คลอดก่อนกำหนดตอนอายุครรภ์ 7 เดือน จะเสี่ยงต่อทารกน้อยหรือไม่ ?

คลอดก่อนกำหนดตอนอายุครรภ์ 7 เดือน จะเสี่ยงต่อทารกน้อยหรือไม่ ?

คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน

ในช่วงอายุครรภ์ของคุณแม่ 7 เดือน จะเป็นช่วงที่ทารกน้อยในครรภ์ของคุณกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และใกล้จะพัฒนาเต็มที่ ในตอนนี้ ลูกน้อยจะมีร่างกายที่ใกล้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็น ในขณะที่ท้องของคุณแม่ก็ขยายใหญ่มากเช่นกัน อาจจะมีปวดหลังและเมื่อยล้าบ้างเป็นธรรมดา แต่ดีใจเถอะ เพราะนั่นหมายความว่า ลูกของคุณได้เตรียมพร้อมออกมาเจอคุณแม่แล้ว

อาการของคุณแม่ท้อง 7 เดือน

คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน

1.อาการปวดสะโพก

เมื่อมดลูกของคุณแม่เริ่มขยาย จะทำให้ไปกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกหรือหลังส่วนล่างได้  และมักจะเริ่มปวดตั้งแต่หลังส่วนล่างหรือสะโพกลงไปที่ขา โดยแพทย์อาจจะใช้แผ่นร้อนหรือเย็นช่วยบรรเทาอาการปวด ปกติแล้ว อาการปวดเหล่านี้จะหายไปหลังจากคลอดบุตร

2.อาการปวดกระดูกเชิงกราน
เมื่อใกล้คลอด แน่นอนว่ากระดูกเชิงกรานจะขยายออก ทำให้เกิดอาการปวดกระดูกเชิงกราน 
4.การหดตัวของ Braxton Hicks (อาการเจ็บท้องเนื่องจากมดลูกบีบตัว)
อาการนี้จะเริ่มใน่วง ไตรมาสที่สองหรือสามของการตั้งครรภ์ บางครั้งพวกคุณแม่จะรู้สึกว่าหน้าท้องเกร็งเล็กน้อยก่อนจะหายไป ซึ่งเกิดจากมดลูกบีบตัว 

พัฒนาการทารกวัย 7 เดือนในครรภ์

ทารกคลอดก่อนกำหนดจะเป็นอย่างไร?

คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน

1.ผิวหนังอาจยังไม่พัฒนาเต็มที่ และอาจแห้งหรือเป็นขุย ไม่มีไขมันใต้ผิวหนังเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น

2. เปลือกตาของทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากอาจปิดสนิทในตอนแรก และภายใน 30 สัปดาห์ ก็จะเริ่มตอบสนองต่องสิ่งต่าง ๆ ได้

3.ลูกน้อยของคุณอาจไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการหายใจ

4.อาจมีขนบนศีรษะเล็กน้อย และมีขนตามตัวอ่อน

5.อวัยวะเพศของทารกอาจมีขนาดเล็กและพัฒนายังไม่เต็มที่

ความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด

ภาวะความเสี่ยงในระยะสั้น

คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน

1.ปัญหาอุณหภูมิร่างกาย

ทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะสูญเสียความร้อนในร่างกายอย่างรวดเร็ว ไม่มีไขมันสะสมในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถจะสร้างความอบอุ่นให้แก่ตัวเองได้เพียงพอ

2.ปัญหาในการหายใจและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ 

ภาวะอุณหภูมิต่ำในทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดปัญหาในการหายใจและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ  ดังนั้น จึงต้องมีการให้ความอบอุ่นด้วยการป้อนนม หรือเข้าตู้อบ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ทารก

3.ปัญหาระบบทางเดินอาหาร

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะมีระบบทางเดินอาหารที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่  ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น โรคอักเสบของลำไส้เล็ก

4.ปัญหาเกี่ยวกับเลือด

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับเลือด เช่น โรคโลหิตจางและโรคดีซ่าน ในทารกแรกเกิด ภาวะโลหิตจาง เป็นที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ

5.โรคดีซ่าน

โรคดีซ่าน จะทำให้ทารกมีผิวและดวงตาสีเหลือง เกิดจากเลือดของทารกมีบิลิรูบินมากเกินไป ซึ่งเป็นสารสีเหลืองจากตับหรือเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมักพบได้บ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

 

ภาวะความเสี่ยงในระยะยาว

คลอดก่อนกำหนด 7 เดือน

1.ปัญหาการมองเห็น

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม ในระยะรุนแรง อาจทำให้การมองเห็นลดลงและทำให้ตาบอดได้

2.ปัญหาการได้ยิน

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมี ความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน ดังนั้นทารกทุกคนจึงได้รับการตรวจการได้ยินก่อนกลับบ้าน

3.ปัญหาทางช่องปาก

ทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาทางช่องปาก เช่น เปลี่ยนสีของฟัน หรือฟันที่เรียงตัวไม่ถูกต้อง

4.ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางพฤติกรรมหรือจิตใจบางอย่างรวมทั้งพัฒนาการล่าช้าด้วย

5.ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ซึ่งบางรายอาจต้องได้รับการดูแลในโรงพยาบาลมากกว่าทารกอื่น ๆ  เช่น การติดเชื้อ โรคหอบหืด และ ปัญหาการกินอาหาร และทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคไหลตาย (SIDS)

สรุป

โดยปกติแล้ว การคลอดก่อนกำหนดไม่ว่าจะกี่เดือน ก็ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้น แต่คงจะเสี่ยงกว่า หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือจำเป็น แล้วไม่รีบนำทารกน้อยออกมา ดังนั้น คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจไป

เพราะแม้ว่าลูกของคุณจะคลอดออกมาก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ 7 เดือน แต่แพทย์ก็สามารถช่วยดูแลให้เด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงได้เหมือนดังเด็กที่คลอดตามกำหนดทั่วไป

คลอดลูกLatest articles in the category