที่กินยา การรักษาต้องใช้เวลาบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นสัปดาห์ อาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด จึงไม่ควรคาดหวังจากผู้ป่วยมากเกินไป
- การตัดสินใจในช่วงนี้จะยังไม่ดี ควรให้ผู้ป่วยเลี่ยงการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ไปก่อนจนกว่าจะเห็นว่าอาการเขาดีขึ้นมากแล้ว
- อย่ากดดันผู้ป่วยมากจนเกินไป อย่าคาดคั้นให้ผู้ป่วยตอบในสิ่งที่เขาไม่อยากตอบ
- เรื่องคำพูดนั้น อย่าใช้คำพูดที่ไม่ดีหรือมีความหมายเชิงลบในการพูดคุยกับผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการที่เรียกได้ว่าอ่อนไหวกับทุกสิ่งที่เจอ
การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า
1. ให้กำลังใจ อดทน สนับสนุนเขาในทุกๆทางที่ดี
2. พาไปหากิจกรรมสนุกๆกับครอบครัวทำ
3. คอยเป็นที่ปรึกษาให้เขาเวลาที่เขาไม่สบายใจเมื่อได้รู้จักโรคซึมเศร้ากันแล้ว จะเห็นว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นแค่อารมณ์ซึมเศร้าเท่านั้น แต่หากเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว
และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่บำบัดรักษา ก็อาจจะนำมาสู่ปัญหาการทำงานและการดำเนินชีวิต และบางรายอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ดังนั้น หากสงสัยว่าคนใกล้ชิดของคุณป่วยด้วยโรคซึมเศร้า
อย่าได้นิ่งนอนใจเด็ดขาดเลยค่ะ ควรพามาปรึกษาแพทย์ เพราะหากได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องด้วยวิธีที่เหมาะสมก็จะทำให้คนที่คุณรักและคนรอบข้างมีความสุขไปด้วย
สรุปอาการที่ควรระวังในการเป็นโรคซึมเศร้า
เมื่อไหร่ที่คุณมีอาการ 5 ข้อนี้ติดต่อกันนานเป็นเวลาถึง 2 สัปดาห์ ตั้งข้อสงสัยได้เลยค่ะว่าคุณนั้นตกเป็นเหยื่อของเจ้าโรคซึมเศร้านี้แล้ว
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง หากได้รับการวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งสำคัญที่สุดเลยก็คือ ต้องยอมรับให้ได้ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยาร่วมกันกับการรักษาทางจิตใจ
Write a comment