ลักษณะของคุณแม่ในช่วงตั้งท้อง 15 สัปดาห์
เดินทางเข้าสู่ไตรมาสที่สองแล้ว ในสัปดาห์ที่ 15 นี้ ร่างกายของคุณแม่เริ่มมีหลายอย่างที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปค่ะ ถือว่าเป็นสัปดาห์การตั้งครรภ์ที่ค่อนข้างดี เพราะอาการแย่ๆหลายๆอย่างในช่วงแรก เริ่มหายไปแล้ว แต่ว่าจะยังคงมีอาการดังต่อไปนี้นะคะ
- เลือดออกตามไรฟันและเหงือกบวม
เกิดจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ทำให้เหงือกอักเสบและติดเชื้อจากคราบจุลินทรีย์ หากดูแลฟันไม่ดีในระหว่างตั้งครรภ์อาจติดเชื้อจนถึงขั้นทำให้ครรภ์เป็นพิษได้ - เลือดกำเดาไหล
เกิดจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับอาการเลือดออกตามไรฟันค่ะ เกิดจากการที่หลอดเลือดขยายตัวใหญ่ขึ้น ส่งผลให้มีเลือดในปริมาณที่มากขึ้น - น้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม
เนื่องจากลูกน้อยโตขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักตัวของคุณแม่ก็ควรเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ อย่างช้าๆและมั่นคงนะคะ - หิวง่าย กินบ่อย เสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน
เพราะคุณแม่ส่วนใหญ่มักพบว่าตนเองกินอาหารเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ - เส้นเลือดขอดบริเวณช่วงล่าง
มีโอกาสประมาณ 40% ของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เกิดเส้นเลือดนูนขึ้นตามเท้าหรือขา ช่วงเท้ามีขนาดใหญ่ขึ้น แต่หลังจากที่คลอดน้องเสร็จแล้วจะกลับมาเป็นปกติค่ะ - มีชีวิตชีวา มีอารมณ์ทางเพศอีกครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่ต้องระวังความปลอดภัยและท่าทางค่ะ
- ป่วยง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายกำลังอ่อนแอเพราะการตั้งครรภ์ สุขภาพของคุณแม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะ
การเจริญเติบโตของลูกน้อย 15 สัปดาห์
ช่วงตั้งท้อง 15 สัปดาห์ ลูกน้อยเริ่มมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นแล้ว และเริ่มโตเร็วขึ้นในทุกสัปดาห์ค่ะ เราลองมาดูกันว่าเจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการถึงไหนแล้ว
- น้ำหนักของลูกน้อยช่วงนี้จะมีขนาดเกือบ 100 กรัม ลำตัวยาวประมาณ 4 นิ้ว โดยขาจะเริ่มยาวกว่าแขน
- ลูกน้อยกำลังหัดหายใจ หัดดูด หัดกลืน เพื่อที่ออกจากท้องของคุณแม่ไปแล้ว จะได้มีทักษะเหล่านี้ติดตัวไปค่ะ
- ช่วงนี้ลูกน้อยจะขยันเต้นแอโรบิกในท้องคุณแม่ พร้อมโบกมือไปมาบ้าง กำมือบ้าง เตะหรือถีบบ้าง
- กำลังเกิดรากผม เส้นผม รวมไปถึงขนคิ้วและขนตามีสีที่เข้มขึ้น
- ส่วนหูของลูกน้อยเริ่มพัฒนา ทำให้ได้ยินเสียงจากภายนอกชัดเจนมากยิ่งขึ้น
คำแนะนำของการตั้งท้อง 15 สัปดาห์
- รักษาสุขภาพ
ด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือเป็นแหล่งเชื้อโรค - ทานผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง
เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย - แบ่งการทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ
แทนการทานครั้งละปริมาณมากๆในมื้อเดียว เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดไหลย้อนค่ะ - อนุญาตให้ทานขนมหรือของทานเล่นก่อนการออกกำลังกายได้ค่ะ เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับคุณแม่ อย่างไม่ต้องรู้สึกผิดนะคะ
- การทานอาหารที่หลากหลาย
เพื่อให้ตัวเองและลูกน้อยในท้องได้ทำความคุ้นเคยในการได้ลองอะไรใหม่ๆอีกด้วยค่ะ - ตรวจเช็คสุขภาพในช่องปาก
หากมีปัญหาให้ปรึกษาคุณหมอ พร้อมแจ้งว่ากำลังตั้งครรภ์ค่ะ - ตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคร้าย
หรือความผิดปกติลูกน้อยสามารถทำได้กับคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้เลยค่ะ - เริ่มเล่นเกมกับคู่รัก ช่วยทายกันว่าลูกน้อยจะเป็นเพศไหน สร้างบรรยากาศผ่อนคลายอีกแบบ
ข้อสรุปการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 15
ในช่วงนี้ถือว่าเป็นสัปดาห์ที่ดีของคุณแม่เลยค่ะ เพราะผ่านพ้นช่วงทรมานจากการเริ่มตั้งครรภ์ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแพ้ท้อง เวียนศีรษะ ทานอาหารไม่ค่อยได้
แต่คุณแม่อาจจะมีอาการในส่วนของเลือดกำเดาไหลและเลือดออกตามไรฟัน รวมไปถึงเหงือกบวม เนื่องจากหลอดเลือดกำลังขยายตัว เลือดสูบฉีดในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของลูกน้อย
ช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องพบคุณหมอบ้าง เพื่อตรวจเช็คการตั้งครรภ์ว่าลูกน้อยนั้นไม่พบความเสี่ยงใดๆ เช่น โรคดาวน์ซินโดรม เป็นต้น ส่วนสุขภาพในช่องปากก็สำคัญ หากมีฟันผุ ควรรีบจัดการให้เรียบร้อย ลดความเสี่ยงการติดเชื้อค่ะ และอย่าลืมแจ้งคุณหมอว่าตั้งครรภ์ด้วยนะคะ
โดยการตั้งท้อง 15 สัปดาห์นี้ มีข้อควรระวังในเรื่องการกินมากพอสมควรค่ะ คุณแม่ควรแบ่งทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ เพื่อลดอาการกรดไหลย้อน และทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดน้ำตาล ลดความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษจากเบาหวาน
นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถพูดคุย เปิดเพลงหรือเสียงดนตรีให้กับลูกน้อยฟังได้แล้วนะคะ เพื่อให้สายสัมพันธ์ของคุณแม่และลูกน้อยแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นค่ะ หรือบางคนอาจจะลองดนตรีที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการดีๆให้กับลูกน้อยฟังก็ได้นะคะ
Write a comment