สำหรับคุณแม่มือใหม่ หรือสาว ๆ ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว เพราะช่วงระยะ 6 สัปดาห์นั้น เป็นระยะเวลาเพียงแค่ 1 เดือน กับอีก 2 สัปดาห์เท่านั้น ทำให้สาว ๆ หลายคนยังไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
หรือไม่รู้สึกตัวว่าตอนนี้กำลังมีอีกหนึ่งชีวิต อยู่ภายในท้องของเราแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้ว หากประจำเดือนของสาว ๆ ขาดเป็นเวลา 1 เดือนหลังจากที่มาครั้งสุดท้าย สาว ๆ สามารถซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาเพื่อตรวจสอบว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และไม่กระทบกระเทือนต่อเด็กในครรภ์
วันนี้เราเลยจะพาสาว ๆ มารู้จักกับอาการของสาว ๆ ที่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ พร้อมกับวิธีการดูแลร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรง เหมาะสม ไปกระทบกระเทือนต่อทารกในครรภ์ จะเป็นยังไงบ้างนั้น เราไปดูกันค่ะ
อาการแบบนี้ ท้อง 6 สัปดาห์แน่นอน!
- คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการแพ้ท้อง
คลื่นไส้ รู้สึกประสาทรับกลิ่นไวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นอาหาร หรือกลิ่นของคนรอบตัว - คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการอ่อนเพลีย
เหนื่อยง่าย รู้สึกผะอืดผะอมตลอดเวลา - คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการอยากทานอาหารที่ไม่เคยชอบ
หรือรู้สึกอยากทานมาก่อน - คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการรู้สึกเจ็บหน้าอก
และหัวนมตลอดเวลา หัวนมมีสีเข้มขึ้น และถูกกระตุ้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น - คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการมีตกขาวออกมามากขึ้น
แต่หากมีออกมามากจนผิดปกติ และมีกลิ่น แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คว่าเป็นอาการโรคแทรกซ้อน อย่างเชื้อราในช่องคลอดหรือไม่ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากการที่ ค่า pH ในช่องคลอดมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งระดับฮอร์โมนในร่างกายเช่นกัน - คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการกลืนน้ำลายบ่อยขึ้น
โดยเป็นอาการที่พบบ่อย ๆ ในหญิงมีครรภ์ - คนท้อง 6 สัปดาห์มีอาการอาการปวดหัวบ่อย ๆ
ช่วงตั้งครรภ์ในระยะแรก แนะนำให้สาว ๆ พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการกินยานะคะ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง
สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงของคุณแม่ครรภ์ 6 สัปดาห์
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์นั้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และฮอร์โมนของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น คุณแม่จึงจำเป็นจะต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกในครรภ์
- คุณแม่ต้องหยุดพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติด เพราะจะส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์อย่างแน่นอน
- งดการใส่รองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะล้ม หรือกระแทกกับครรภ์ เพราะช่วงท้องไตรมาสแรกเป็นช่วงที่สามารถเกิดการแท้งได้ง่ายที่สุด
- ความกังวลระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องได้ 6 สัปดาห์ คุณแม่ควรพบหมอเพื่อฝากครรภ์ และศึกษาเกี่ยวกับข้อควรระวังระหว่างการตั้งครรภ์ พยายามลดความเครียด และความกังวล เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อเด็กในท้องก็เป็นได้ค่ะ
ทั้งนี้ ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องคอยดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นอย่างดี เพราะเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงที่สุดของการตั้งครรภ์ และต้องพยายามไม่กังวล หรือเครียดมากจนเกินไป ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เป็นเวลา เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและลูกในครรภ์ค่ะ
พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ วัย 6 สัปดาห์
สำหรับทารกในครรภ์ 6 สัปดาห์นั้น ยังมีขนาดค่อนข้างเล็ก มักจะมีขนาดตัวประมาณ 5-6 มิลลิเมตรเท่านั้น โดยส่วนหัวมักจะมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว
คล้ายกับลูกอ๊อดตัวเล็ก ๆ เป็นช่วงระยะแรกของการพัฒนาตัวอ่อนเท่านั้น หลังจากผ่าน 6 สัปดาห์ไปแล้วลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
แต่ช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มสัมผัสถึงอัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อยในครรภ์ผ่านการอัลตร้าซาวด์ และจะเริ่มมีลำตัว ตับ ไต และปอดหลังจากนี้
ด้วยพัฒนาการการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหลัง 6 สัปดาห์นี้ ทำให้คุณแม่ที่ตั้งท้องอยู่มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียเป็นพิเศษ เพราะถูกนำพลังงานไปใช้ในการเสริมสร้างอวัยวะ และความแข็งแรงให้กับลูกน้อยตลอดเวลานั่นเองค่ะ
ตั้งท้อง 6 สัปดาห์อันตรายแค่ไหน
สำหรับสาว ๆ ที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ได้เพียง 6 สัปดาห์นั้น บอกเลยนะคะว่า ช่วง 3 เดือนแรกนั้นเป็นช่วงที่อันตรายที่สุดของการตั้งครรภ์ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอาการแท้ง หรือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และร่างกายที่แปรปรวนจนคุณแม่มือใหม่ปรับตัวไม่ทัน เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพ อาหารการกินของคุณแม่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หวังว่าคุณแม่จะดูแลตัวเอง และลูกน้อยเป็นอย่างดีตลอดรอดฝั่งนะคะ
Write a comment