ว่าที่คุณแม่เคยสงสัยไหมว่าการตั้งครรภ์คืออะไร? ทำไมจึงเกิดความมหัศจรรย์ที่ผู้หญิงเราสามารถให้กำเนิดมนุษย์ได้ แล้วการตั้งครรภ์แบ่งระยะเวลาอย่างไรบ้าง
ในบทความนี้จะพาทุกท่านที่อยากเป็นคุณแม่ไปรู้จักกับการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น พร้อมเช็คลิสต์สังเกตตัวเองว่าเตรียมจะเป็นแม่คนหรือยัง ไปติดตามด้านล่างกันเลยค่ะ
table of contents
เจาะลึกการตั้งครรภ์คืออะไร?
การตั้งครรภ์ (Pregnancy) คือ การที่ไข่ของผู้หญิงถูกอสุจิเข้ามาเจาะหลังจากการมีเพศสัมพันธ์แล้วเกิดการปฏิสนธิขึ้น โดยตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอจะเคลื่อนตัวไปฝังยังบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกของคุณแม่ ซึ่งช่วงนี้นี่แหละค่ะที่คุณแม่จะมีอาการต่างๆ หลังจากนั้นตัวอ่อนก็จะเริ่มเจริญเติบโตและมีการพัฒนาการอวัยวะจนเป็นรูปร่าง
ระยะเวลาของการตั้งครรภ์?
ปกติแล้วการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 4 สัปดาห์หรือนับจากวันแรกของรอบเดือนสุดท้ายประมาณ 280 วันค่ะ
การตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงเป็นยังไง?
ในการตั้งครรภ์จะแบ่งเป็นครรภ์ปกติและครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงค่ะ โดยครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะสามารถเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและบุตรได้เลยทีเดียว คุณแม่ที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานตัวเอง ถือเป็นกลุ่มโรคที่เมื่อตั้งครรภ์จะยิ่งทำให้คุณแม่ทรุดลงค่ะ
การตั้งครรภ์จะเสี่ยงมากถ้าคุณแม่เข้าข่าย #4 ข้อนี้
1. หากคุณแม่มีอายุน้อยหรือมากจนเกินไปจะทำให้เกิดครรภ์เสี่ยงได้ (น้อยกว่า 15 ปีและมากกว่า 35 ปี)
2. คุณแม่ที่น้ำหนักตัวมากเกินไปและน้ำหนักตัวน้อยเกินไป
3. คุณแม่ที่เป็นโรคเรื้อรัง
4. คุณแม่ที่เคยแท้งหรือเคยคลอดก่อนกำหนด
รู้หรือไม่ว่าการตั้งครรภ์มีกี่ระยะ?
ในทางการแพทย์การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
1.ระยะตั้งครรภ์
2. ระยะเจ็บครรภ์คลอด
3. ระยะหลังคลอด
#5 สัญญาณการตั้งครรภ์ที่เห็นได้ชัด
1. รอบเดือนขาด โดยปกติแล้วเมื่อรอบเดือนขาดนานกว่า 10 วันจะเริ่มสงสัยได้แล้วว่าสาวๆอาจตั้งครรภ์ค่ะ
2. มีอาการ Morning Sickness โดยว่าที่คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดและรู้สึกอยากอาเจียนในเวลาเช้า สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้มีอาการเหล่านี้เวลาเช้าก็ถือว่าปกติค่ะ ในบางรายอาจเป็นช่วงเวลาอื่นได้
3. มีการเปลี่ยนแปลงของหน้าอก จะเห็นได้เลยว่าเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น ปานนมใหญ่ขึ้นและเข้มขึ้น มีเส้นเลือดปูดโปนและมีตุ่มเล็กๆขึ้นในบริเวณปานนม
4. ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกของคุณแม่มีการขยายขนาดไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ สตรีที่ตั้งครรภ์จึงมักปวดฉี่บ่อย ข้อสำคัญคือไม่ควรอั๋นนะคะเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
5. มีอาการอ่อนเพลีย หายใจถี่ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ต้องใช้พลังงานมหาศาลในการนำไปเลี้ยงอีกหนึ่งชีวิตในครรภ์ จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้
บทสรุป การตั้งครรภ์
ผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมกับหน้าที่อันแสนยิ่งใหญ่ และนับว่าเป็นภาระหนัก เนื่องจากร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในช่วงเวลาตั้งครรภ์และนำมาซึ่งความลำบากร่างกายและเปราะบางต่อจิตใจ คุณแม่และครอบครัวจึงควรทำความเข้าใจธรรมชาติของการตั้งครรภ์เพื่อให้การให้กำเนิดชีวิตน้อยๆในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นนะคะ
Write a comment