ตั้งท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตัวโตขนาดไหนแล้วนะ คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

ตั้งท้อง 3 เดือน ลูกอยู่ตรงไหน ตัวโตขนาดไหนแล้วนะ คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

ท้อง 3 เดือน ลูก อยู่ ตรง ไหน

คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนนี้ คงมีอาการแบบเดียวกันหมดเลยค่ะ ไม่ต่างกันกันมาก ในช่วงนี้คุณแม่จะมีหลากหลายอารมณ์และความรู้สึกไปหมด เพราะร่างกายของตัวเองกำลังเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครที่จะรู้สึกดีหรือรู้สึกเฉยๆเหมือนช่วงก่อนตั้งครรภ์แน่นอน

ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลกับความรู้สึกที่หลากหลายของตัวเองในช่วงนี้นะคะ เพราะมันเป็นเรื่องปกติของคุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องพบกับอาการดังต่อไปนี้

อาการทั่วไปของการตั้งครรภ์ 3 เดือน

  • อาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • อาหารไม่ย่อย เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร แสบร้อนกลางอก เกิดกรดไหลย้อน
  • หน้าอกขยาย มีอาการคัน หัวนมมีสีที่เข้มขึ้น
  • ปวดหัวและเวียนหัวบ้างในบางครั้ง
  • อยากอาหารมากขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ตกขาวมากขึ้น

ทั้งหมดนี้คืออาการแพ้ท้องที่คุณแม่ต้องเผชิญในช่วงนี้ค่ะ ประโยชน์ของอาการแพ้ท้องนี้ อาจแสดงให้เห็นว่าคุณแม่มีโอกาสในการแท้งที่ต่ำมาก หากคุณแม่คนไหนไม่มีอาการแพ้ท้องเหล่านี้เลย ก็ถือว่าโชคดีมากเลยค่ะ คุณแม่สามารถใช้ช่วงเวลานี้ตักตวงในสิ่งที่อยากทำ ก่อนที่ท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้นได้นะคะ

ลูกน้อย 3 เดือนอยู่ตรงไหน โตขนาดไหนแล้ว

หากลูกคนนี้เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ ขนาดท้องของคุณแม่จะยังไม่ใหญ่มากนัก ยิ่งถ้าคุณแม่เป็นคนที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กว่าท้องจะป่องให้เห็นว่าท้อง ก็ช่วงเดือนที่ 4-5 เลยค่ะ

ในช่วงนี้ลูกน้อยกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเจริญเติบโต มีขนาดประมาณ 2-3 นิ้วหรือไม่เกิน 8 เซนติเมตรเท่านั้นเองค่ะ มีน้ำหนักและขนาดเท่าลูกมะนาว ลอยละล่องอยู่ในน้ำคร่ำของคุณแม่ ตรงช่วงท้องน้อย ซึ่งคุณแม่จะยังไม่รู้สึกตัวหรอกนะคะ เพราะน้องมีขนาดที่เล็กมาก โดยน้องกำลังเริ่มมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ค่ะ

ท้อง 3 เดือน ลูก อยู่ ตรง ไหน
https://www.webmd.com/baby/1to3-months#:~:text=At%20the%20end%20of%20the,three%20months%20into%20the%20pregnancy.
  • กล้ามเนื้อ กระดูก และระบบย่อยอาหาร เพิ่มเริ่มพัฒนาอยู่ในช่วงกำลังสร้าง
  • นิ้วมือและนิ้วเท้าของลูกกำลังก่อร่าง กำลังชัดเจน พร้อมๆกับมีเล็บมือบ้าง อีกสักพักคงจะสามารถหัดดูดนิ้วโป้งของตัวเองได้
  • ไตกำลังเริ่มทำงาน เพื่อให้ลูกสามารถขับปัสสาวะหรือของเสียได้
  • ไขกระดูกของลูกน้อยกำลังผลิตเม็ดเลือดขาว สำหรับสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
  • เริ่มมีขากรรไกร และฟันอยู่ในปุ่มเหงือกแล้ว
  • อวัยวะเพศของลูกกำลังสร้าง อาจจะยังเห็นไม่ชัด อีกไม่นานคุณแม่จะได้ลุ้นว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง

เนื่องจากลูกน้อยยังมีขนาดเท่าลูกมะนาว อยู่ในถุงมดลูก ท้องของคุณแม่จึงจะยังไม่ขยายมากนัก แค่นูนๆขึ้นมานิดหน่อยบริเวณหัวหน่าวค่ะ เสื้อผ้าที่ใส่ตอนนี้อาจเริ่มคับขึ้นแล้ว คุณแม่สามารถเลือกซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ ที่ใส่สบายไว้ได้เลยนะคะ จะได้ทำอะไรได้สะดวกขึ้น

เช็คลิสต์กันหน่อย ท้อง 3 เดือน ต้องทำอะไรบ้าง

ท้อง 3 เดือน ลูก อยู่ ตรง ไหน

ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องหรือไม่ก็ตาม แต่การดูแลตัวเองนั้นเป็นสิ่งต้องทำทุกคนค่ะ ขอให้คุณแม่ลองเช็กลิสต์ดูหน่อยว่า คุณแม่ได้หลงลืมในการดูแลตัวเองในเรื่องเหล่านี้ไปบ้างหรือเปล่า หากคุณแม่ปฏิบัติตามนี้ ก็จะช่วยให้การตั้งครรภ์ราบรื่นไปได้ด้วยดีค่ะ

  • การออกกำลังกาย คุณแม่ควรมีร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ ถ้ามีโอกาสควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้คลอดลูกได้ง่ายขึ้นด้วย
  • การรับประทานอาหารเสริมบำรุงตามที่คุณหมอจ่ายให้ วิตามินค่อนข้างสำคัญมากสำหรับคุณแม่ในช่วงนี้ เพราะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากร่างกายกำลังทำงานอย่างหนัก
  • เริ่มรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้น หากอาการแพ้ท้องของคุณแม่ลดลงแล้ว คุณแม่ควรลดอาหารประเภทแป้ง ขนมให้น้อยลง เพิ่มอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น
  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในช่วงท้อง 3 เดือนนี้ คุณแม่บางท่านอาจจะยังต้องทำงานอยู่ แต่จะทำงานหนัก นอนดึกเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้แล้วนะคะ ถ้าไม่ดูแลร่างกายตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ จะยิ่งทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น
  • เริ่มตั้งชื่อลูกน้อยได้เลย ในกรณีที่คุณพ่อและคุณแม่ มีความเห็นที่ต่างกันด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้การตั้งชื่อใช้เวลานานมากขึ้นกว่าเดิมเลยค่ะ กว่าจะได้ข้อตกลงที่ลงตัวทั้งคู่

ท้อง 3 เดือน ลูก อยู่ ตรง ไหน

บทสรุปคุณแม่และลูกน้อย 3 เดือน

ในช่วงการตั้งท้อง 3 เดือนนี้ ลูกน้อยยังคงมีขนาดเล็กมากเท่าลูกมะนาว น้ำหนักตัวไม่ถึง 30 กรัม ซึ่งจะอยู่ในมดลูกของคุณแม่บริเวณหัวหน่าว แต่เมื่อลูกโตขึ้น มดลูกขยายขึ้น ท้องของคุณแม่ก็จะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบจะชิดถึงหน้าอกเลยค่ะ

หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องที่ลดลงแล้ว อย่าลืมทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานวิตามินบำรุงให้ได้ตามคำสั่งแพทย์ ออกกำลังกายบ้างเล็กน้อยนะคะ ซึ่งนี่ก็เป็นการดูแลตัวเองที่คุณแม่ต้องทำตามให้ได้

สำหรับใครที่ยังไม่ได้บอกข่าวดีกับคนรอบตัว ครอบครัว หรือคนที่บ้าน ก็ลองวางแผนได้เลยค่ะว่าจะแจ้งข่าวดีกับพวกเขาอย่างไรดี เพื่อที่คนรอบตัวจะได้ปฏิบัติกับเราได้อย่างถูกต้อง ในฐานะว่าที่คุณแม่ค่ะ

ท้อง 3 เดือน ลูก อยู่ ตรง ไหน

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category