เกือบโค้งสุดท้ายแล้วที่คุณแม่ต้องรอเจอหน้าลูกน้อย อีกเพียงแค่ 4 สัปดาห์ที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องเฝ้ารอ เมื่อช่วงใกล้คลอดคุณแม่จะมีความกังวลมาก ๆ ในช่วงนี้ คุณพ่อต้องคอยให้กำลังใจและรับฟังคุณแม่มาก ๆ นะคะ
เพราะเป็นช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์จะสับสนมาก ทั้งกังวล ทั้งกลัวเจ็บ ทั้งอยากจะรีบคลอดเพราะอึดอัดมาก ทุกย่างจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายใจ คุณพ่อต้องรับบทนายให้กำลังใจแล้วละ!
สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ต้องรับมือ
ช่วงนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ต้องทำอะไรเบา ๆ ไม่จำเป็น ไม่ต้องทำอะไรหนัก ๆ หรือเดินนาน ๆ ที่สำคัญช่วงนี้คุณแม่จะนอนยากกว่าปกติ แนะนำว่าคุณแม่ต้องมีหมอนนุ่ม ๆ เพื่อช่วยซับพอตท้องและหลังของคุณแม่ คุณแม่ยังคงต้องเดินเข้าห้องน้ำบ่อยเหมือนเดิม และอาจจะบ่อยกว่าเดิมด้วย
อีกเรื่องที่น่าเป็นกังวลเพราะคนท้องแก่เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะบ่อยต้องระมัดระวังตัวเองด้วยนะคะ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายคุณแม่จะมีอาการปวดท้องหน่วง ๆ เป็นระยะเนื่องจากมดลูกบีบตัว สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ก็ไม่คงที่เป็นเพราะการใกล้คลอด ความเป็นผู้หญิงจะคิดมากและขี้กังวลเป็นปกติ
ต้องเปิดใจกับคุณพ่อบ่อย ๆ ถึงเรื่องที่กังวล เพื่อลดความเครียดของตัวเอง ความกังวลและความวิตกของตัวเอง แต่การที่มีหลายอารมณ์แบบนี้เป็นเรื่องปกตินะคะ เพราะการคลอดไม่ได้ใช่เรื่องง่าย ๆ ทั้งทางร่างกาย ทั้งความรู้สึก เป็นทั้งเรื่องที่น่ายินดีและน่ากลัวไปพร้อม ๆ กัน ลองหาคนที่ไว้ใจและปรับอารมณ์ตัวเองนะคะ
สังเกตตัวเองเมื่อช่วงเดือนใกล้คลอด
ความกังวลและความกลัวที่คุณแม่มี ยิ่งคิดยิ่งกลัวและเกิดความกังวลต่าง ๆ นา ๆ ลองเปลี่ยนมาเป็นสังเกตตัวเองจากสัญญาณของร่างกายของคุณแม่ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเมื่อรู้สึกแบบนี้ต้องรีบพบแพทย์
-
มดลูกลดต่ำลง
นั่นเป็นเพราะรูปทรงของการกลับหัวของลูกน้อยยิ่งครรภ์ต่ำมาก ก็จะสามารถบอกได้ทันทีว่าอีกไม่นานปากมดลูกคุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ก็ใกล้จะเปิดแล้ว ในอีกไม่กี่สัปดาห์คุณแม่ก็จะได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้วละ
2. มดลูกบีบตัว
มดลูกจะเริ่มบีบตัวเมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์เป็นการบอกให้คุณแม่รู้จักการอาการเจ็บจริง เจ็บหลอกเป็นอย่างไร
และการบีบตัวของมดลูกที่ใกล้คลอด จะเป็นการบีบตัวแบบต่อเนื่องประมาณ 1 – 2 นาที และความถี่อยู่ที่ระหว่าง 5 – 10 นาที หากมีอาการนี้คุณแม่ต้องรีบเข้าพบแพทย์ ไม่ต้องรอให้น้ำคร่ำแตก
3. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
มูกเป็นทำหน้าที่ป้องกันปากมดลูกไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มูกใสไหลออกมาจากช่องคลอด หรือมูกพร้อมเลือดปะปนอยู่เป็นสัญญาณที่คุณแม่ต้องรีบพบแพทย์ เพราะปากมดลูกของคุณแม่ได้เปิดกว้างแล้ว
4. น้ำคร่ำแตก
เมื่อน้ำคร่ำที่เป็นน้ำหล่อเลี้ยงลูกน้อยให้มีชีวิตรอดไหลออกมา คุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ก็สามารถเข้าพบแพทย์ได้ทันทีถ้าทิ้งไว้จะทำให้ลูกน้อยเสี่ยงติดเชื้อจากในครรภ์ได้
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์มีอาการที่กล่าวมาห้ามรอช้าโดยเด็ดขาด และแนะนำว่าช่วงใกล้คลอดนี้ไม่ควรอยู่คนเดียว เผื่อเวลาไม่คาดฝันในช่วงระยะนี้
ปลดความกังวล
คุณแม่สามารถปรึกษาและสอบถามคุณหมอได้ตามที่ต้องการเมื่อนัดพบคุณหมอ สามารถถามในทุกเรื่องที่สงสัย หรือแม้กระทั่งดูคลิปสั้นให้ความรู้เรื่องหลังคลอดบุตร คุณแม่จะได้ไม่กังวลใจเมื่อต้องคลอดจริง ๆ
เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจรับกับอารมณ์ที่ต้องคลอดในอีกไม่กี่สัปดาห์ ลดและปลดความกังวลได้จากการปรึกษาคุณยาย หรือคุณพ่อ การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยลดความกังวลและความตื่นเต้นไปได้ระดับหนึ่งเลยนะคะ การทำสมาธิเป็นอีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่สามารถทำให้ความตื่นเต้นลดลงได้
บทสรุปของบทความ
การบอกว่าใกล้คลอดไม่มีอะไรน่ากลัว พูดแบบนี้จะเป็นการไม่ค่อยเห็นใจคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่มากไปหน่อย เพราะครั้งแรกหรือครั้งไหนต่างก็มีความกลัวกันทั้งนั้น ในช่วงนี้คุณแม่ควรทำตัวสบาย ๆ จะดีที่สุด และการพูดคุย สอบถามถึงข้อมูลตอนคลอดกับคุณหมอหรือเพื่อน ๆ ที่เคยผ่านจุดนี้มาแล้วจะช่วยได้เยอะมากเลยทีเดียว เอาใจช่วยคุณแม่ทุกคนนะคะ
Write a comment