ท้องแข็ง สัญญาณในคุณแม่ที่ต้องจับตาดู!

ท้องแข็ง สัญญาณในคุณแม่ที่ต้องจับตาดู!

ท้องแรก เป็นสิ่งที่ผู้หญิงอย่างเรา ๆ ต้องกังวลเป็นธรรมดาใช่ไหมล่ะคะ เพราะนอกจากฮอร์โมนของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนแล้ว การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกเป็นกังวล และตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

พัฒนาการของทารกในท้องในแต่ละเดือนก็แตกต่างกันไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ในแต่ละเดือนนั้น ก็ยิ่งไม่เหมือนกัน ในสามเดือนแรก อาจจะมีอาการอารมณ์แปรปรวน ความเครียด อันเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ในช่วงสามเดือนถัดมาอาจจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างเห็นได้ชัด คือการขยายออกของหน้าท้อง ส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อยตามตัว และการเปลี่ยนแปลงของระบบภายในร่างกายของคุณแม่

ในช่วงสามเดือนสุดท้าย ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องจับตาดูให้ดีเลยทีเดียว เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยใกล้จะลืมตาออกมาดูโลก ทำให้คุณแม่ต้องคอยสังเกตครรภ์ของตัวเองเป็นพิเศษ เพราะร่างกายจะส่งสัญญาณบางอย่างออกมา เพื่อเป็นการบอกว่า ใกล้คลอด

หรือต้องคลอดแล้วนะ ในวันนี้เราเลยจะพาคุณแม่หลาย ๆ คนมารู้จักกับอาการท้องแข็ง สาเหตุของอาการท้องแข็งจริง ๆ เป็นอย่างไร และอาการท้องแข็งที่เป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้คลอดมีลักษณะแบบไหน ไปดูกัน!

สาเหตุของอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็ง จริง ๆ แล้วไม่ได้เกิดกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคน ซึ่งสาเหตุของอาการท้องแข็งที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในหญิงตั้งครรภ์ก็คือ การดิ้น หรือโก่งตัวของทารกในครรภ์ เป็นสาเหตุของอาการท้องแข็งที่พบบ่อยที่สุด

เกิดจากการที่ทารกขยับตัวอย่างแรงจนชนกับผนังมดลูก ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว จนทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของทารก อย่างศอก ไล่ เข่า ปรากฏนูนออกมาบนหน้าท้องของคุณแม่ ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป

ท้อง แข็ง

แต่อย่างไรก็ตาม อาการท้องแข็งยังสามารถเกิดได้จากการที่มดลูกไม่แข็งแรง หรือการที่คุณแม่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ไปจนถึงการที่ทานอาหารมากจนเกินไป อาหารไม่ย่อย และเกิดเป็นแก๊สใสกระเพาะอาหาร ทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว เพราะถูกกระตุ้นจากการเบียดของกระเพาะอาหารนั่นเอง

ท้องแข็งใกล้คลอดคืออาการอย่างไร

อาการท้องแข็งที่พบในผู้หญิงตั้งครรภ์นั้น มักจะมีอาการแน่นท้อง หน้าท้องแข็ง รวมถึงมีอาการปวดท้องคล้ายกับการปวดประจำเดือน หรืออาการปวดอุจจาระ ซึ่งเป็นเสมือนสัญญาณเตือนว่าใกล้คลอดแล้ว มักจะเกิดในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เข้าสัปดาห์ที่ 28 โดยเกิดจากการที่ร่างกายเริ่มมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน

ส่งผลให้เกิดการหดตัวของมดลูก ทำให้ผนังมดลูกบางลง และขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะส่งทารกในครรภ์ให้ออกไปสู่ช่องคลอดได้ง่ายมากขึ้น โดยคุณแม่สามารถคอยสังเกตอาการท้องแข็งของตัวเองได้ดังนี้

ท้อง แข็ง

  • รู้สึกแน่นท้อง มีอาการท้องแข็งเวลาสัมผัส
  • ปวดท้องคล้ายกับการปวดประจำเดือน หรือปวดอุจจาระ

โดยทั่วไปอาการท้องแข็งมักจะเกิดขึ้นหายไปในทุก ๆ 15-20 นาที หากมีอาการเกิดขึ้นถี่กว่านี้ หรือมีช่วงระยะเวลาการเกิดน้อยกว่า 5 นาที และมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อน เช่นมีมูกเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีน้ำคร่ำ ที่เป็นของเหลวไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าใกล้คลอด และควรพบแพทย์ทันที

คุณแม่มือใหม่ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ท้องแข็ง

  • ไม่กลั้นปัสสาวะ หากมีอาการปวดปัสสาวะ ให้คุณแม่รีบเข้าห้องน้ำโดยทันที การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เป็นสาเหตุทำให้ท้องแข็งได้ เพราะกระเพาะปัสสาวะอาจจะไปเบียดมดลูกที่ใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์ ทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก ส่งผลให้เกิดอาการท้องแข็ง
  • ไม่บิดตัว หรือบิดขี้เกียจ เพราะการบิดตัวอาจจะทำให้ความดันในมดลูกสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการท้องแข็งได้เช่นกัน

    ท้อง แข็ง

  • ไม่กินอาหารมากจนเกินไป เพราะการทานอาหารที่มากจนเกินไป อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาหารไม่ย่อย เพราะปกติแล้วระบบย่อยอาหารของหญิงตั้งครรภ์มักจะทำงานไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ทำให้กระเพาะอาหารไปเบียดกับมดลูก เกิดการบีบตัวของมดลูก จนกลายเป็นอาการท้องแข็ง
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้ไปกระตุ้นมดลูกให้เกิดการบีบตัว ซึ่งเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์
  • ไม่ลูบหน้าท้องบ่อย การลูบหน้าท้อง หรือการสัมผัสกับอวัยวะที่ไวต่อการกระตุ้นความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาอาบน้ำหรือช่วงเวลาปกติ อาจจะส่งผลให้เกิดการบีบตัวของมดลูกได้เช่นกัน

สรุปท้องแข็งใช่สัญญาณเตือนใกล้คลอดไหมนะ

จริง ๆ แล้วอาการท้องแข็งโดยปกติไม่ใช่สัญญาณเตือนใกล้คลอด แต่เป็นสัญญาณเตือนว่ามีการบีบตัวของมดลูกเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากพฤติกรรมของลูกน้อย หรือคุณแม่

ซึ่งในกรณีหลังมักจะไม่เป็นผลดีต่อการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องคอยสังเกตตัวเองตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการท้องแข็งถี่จนเกินไป และมีน้ำคร่ำไหลออกมาแล้วล่ะก็ สัญญาณของการคลอดอย่างแน่นอน ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีนะคะ!

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category