ไขปัญหาคาใจ สิวอักเสบเกิดจากอะไรและจะแก้ไขยังไงดี!?

ไขปัญหาคาใจ สิวอักเสบเกิดจากอะไรและจะแก้ไขยังไงดี!?

สิวอักเสบเกิดจากอะไร

ใครกำลังมีปัญหากับการเป็นสิวอยู่บ้าง และถ้าคุณกำลังเป็นสิวอักเสบอยู่ด้วยนั้น คงทำให้รู้สึกหนักใจไม่ใช่น้อย วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิวอักเสบกัน ว่าสิวอักเสบนั้นเกิดจากอะไร มีปัจจัยใดเป็นตัวกระตุ้น แล้วทำยังไงถึงจะกำจัดสิวอักเสบนี้ไปได้  เพื่อให้ทุกคนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และระมัดระวังหรือดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง

สิวอักเสบมีลักษณะอย่างไร

ก่อนอื่นลองมาเช็คกันหน่อย ว่าสิวอักเสบของเราเป็นแบบไหน มีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร

  1. สิวอักเสบแบบตุ่มนูนแดง มีลักษณะเป็นตุ่ม ก้อน หรือจุดสีแดงๆ โดยพัฒนามาจากสิวอุดตันที่เกิดการอักเสบและทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณที่เป็นสิว
  2. สิวอักเสบแบบมีหัวหนอง มีลักษณะคล้ายสิวอักเสบแบบแรก แต่จะมีหนองหัวสีขาวอยู่ตรงกลาง
  3. สิวอักเสบตุ่มนูนแดงคล้ายแบบแรกแต่มีขนาดใหญ่ อาจเรียกว่าเป็นสิวหัวช้าง เติบโตลึกลงไปในชั้นใต้ผิวหนัง อาจมีอาการเจ็บ เมื่อกดลงไปจะรู้สึกแข็งเป็นไต
  4. สิวซีสต์ มีลักษณะเป็นก้อนใหญ่เหมือนกัน แต่จะมีหนองสีเหลืองและอาจปนเลือดสีแดงอยู่ข้างในคล้ายฝี ที่ไม่สามารถกดออกได้

สิวอักเสบเกิดจากอะไร

https://ogocare.com/the-different-classifications-of-acne/
  1. สิวอักเสบเกิดจากสิวอุดตันที่มีเชื้อแบคทีเรีย (P. acne) ทำปฏิกริยากับเม็ดเลือดขาวและน้ำมันหรือไขมันอิสระจนเกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณนั้น
  2. สิวอักเสบเกิดจากความเครียดและฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมไขมันให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น มักจะเกิดในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงมีประจำเดือนของผู้หญิง ส่งผลให้เกิดปฏิกริยากับสิ่งสกปกรกในผิวหนังและเม็ดเลือดขาวอีกเหมือนกัน
  3. สิวอักเสบเกิดจากลักษณะทางพันธุกรรม ที่มีคนในครอบครัวเป็นสิว ผิวมัน หรือมีรูขุมขนกว้างจึงทำให้เป็นสิวได้ง่าย

การรักษาสิวอักเสบเบื้องต้น

หลังจากที่ลองวิเคราะห์ด้วยตนเองดูแล้วว่าเรากำลังพบเจอกับสิวประเภทใด จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจะมาแนะนำยารักษาสิวอย่างง่ายและได้ผล เป็นที่นิยมของคนทั่วไปและหาซื้อได้ง่ายของการรักษาสิวตุ่มแดง สิวหัวหนอง

แต่หากเป็นสิวหัวช้างและสิวซีสต์ ต้องทำการพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่สามารถรักษาด้วยตนเองได้ เพราะเชื้ออาจจะลุกลามไปบริเวณอื่นได้ง่าย

  1. การฆ่าเชื้อสิวและแบคทีเรีย (P. acne) ด้วยตัวยา Benzoyl peroxide เป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สิวอุดตันและสิวอักเสบให้หายไปในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคน
ผลิตภัณฑ์รักษาสิว Benzac AC 2.5% หรือ 5%
ยาสิวอักเสบ

Benzac AC มีตัวยา Benzoyl peroxide ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (P. acne) ได้ เพียงทาบางๆ ทั่วหน้าประมาณ 5-15 นาที หากยังไม่เคยใช้มาก่อนให้เลือกสูตรที่มีความเข้มข้น 2.5% และควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้จริง

ปริมาณ 15g
ราคา 139THB
สิวแห้งไวเลยหลังใช้ไม่กี่วัน ครั้งแรกทาที่สิวไว้ไม่เกิน 20 นาที แต่ครั้งต่อไปเราก็เพิ่มเวลานิดหน่อยเพราะไม่รู้สึกระคายเคืองอะไร จากนั้นล้างออก 2-3วันสิวเราก็แห้งแล้ว เราใช้กับสิวที่มีหัวแล้วก็สิวที่ไม่มีหัว เหมือนมันช่วยดันสิวเราออกมา แล้วก็ทำให้มันแห้ง แบบผิวไม่ไหม้ ไม่ลอก รีวิวจากShobjai:LalitaIntra อ่านรีวิวเพิ่มเติมได้ที่นี่
2. ยารักษาจากกรดวิตามินเอ ที่จะช่วยละลายสิวอุดตัน สาเหตุหนึ่งของการเกิดสิวอักเสบเรื้อรัง ซึ่งยาปฏิชีวนะตัวนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผิวแห้งลอก เพราะฉะนั้นควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื่นร่วมด้วย
ผลิตภัณฑ์รักษาสิว Retin-A
สิวอักเสบเกิดจากอะไร

ใครที่อยากกำจัดสิวให้หมดไปจากผิวหนัง คงต้องเคยได้ยินตัวนี้ โดย Retin-A จะช่วยเร่งให้สิวใต้ผิวของเราปะทุออกมา จนหมดไปในที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยลดความมันบนใบหน้า ปรับโครงสร้างให้ผิวแข็งแรง แต่อาจทำให้หน้าแห้งได้ และควรทาในเวลากลางคืน เนื่องจากเรตินเอมีความไวต่อแสง

ปริมาณ 10g
ราคา 140THB
การทายาก่อนนอนค่ะ ตัวนี้เรารักมากมากมาก มากที่สุด จากตอนแรกที่มันทำหน้าชั้นพังแต่ก็กู้หน้าเรากลับมาค่ะ นั่นคือนางเอกของเรา เรตินเอนั่นเองงงง เป็นยาที่รุนแรงมากค่ะ คือเราบำรุงหน้าด้วยbhaแล้วค่ะ แต่มันยังไม่พอ ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่างนะคะ ถ้าผิวหน้าบอบบางอาจจะแดง ลอกได้ เราใช้เรติน เอ หลังจากทาครีมบำรุงนานหลายชั่วโมงค่ะ คือล้างหน้าให้สะอาด ผึ่งพักลมให้แห้ง จากนั้นใช้แล้วปิดไฟนอนเลย ทาบางๆนะคะ ทั้วทั้งหน้าเลยค่ะ เพราะมันมีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว อาจทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอได้ค่ะ รีวิวจากPantip:สมาชิกหมายเลข 5082458 อ่านรีวิวเพิ่มเติมได้ที่นี่
3. การรักษาผิวหน้าของเราให้สะอาด และควรมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ทุกวันนั้น ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดสิวหรือซิลิโคน น้ำหอม พาราเบน ที่ทำให้ผิวของเราอุดตันและเกิดการระคายเคืองได้ นอกจากนี้การที่เราใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่ทำให้ผิวแห้งลอกแล้ว ถ้าจะใช้โฟมล้างหน้าที่ชะล้างความชุ่มชื่นของผิวออกไปอีก อาจทำให้หน้าของเราลอกได้ จึงควรหันมาใช้คลินเซอร์ที่ยังคงรักษาความชุ่มชื่นให้กับผิวหน้าของเราอยู่
ทำความสะอาดผิวหน้าด้วย Acne-Aid
โฟมล้างหน้าคนหน้ามัน
ภาพจาก https://www.watsons.co.th

คลินเซอร์ที่เหมาะกับผิวมัน ผิวผสม หรือคนที่เป็นสิว ช่วยขจัดสิ่งสกปรกได้อย่างล้ำลึก พร้อมทั้งช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ไม่ทำให้ผิวแห้งตึง นอกจากนี้ทางแบรนด์ยังเคลมว่าช่วยคืนความสมดุลให้กับผิวจากการใช้ยาปฏิชีวินะอีกด้วย ใช้ได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย

ปริมาณ 500ml
ราคา 499THB
ใช้แล้วหน้าไม่มันเยิ้ม สิวลดลง แล้วก็ไม่ขึ้นเพิ่ม แถมไม่ต้องใช้เยอะ ก็ฟอกได้ทั่วหน้า ล้างออกง่ายด้วย ผิวหน้าไม่แห้งตึง รู้สึกถึงความสะอาดหมดจดจริงๆ
ใช้ดีมากจ้า รีวิวจากVanilla:Bamita อ่านรีวิวเพิ่มเติมได้ที่นี่
4. การทานยาเพื่อลดหรือปรับระดับฮอร์โมน สำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบที่เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลง การใช้ยาทาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียวอาจแก้ยาก หรือไม่ทำให้อาการดีขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา
5. การฉีดสิว จะใช้รักษาสิวอักเสบประเภทซีสต์ ที่มีลักษณะเป็นก้อนใต้ผิวหนังเรา โดยแพทย์จะฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไป เพื่อให้สิวยุบตัวลงได้

สรุปเรื่องของสิวอักเสบ

สิวอักเสบนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดการกระตุ้นจากฮอร์โมน ความเครียด แต่หลักๆแล้วเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า P.acne และสิ่งสกปรกบนใบหน้าหรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว รวมตัวกันกับน้ำมันใต้ผิวหนังและเม็ดเลือดขาว อยู่ในรูขุมขนหรือใต้ผิวหนังราจนทำให้เกิดการอักเสบได้

หากจะรักษาสิวแล้วควรหาสาเหตุก่อนว่าสิวของเรานั้นเกิดจากอะไร จะได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หากเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมน, สิวหัวช้าง และสิวอักเสบประเภทซีสต์ ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากว่าการใช้ยาทาปฏิชีวนะอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล และหากรักษาเอง อาจทำให้เชื้อลุกลามไปบริเวณอื่น หรือเกิดรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ได้

แต่หากใครเป็นสิวอักเสบตุ่มแดงและสิวหัวหนอง ก็ยังสามารถใช้ยาทาปฏิชีวนะรักษาได้ และควรรักษาผิวหน้าให้สะอาด เพื่อป้องกันสิวเกิดซ้ำ นอกจากนี้ปัจจัยอย่างอื่นที่นอกเหนือจากความสะอาดก็สำคัญ เช่น อาหาร ควรเลือกทานผัก ผลไม้ให้มาก ดูแลระบบขับถ่าย เพื่อไม่ให้มีของเสียอุดตันในร่างกายของเรา พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด เท่านี้ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดของสิวอักเสบได้

 

 

 

 

สกินแคร์Latest articles in the category