เช็ค #10 อาการ 「ตั้งครรภ์สัปดาห์แรก」 สาวคนไหนมีครบได้เฮแน่!

เช็ค #10 อาการ 「ตั้งครรภ์สัปดาห์แรก」 สาวคนไหนมีครบได้เฮแน่!
ตั้ง ครรภ์ สัปดาห์ แรก
ที่มา https://pixabay.com/

ตั้งครรภ์สัปดาห์แรก…..ถึงเวลาของข่าวดีที่คุณแม่ คุณพ่อและครอบครัวรอคอย ใครที่กำลังลุ้นคงได้ยิ้มแก้มปริกันเลยใช่ไหมคะ แต่เชื่อว่าคุณแม่เจ้าของข่าวดีคนนั้นคงกำลังตามหาบทความอ่านเพื่อเมคชัวร์อาการของตัวเองอยู่แน่ๆ

รับรองว่าคุณแม่จะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน ถ้าลองเช็คลิสต์ตามอาการเหล่านี้! คงอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่ามีอาการอะไรบ้าง ถ้าแบบนั้นอย่ารอช้า ไปอ่านด้านล่างกันเลย

เช็ค #10 สัญญาณต้ังครรภ์สัปดาห์แรก

ตั้ง ครรภ์ สัปดาห์ แรก
ที่มา https://pixabay.com/

1. แน่นอนว่าต้องเป็นอาการประจำเดือนไม่มาตามปกติ เนื่องจากเมื่อเกิดการปฏิสนธิร่างกายจะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่าโพรเจสเตอโรนขึ้นมาเพื่อไม่ให้ผนังมดลูกลอกตัว ทำให้ว่าที่คุณแม่เมนส์ไม่มาเกินกว่า 10 วัน ถ้าหากว่ามีอาการนี้เตรียมเฮได้เลย!

อย่างไรก็ตาม การขาดของประจำเดือนก็อาจมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ก็ได้ เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง รู้สึกเครียดมากจนเกินไปจนทำให้ไข่ไม่ตก หรือเป็นโรคบางอย่างก็อาจมีผลต่อการขาดประจำเดือนได้ เช่น โรคของระบบต่อมไร้ท่อ เบาหวาน โรคเกี่ยวกับรังไข่ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีรอบเดือนมาไม่แน่นอนอยู่แล้ว
บีซีซี ติดตามฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์BCCGroup
2. ว่าที่คุณแม่จะมีอาการตกขาวมากกว่าเวลาปกติและมีเลือดจางๆซึมจากช่องคลอด เนื่องจากว่าเมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายก็จะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยทำให้เกิดตกขาว แต่อยากให้สาวๆโน้ตไว้ว่าตกขาวที่ปกติต้องมีสีใส สีขาวครีมหรือขาวขุ่นเท่านั้น ถ้าหากเป็นสีอื่นและมีอาการคันร่วมด้วยควรพบแพทย์ทันที
ตกขาวที่มีลักษณะผิดปกติ ได้แก่ มีสีเขียว สีเหลืองและมีอาการคันร่วมด้วย
หากมีเลือดไหลไม่หยุดและมีอาการปวดเกร็งท้อง อาจเป็นภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูก
3. มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด สำหรับสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะต้องปรับการใช้ชีวิตเพื่อลดอาการปวดหัวจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง โดยพยายามหาเวลาพักผ่อนและดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณเต้านม ช่วงนี้สาวๆจะรู้สึกได้ว่าเต้านมมีสีเข้มขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะกับส่วนของปานนม  มองเห็นเส้นเลือดชัดเจนขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนมีการเพิ่มมากขึ้น
5. หากเต้านมภายนอกเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วยังมีอาการคัดตึงบริเวณเต้านม เต้านมไวต่อสัมผัส รู้สึกเซนซิทีฟก็แทบจะฟันธงได้ทันที  ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังจากประจำเดือนของคุณแม่ขาดไปค่ะ
สาเหตุของอาการคัดเต้านั่นเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และจะพบว่าเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้น เต้านมก็จะยิ่งตึงมากขึ้น รวมทั้งมีความเปลี่ยนแปลงบริเวณเต้านมและหัวนมขึ้นอีก เช่น บริเวณลานหัวนมจะกว้างขึ้นและมีเส้นเลือดดำสีเขียว ๆ กระจายอยู่โดยรอบ หัวนมมีลักษณะสีคล้ำและขยายใหญ่มากขึ้น ผิวหนังบริเวณเต้านมบางลงจนสังเกตเห็นเส้นเลือดเต้านมมีสีแดงเข้มและนูนเด่นชัด ซึ่งเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมให้กับทารกนั่นเอง
บีซีซี ติดตามฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์BCCGroup
6. มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะกับหลังส่วนล่าง ไม่เพียงเท่านั้นในบางรายยังมีอาการตะคริว เนื่องจากว่ามดลูกขยายใหญ่ขึ้นทำให้หลังมีการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติค่ะ คุณแม่จึงควรปรับท่าทางการนอน หรือหาซื้อหมอนมาซัพพอร์ตหลังค่ะ
7. มีอาการปัสสาวะถี่ขึ้นจากเมื่อก่อน เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์แรก ร่างกายของคุณแม่จะมีของเหลวเพิ่มมากขึ้น ตัวมดลูกเองก็ขยายไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ไตก็ทำงานเพิ่มขึ้นทำให้มีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นนั่น้อง คุณแม่ไม่ควรอั้นนะคะ ไม่งั้นจะทำให้กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อได้
8. มีการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงตั้งครรภ์ส่งผลต่อระดับน้ำตาลและระดับความดันทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายคลายตัวและรู้สึกว่าตัวร้อนขึ้น มีการเสียพลังงานมากขึ้นทำให้รู้สึกเพลียมากกว่าปกติค่ะ
9. เริ่มหายใจถี่ขึ้น เนื่องจากร่างกายของสาวๆมีเด็กคนหนึ่งมาช่วยใช้ออกซิเจนทำให้ต้องหายใจถี่และเมื่ออายุครรภ์ยิ่งมากขึ้นจะยิ่งหายใจถี่ขึ้น เพราะว่าลูกโตจนไปเบียดกระบังลม
10.  มีการท้องผูกและท้องอืด เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นและไปเบียดกับลำไส้ทำให้การทำงานของลำไล้ลดลง คุณแม่จึงรู้สึกเหมือนว่าอาหารย่อยยาก เกิดลมในกระเพาะ
สามารถบรรเทาอาการท้องอืด ท้องผูกลงได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดเครื่องดื่มอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนม
บีซีซี ติดตามฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์BCCGroup

บทสรุป ตั้งครรภ์สัปดาห์แรก

ตั้ง ครรภ์ สัปดาห์ แรก

การตรวจเช็คว่าตัวเองมีการตั้งครรภ์หรือเปล่าไม่ใช่เรื่องยากเลย ในความเป็นจริงคุณแม่สามารถแน่ใจได้ตั้งแต่ประจำเดือนขาดเกิน 10 วัน

โดยร่างกายของคุณแม่ถ้าหากว่ากำลังตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพทั้งแม่และลูกทันที และเมื่อแน่ใจแล้วว่าตั้งครรภ์แน่ก็ควรรีบไปฝากท้องกับแพทย์ผดุงครรภ์เลยนะคะ

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category