#7 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด คลอดตอน 6 เดือนปลอดภัยหรือไม่?

#7 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด คลอดตอน 6 เดือนปลอดภัยหรือไม่?

สำหรับคนที่หลงเข้ามาอ่านบทความนี้ ไม่มากก็น้อย ยังไงก็ต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ มีความสัมพันธ์กับคุณแม่มือใหม่แน่นอน วันนี้แอดมินเลยจะมาแชร์ความรู้ที่ช่วยให้เราดูแลเจ้าตัวน้อยจนสามารถออกมาดูโลกกับเราได้อย่างปลอดภัยกันค่า

ดังนั้นวันนี้แอดมินจะมาแชร์ 7# สัญญาณเตือนการคลอดก่อนกำหนด เพื่อช่วยให้คุณแม่มือใหม่ตั้งตัวรับมือได้ทันกันค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น เรามาเรียนรู้กันก่อนดีกว่าว่า “คลอดก่อนกำหนด” ที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ

คลอด ก่อนกําหนด 6 เดือน

ความหมายของการคลอด

ก่อนที่เราจะรู้จักคำว่า “คลอดก่อนกำหนด” นั้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การ “คลอดครบกำหนด” นั้นคือช่วงใด นั่นก็คือ การคลอดในช่วงอายุครรภ์ ที่ 37-40 สัปดาห์ ดังนั้น การคลอดในช่วงที่ก่อนจะถึงสัปดาห์ที่ 24-36 สัปดาห์ จะถือว่าเป็นการ “คลอดก่อนกำหนด” ทั้งสิ้น แล้วช่วงอายุครรภ์ก่อน 24 สัปดาห์ เรียกว่าอะไรกันนะ นั่นก็คือ “แท้ง” นั่นเอง

ดังนั้นบรรดาคุณผู้หญิงที่กำลังจะเป็นคุณแม่มือใหม่เร็วๆนี้นั้น ต่างก็พยายามประคองอายุครรภ์ให้ได้ตามเกณฑ์ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อย แล้วถ้าหากอยู่ดีๆคลอดก่อนกำหนดหล่ะ?

7# สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด

ปกติแล้วการคลอดก่อนกำหนดมักมีสัญญาณเตือนให้ทราบก่อน โดยเกิดจากสภาวะร่างกายที่ผิดปกติออกไป ซึ่งหากมีอาการเตือนดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรักษาชีวิตลูกน้อยให้ปลอดภัย โดยมีอาการเตือนดังนี้

1. น้ำคร่ำแตก

ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดก็คือ น้ำคร่ำแตก นี่เอง ซึ่ง น้ำคร่ำนั้นเป็นสิ่งที่ห้อหุ้มให้ลูกน้อยของเราลอยอยู่ในท้องได้อย่างสงบสุข ซึ่งอาการของน้ำคร่ำแตกก็คือ มีน้ำใสๆไหลออกมาจากช่องคลอด ถึงแม้จะพยายามกลั้นเหมือนกลั้นฉี่ก็ไม่สามารถทำได้

2. มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด

อาการนี้ไม่ต่างจากน้ำคร่ำแตกเลยค่ะ ถ้าเลือดไหลไม่หยุด ไปพบแพทย์ด่วนๆเลยค่ะ เพราะแสดงให้เห็นว่าต้องเกิดความผิดปกติกับลูกน้อยเรา ซึ่งอาการนี้มักจะเรียกว่า อาการ “แท้งคุกคาม” โดยจะมีเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออกมาอาจจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป และอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

แต่ปากมดลูกไม่เปิด ซึ่ง อาการแท้งคุกคามนี้เกิดได้หลายสาเหตุมากๆ ไม่ว่าจะเป็น ความพิการของทารกแต่กำเนิด, ความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ หรือ การตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน หรือก็คือท้องลมนั่นเอง ซึ่งเมื่อเกิดอาการท้องลม ร่างกายมักจะกำจัดออกจากร่างกายเองโดยอัตโนมัตินั่นก็คือ ออกมาเป็นเลือดนั่นเอง

3. มีอาการปวดหรือเป็นตะคริวที่บริเวณท้องช่วงล่าง

อีก 1 อาการที่หากเมื่อตั้งครรภ์แล้ว มีความรู้สึกเช่นนี้ เหล่าคุณแม่มือใหม่นี้ต้องหัดสังเกตุตัวเองมากๆเลยนะคะ ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดตะคริวระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณมดลูก ขยายตัวตามขนาดของเด็ก

รวมทั้งการที่เลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น ทำให้รู้สึกหนักท้องและอึดอัด รวมทั้งเกิดอาการปวดและรู้สึกไม่สบายท้อง จึงทำให้เป็นตะคริวได้ ถ้าเกิดอาการนี้ถี่มากขึ้น และเจ็บท้องมากขึ้น ควรรีบไปแพทย์นะคะ

4. มีอาการหดตัวของมดลูก

หากมีการหดตัวของมดลูก ถี่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะรู้สึกเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เช่นกันนะคะ เพราะบ่งบอกได้ว่าร่างกายเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น ที่อาจส่งผลไปถึงลูกน้อยของเราค่ะ

5. มีอาการเหมือนจะเป็นไข้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเสีย

อาการนี้มักจะเรียกว่า การแท้งติดเชื้อ เพราะเป็นอาการที่มีการอักเสบติดเชื้อ ทำให้คุณแม่มีไข้ ปวดท้อง และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมด้วย ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

6. มีอาการปวดหลังล่างหรือบริเวณเอว

อาการนี้คุณแม่มักจะต้องหมั่นสังเกตุดีๆ เพราะโดยปกติแล้วคุณแม่มือใหม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดอาการนี้กันทั้งนั้น เพราะด้วยน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้

แต่ถ้าหากพบว่าอาการปวดหลังมีอาการร้าว ไปจนถึงมีอาการชา อ่อนแรง ปวดลามลงไปที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างเร่งด่วนค่ะ

7. มีอาการความดันเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ

อาการนี้มักเกิดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยตัวคนไข้จะมีความดันสูงมากกว่า 140/90 มิลลิปรอท รวมถึงมีโปรตีนในปัสสาวะร่วมด้วย โดยอาการนี้เรียกว่า “ภาวะครรภ์เป็นพิษ” ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้

โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการร่วมด้วยก็คือ ปวดหัว ตาพร่า จุกแน่นลิ้นปี่ มีบวมที่แขนหรือขา ซึ่งต้องเฝ้าระวังด้วยการหมั่นสังเกตว่ามีอาการหน้าบวม แขนขาบวม ปัสสาวะเป็นฟอง หรือเกิดอาการปวดหัวตาพร่าขึ้นมาหรือไม่ ถ้ามีอาการดังกล่าว ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

คลอดตอน 6 เดือนปลอดภัยหรือไม่?

อย่างที่แอดมินได้แจ้งไปตั้งแต่ต้นบทความว่า การคลอดในช่วงอายุครรภ์ต่างๆ มีการเรียกแตกต่างกัน นั่นก็คือ

  • การคลอดในช่วงอายุครรภ์ก่อนถึงสัปดาห์ที่ 24 สัปดาห์ จะเรียกว่า “การแท้ง”
  • การคลอดในช่วงอายุครรภ์ก่อนจะถึงสัปดาห์ที่ 24-36 สัปดาห์ จะเรียกว่า “การคลอดก่อนกำหนด”
  • การคลอดในช่วงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 37-40 สัปดาห์ จะเรียกว่า “การคลอดในช่วงครบกำหนด” 

ดังนั้นอายุครรภ์ 6 เดือน นั่นก็คือ “24 สัปดาห์” จะเรียกว่าการคลอดก่อนกำหนด แล้วหากคลอดก่อนกำหนดจะปลอดภัยหรือไม่นั้น

บทสรุปหากคลอดก่อนกำหนดตอนท้อง 6 เดือนจะเป็นเช่นไร

ด้วยวิทยาการของแพทย์ในสมัยนี้ที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้เมื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ เด็กจะอยู่ในไอซียูทารกแรกเกิด และได้รับการดูแลจนกว่าร่างกายจะแข็งแรง

และสามารถหายใจได้เองก่อน จึงจะให้กลับบ้านได้ นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่ทางโรงพยาบาลสนับสนุนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กก็คือ นมแม่ นั่นเอง

คลอดลูกLatest articles in the category