โรคซึมเศร้า คืออะไร ฉบับเข้าใจง่ายที่สุด !!!

โรคซึมเศร้า คืออะไร ฉบับเข้าใจง่ายที่สุด !!!

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า

สวัสดีค่ะชาวโลกทุกคน เราชื่อโรคซึมเศร้านะ หลายๆคนคงรู้จักฉันไม่มากก็น้อย ไม่น้อยก็มาก แฮร่ บางคนก็ได้เจอฉันโดยที่ตัวเองไม่ทราบ จริงๆแล้วฉันสามารถเติบโตมาได้จากความเครียดและกรรมพันธุ์ ไม่ว่าเธอจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เพศชาย หรือเพศหญิงก็ตาม ฉันก็เจอเธอได้เสมอโดยจะเน้นเป็นพิเศษเลยคือช่วงวัยรุ่นนั่นเอง เวลาที่ฉันต้องไปอยู่กับใครก็จะมีอาการต่างๆ ดังนี้

  • ฉันจะมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่หลับ
  • อารมณ์ขึ้นๆลงๆไม่คงที่
  • น้ำหนักลดลงมากอย่างรวดเร็ว
  • หมดความสนใจต่อโลกภายนอก

โรคซีมเศร้า

 เมื่อฉัน ( โรคซึมเศร้า ) แข็งแกร่งมากขึ้นฉันจะมีผลอย่างมากต่อคนนั้นๆ ถึงขั้นที่ทำให้คนๆนั้นอยากจะทำร้ายตัวเอง แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของฉัน (โรคซึมเศร้า)

เรามักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสียมากกว่าที่จะเป็นโรค

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ที่เราพบกันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกธะรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ตามมา เช่น เบื่ออาหาร ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายที่จะเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว

 

ดังนั้น การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค กล่าวได้ว่าถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง เขาก็จะกลับมาเป็นผู้ทีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ดังเดิม

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์เลยก็ได้

ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น คนรอบข้างไม่เข้าใจ เป็นต้น และผู้ที่เป็นอาจไม่มีอาการตามนี้ไปทั้งหมด แต่อย่างน้อยอาการหลักๆ จะมีคล้ายๆ กัน เช่น รู้สึกเบื่อเศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่ดี เป็นต้น

คุณกำลังเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า..?

1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป

ที่พบบ่อยๆก็คือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส

2. ความคิดเปลี่ยนไป

คือไม่ว่าจะมองอะไรที่อยู่รอบตัวก็ดูเป็นเรื่องที่แย่มากๆไปหมด การมองตัวเองในอดีตที่ผ่านมาก็เห็นแต่เหตุการณ์ที่ผิดพลาด เห็นแต่ความล้มเหลวของตัวเอง

3. การงานแย่ลง

คือ การที่มีความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง หมด Passion ในการทำงาน รู้สึกว่าทำอะไรก็ไม่ดีขึ้นมีแต่ต่ำลง ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมากๆ ขึ้นก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน

4. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป

คือ  อาการที่ผู้เป็นมักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนแต่ก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป และคู่รักบางคู่ก็อาจจะมีปากเสียงกันอยู่บ่อยๆ

5. อาการโรคจิต

คืออาการที่จะพบในผู้ป่วยที่รุนแรง ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว ยังพบว่ามีอาการของโรคจิตอีกด้วย ได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย แต่ที่พบบ่อยๆมาก ก็คือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง

อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย แต่อาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม

แนะนำสังเกตพฤติกรรมลดความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเอง

โรคซีมเศร้า

ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นไทยเป็นปัญหาสำคัญที่สังคมไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด

ปัญหาดังกล่าวนั้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งการถูกเพื่อนล้อ ถูกรังแก เพื่อนไม่คบ ขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่ำ รวมไปถึง ความกดดันในครอบครัว

ถูกพ่อแม่ดุด่า หรือถูกทำโทษเสมอ นำไปสู่ความเครียด ภาวะซึมเศร้า จนทำร้ายตัวเองได้ในที่สุด เพราะเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องให้ความสนใจและใส่ใจอย่างเป็นพิเศษ และสังเกตุพฤติกรรมของบุตรหลานว่า มีความผิดปกติหรือไม่

เพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทัน ก่อนที่จะเกิดปัญหาความสูญเสียต่างๆ ตามมา แน่นอนว่าไม่มีใครอยากสูญเสียคนสำคัญในชีวิตไปแน่นอน เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยปละละเลยคนที่คุณรักให้อยู่กับความทุกข์เพียงลำพัง

การรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซีมเศร้า

โรคซึมเศร้านี้หากได้รับการรักษาผู้ที่เป็นจะอาการดีขึ้นมาก อาการซึมเศร้า ร้องไห้บ่อยๆ หรือรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ
ยิ่งหากมารับการรักษาเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะอาการดีขึ้นเร็วเท่านั้น ยิ่งป่วยมานานก็ยิ่งจะรักษายาก การรักษาที่สำคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อาการมาก
ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่างๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว
หรือการหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้ซึมเศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณต้องการใครสักคนที่พร้อมจะเข้าใจคุณ สามารถปรึกษาคุณได้ทุกเรื่อง
คุณแค่กดโทรศัพท์โทรออกเบอร์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 จิตแพทย์จะประเมิณอาการของคุณและทำการรักษาหลายวิธี ทั้งพูดคุย ให้คำปรึกษา จิตบำบัด ถ้าเกิดคุณได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโรคซึมเศร้ามันก็จะพ่ายแพ้ไปเอง
ถ้าคุณยังไม่แน่ใจ ลองเช็คอาการเบื้องต้นของคุณได้ที่เว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่นี่ ⇒แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า⇐

สรุปโรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้านั้นถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคประสาทอ่อนชนิดหนึ่งภายใต้หมวดของโรคทางจิตที่ไม่รุนแรง คนที่มีโรคซึมเศร้ามีอารมณ์แตกต่างต่อเนื่องจากการสูญเสียความสนใจในทุกอย่างและขาดพลังความรู้สึกของพวกเขาแย่มากจนกระทบกับชีวิตประจำวัน

คุณจะเป็นโรคซึมเศร้าเมื่อคุณมีอาการทางจิตมากกว่า 5อย่างติดต่อกันสองสัปดาห์รวมถึงอารมณ์ที่แตกต่าง และการขาดพลัง

คุณจะมีความคิดเชิงลบอย่างต่อเนื่องและชีวิตประจำวันของคุณได้รับผลกระทบอย่างมาก การนอนหลับๆตื่นๆ ไม่มีความสุขไม่ว่าจะเจอเรื่องที่มีความสุขแค่ไหนคุณก็จะมองเรื่องนั้นเป็นเรื่องลบอยู่ตลอด

สุขภาพLatest articles in the category