คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ต่างก็ตั้งความหวังว่าอยากเห็นลูกตัวน้อย ๆ ออกมาให้ได้สัมผัส แต่ต้องมีอายุครรภ์กี่สัปดาห์ก่อนนะ ถึงจะคลอดได้ จะต้องรอครบ 9 เดือนเลยหรือไม่ หรือสามารถคลอดได้ก่อน และมีวิธีเตรียมตัวคลอดยังไง วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
ระยะเวลาในการตั้งครรภ์เท่าไหร่ถึงคลอด ?
โดยทั่วไปแล้ว อายุครรภ์ของคุณแม่ จะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ (หรือ 280 วัน) ถึงจะถึงวันครบกำหนดคลอด โดยเริ่มนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ แม้ว่าการตั้งครรภ์โดยส่วนใหญ่ จะเกิดหลังจากประจำเดือนหยุดประมาณ 2 สัปดาห์แล้วก็ตาม
ทั้งนี้ คุณแม่บางรายอาจจะคลอดลูกก่อนที่จะครบอายุการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่าการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยจากตัวคุณแม่หรือปัจจัยจากลูก ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์
ช่วงเวลาการตั้งครรภ์
ช่วงเวลาการตั้งครรภ์จะแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ช่วง ได้แก่
ในช่วงนี้ ครรภ์จะยังไม่โตมาก และจะมีอาการแพ้ท้องของคุณแม่
ในช่วงที่ 2 อาการแพ้ท้องจะน้อยลง อาจมีเวียนหัวบ้างในตอนเช้า และครรภ์ของคุณแม่จะโตขึ้นกว่ายี่สิบเท่าจากเดิม ทารกในท้องเริ่มดิ้นเป็น และคุณแม่ก็ต้องเปลี่ยนมาใส่ชุดคลุมท้องแล้ว
ในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่คุณแม่จะน้ำหนักขึ้น ทารกจะเริ่มกลับตัวและเคลื่อนตัวต่ำลงเรื่อย ๆ และมีการดิ้นอย่างแรง แสดงถึงความแข็งแรงและความพร้อมที่จะออกสู่โลกกว้าง ในขณะที่คุณแม่อาจเริ่มมีอาการปวดท้องเป็นพัก ๆ เตรียมพร้อมสู่การคลอด
ตารางแสดงการพัฒนาของครรภ์
เพศชาย
น้ำหนักและความยาวรอบศีรษะตามอายุครรภ์ สำหรับเด็กผู้ชาย | |||
---|---|---|---|
อายุครรภ์ | น้ำหนัก | ความสูง | ความยาวรอบศีรษะ |
40 weeks | 3.6 kg | 20 in. (51 cm) | 13.8 in. (35 cm) |
35 weeks | 5 lbs., 8 oz. (2.5 kg) |
18.1 in. (46 cm) | 12.6 in. (32 cm) |
32 weeks | 3 lbs., 15.5 oz. (1.8 kg) |
16.5 in. (42 cm) | 11.6 in. (29.5 cm) |
28 weeks | 2 lbs., 6.8 oz. (1.1 kg) |
14.4 in. (36.5 cm) | 10.2 in. (26 cm) |
24 weeks | 1 lb., 6.9 oz. (0.65 kg) |
12.2 in. (31 cm) | 8.7 in. (22 cm) |
เพศหญิง
อายุครรภ์ | น้ำหนัก | ความสูง | ความยาวรอบศีรษะ |
---|---|---|---|
40 weeks | 7 lbs., 7.9 oz. (3.4 kg) |
20 in. (51 cm) | 13.8 in. (35 cm) |
35 weeks | 5 lbs., 4.7 oz. (2.4 kg) |
17.7 in. (45 cm) | 12.4 in. (31.5 cm) |
32 weeks | 3 lbs., 12 oz. (1.7 kg) |
16.5 in. (42 cm) | 11.4 in. (29 cm) |
28 weeks | 2 lbs., 3.3 oz. (1.0 kg) |
14.1 in. (36 cm) | 9.8 in. (25 cm) |
24 weeks | 1 lb., 5.2 oz. (0.60 kg) |
12.6 in. (32 cm) | 8.3 in. (21 cm) |
สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ก่อนคลอด
เมื่อคุณแม่เริ่มเข้าสู่ช่วงใกล้คลอด ก็จะเริ่มมีสัญญาณที่บ่งบอกว่า ได้เวลาแล้วที่ทารกน้อยจะออกมาให้ได้เชยชม โดยคุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณ และมีการเตรียมตัวสำหรับลูกน้อย ดังนี้
โดยทั่วไปแล้ว ทารกจะต้องดิ้น 10 ครั้งต่อวัน อาจจะดิ้น เช้า เที่ยง เย็น ก่อนนอน แต่เมื่อนับรวมกันแล้ว ใน 1 วัน จะต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ถ้าน้อยกว่า 10 ครั้ง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของลูกน้อย
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ คุณแม่ต้องไปฝากครรภ์ต่อที่โรงพยาบาลหรือคลีนิคใกล้บ้าน แต่ไม่แนะนำให้ฝากครรภ์ที่สถานอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และควรมีการพบแพทย์ เพื่อตรวจภายใน ตรวจมดลูกว่าเปิดแล้วหรือยัง หากไม่เปิด ในช่วงนี้ แพทย์อาจจะต้องมีการกระตุ้นปากมดลูก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก
- มีอาการเจ็บท้องทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง และเจ็บถี่ขึ้นและแรงขึ้น
- มีมูกเลือดปนออกมาจากช่องคลอด
- น้ำคร่ำแตกหรือรั่ว
3 อาการเบื้องต้นเหล่านี้ เป็นอาการที่คุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะนี้คือสัญญาณของการเข้าสู่การคลอดทารกน้อย โดยคุณแม่จะต้องได้รับการตรวจภายใน แพทย์จะดูว่าปากมดลูกเปิดกี่เซนแล้ว มดลูกมีความหนาบางมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น แม่ต้องสังเกตอาการตัวเอง หากพบอาการข้างต้น รีบไปโรงพยาบาลทันที
คุณแม่ใกล้คลอด อะไรที่ต้องเจอ
เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ได้ประมาณ 36 สัปดาห์ คุณแม่จะหายใจสะดวกขึ้น เพราะท้องจะลดต่ำลง และมดลูกลดต่ำลง แต่คุณแม่ จะปัสสวะบ่อยขึ้น เพราะส่วนนำที่เป็นส่วนหัวเด็ก จะเข้าสู่อุ้งเชิงกราน กดเบียดช่องปัสสวะ ถึงแม่จะหายใจสะดวกขึ้น แต่แม่ก็จะเดินลำบากขึ้นด้วย
ในช่วงก่อนคลอด มดลูกจะบีบตัวเพื่อให้ส่วนนำเข้าสู่ช่องเชิงกราน โดยปกติแล้ว หากคุณแม่นั่งพัก อาการเหล่านี้ก็จะหายไป แต่ถ้าอาการนั้น มากขึ้น ถี่ขึ้น มากขึ้น ถี่ขึ้น นั่นคือสัญญาณว่าคุณแม่พร้อมจะให้กำเนิดทารกน้อยแล้วล่ะ
การปวดหลัง ปวดเอว เป็นตะคริวบ่อย ในคุณแม่ เป็นเพราะร่างกายแม่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เส้นเลือดดำในอุ้งเชิงกรานถูกหัวทารกกดทับ จึงส่งผลให้แม่เป็นตะคริวบ่อย
อาการก่อนคลอดในบางคน จะมีอาการเหมือนแพ้ท้องอีกครั้ง เพราะร่างกายจะเริ่มขับของเสียในร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอด แต่หากอาเจียนหรือถ่ายบ่อยเกินไป ก็ควรไปพบแพทย์
เมื่อถึงเวลาใกล้คลอด คุณแม่จะมีมูกเลือดออกทางช่องคลอด เนื่องจากปากมดลูกปล่อยเมือกเพื่อเตรียมขยาย ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยแตกหรือฉีกขาด จนมีมูกเลือดออกมา
การเกิดน้ำคร่ำรั่ว หรือแตก อาจเกิดที่บ้านได้ เมื่อคุณแม่มีอาการดังนี้ ให้รีบไปโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด
สิ่งที่ต้องเตรียมไปวันคลอดสำหรับลูกน้อย
1.เสื้อผ้าเด็กอ่อน
2.ผ้าห่อตัว
3.ผ้าอ้อม
4.ถุงมือ ถุงเท้า
5.ผ้าขนหนู
6.แชมพู
7.คอตตอนบัด
8.ออยล์
9.ทิชชู่เปียก
10.เปลนอน
สรุป
โดยทั่วไปแล้ว อายุครรภ์ของแม่ก่อนคลอดจะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอายุครรภ์ที่เหมาะสมแก่การคลอดลูก ทั้งนี้ ในคุณแม่บางคน อาจมีปัจจัยหรือสาเหตุบางอย่าง ที่ทำให้มีการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะอยู่ในการดูแลของแพทย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณแม่เข้าสู่ช่วงใกล้คลอด หรือท้องแก่ ก็หมั่นดูแลสุขภาพ และหมั่นสังเกตอาการของตัวเองด้วยนะคะ
Write a comment