สวัสดีค่ะทุกคน
ดีใจกับคุณแม่มือใหม่ทุกคนด้วยนะค่า! และวันนี้เราเชื่อว่าหลายคนคงกำลังเผชิญกับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายมากมายจากการตั้งครรภ์ แต่สิ่งผิดปกติเหล่านั้นอาจไม่ใช่สิ่งผิดปกติจริงๆ ก็ได้เช่นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือประจำเดือนที่หายไปหรืออาการง่วงหาวหรือเพลียอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องปกติ
แต่สิ่งที่ผิดปกติในวันนี้เรามาพูดถึงอาการมีเลือดออกในช่องคลอดเป็นสีน้ำตาล แน่นอนว่าทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลว่าอันตรายมากไหมเป็นความผิดปกติที่อาจส่งผลทำให้แท้งลูกได้หรือเปล่า? วันนี้เราจะพาคุณแม่ทุกคนไปไขข้อสงสัยกันค่ะ
ก่อนไปเราขอเสนอให้ทุกคนรู้จักกับอาการเบื้องต้นของคนท้อง 2 เดือน กันก่อนว่ามีอาการอะไรบ้างสามารถใช้ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงร่างกายของเราได้ว่าผิดแปลกไปจากนี้ไหม อย่ารอช้าไปดูกันเลย!
อาการของคนท้อง 2 เดือน
อายุครรภ์ 2 เดือนคือการตั้งท้องในช่วงไตรมาสแรกดังนั้นช่วงระยะเวลานี้ตัวอ่อนจะมีความบอบบางเพราะอยู่ในช่วงที่กำลังจะพัฒนาเซลล์ของร่างกายดังนั้นวันนี้เรามาดูอาการของคนท้อง 2 เดือน กันดีกว่าว่ามีอาการอย่างไรบ้าง
แพ้ท้องหนักมาก เช่น
- เวียนหัว
- อาเจียน
- เหนื่อยง่าย
- ได้กลิ่นเหม็นจนรู้สึกทนไม่ไหว
อารมณ์แปรปรวน เช่น
- หงุดหงิดได้ง่าย
- รู้สึกเบื่อเป็นช่วงๆ
ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- มีตกขาวมากกว่าปกติ
- มีเลือดออกมาบ้างหรือมีเลือดออกมาปนกับตกขาวเล็กน้อย
และนี้คืออาการเบื้องต้นที่คนท้อง 2 เดือนมักจะเป็นได้และควรที่จะระมัดระวังให้มากๆ ในช่วงนี้เพราะตัวอ่อนในท้องของเรากำลังอยู่ในขั้นที่กำลังจะพัฒนาและเจริญเติบโตตามลำดับ
ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่าการมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสีน้ำตาล อันตรายมากไหมเสี่ยงต่อการแท้งลูกหรือไม่ไปดูกันเลย
ท้อง 2 เดือน มีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสีน้ำตาล ” เสี่ยงต่อการแท้งลูก ” หรือไม่?
โดยปกติแล้วอาการของคนท้อง 2 เดือนจะมีตกขาวมากและอาจมีเลือดออกมาปนกับตกขาวบ้างเล็กน้อยถือว่าเป็นเรื่องปกติแต่ต้องเฝ้าระวังอย่างเคร่งครัดเพราะการมีเลือดออกจากช่องคลอดนั้นถือว่าเข้าข่ายเสี่ยงต่อการ ” แท้งคุกคาม “ และวันนี้เรามาดูกันว่าอาการเหล่านี้อันตรายไหมแล้วเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนกันแน่
เรามาทำความรู้จักกับ “แท้งคุกคาม” กันดีกว่าว่าคืออะไร
แท้งคุกคาม คือ การแท้งลูกประเภทหนึ่งที่มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดมาแบบกะปริบกะปรอยและจะมีอาการปวดท้องน้อยแบบเกร็งๆ ร่วมด้วยซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับคนที่อายุครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกหรือไม่เกิน 20 สัปดาห์ บางคนอาจมองข้ามและรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติดังนั้นเราจึงควรเฝ้าระวังหากมีเลือดออกมาในปริมาณที่มากขึ้นพร้อมกับอาการที่ปวดท้องน้อยแบบเกร็งๆ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจทำให้สูญเสียลูกในครรภ์ได้
ต่อไปเราไปดูสาเหตุที่ทำให้เกิดการ “แท้งคุกคาม” กันดีกว่า
รู้ทัน!! 10 สาเหตุของการ “แท้งคุกคาม”
- มีเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในมดลูกอาจจะพบมากในคนที่ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆอาจส่งผลในตอนตั้งครรภ์ได้
- การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสบริเวณช่องคลอด
- ความผิดปกติของทารกในครรภ์หรือโครโมโซมมีความผิดปกติ
- การใช้เสพสารเสพติดหรือยาบางประเภทที่มีฤทธิ์กดประสาท
- ตำแหน่งของรกเกาะติดอยู่ที่บริเวณบนผนังมดลูก
- การตั้งท้องนอกมดลูกที่มักจะเกิดจากการผิดปกติของการตั้งครรภ์เช่น การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นจำนวนมากเป็นต้น
- การได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ช่องคลอด เช่นแรงกระแทก หรือ อุบัติเหตุ
- คนท้องอายุมาก ก็อาจส่งผลต่อความผิดปกติของลูกในครรภ์ได้เนื่องจากมดลูกอาจมีความแข็งแรงที่ลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น
- เป็นโรคเรื้อรังมาก่อนตั้งครรภ์ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
- เหยื่อบุโพรงมดลูกไม่แข็งแรงซึ่งเกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ
และนี้คือ 10 สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการแท้งคุกคามได้ ดังนั้นทุกคนควรตรวจสุขภาพและวางแผนก่อนมีบุตรจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เรามั่นใจเรื่องอนาคตของลูกเราได้
ต่อไปเราดูกันดีกว่าว่าสรุปแล้วการมีเลือดออกจากช่องคลอดจำเป็นต้องพบแพทย์ไหมและจะป้องกันได้อย่างไรบ้างไปดูกันเลย
สรุปแล้ว!! ท้อง 2 เดือนมีเลือดออกจากช่องคลอดเป็นสีน้ำตาล ต้องพบแพทย์ไหม??
การที่มีเลือดออกจากช่องคลอดถึงจะเป็นอาการที่พบได้จากคนที่ท้องได้ 2 เดือนก็ตามแต่ก็ยังเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้เช่นเดียวกันเพราะฉะนั้นคุณแม่ที่มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดเเละ กำลังกังวลใจสามารถพบแพทย์เพื่อเช็ดครรภ์และรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้เพื่อเลี่ยงการเสี่ยงแท้งคุกคามที่อาจก่อให้เกิดการสูญเสียบุตรในครรภ์ได้ และต่อไปนี้เราไปดูการป้องกันการแท้งคุกคามกันดีกว่า go go!!
6 วิธี “ป้องกัน” การแท้งคุกคามที่าอาจเกิดขึ้นได้กับคนท้อง 2 เดือน
-
งดดื่มแอลกอฮอล์ และ สูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
-
ลดประมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-
งดอาหารทะเลที่มีสารปรอทพบมากในอาหารทะเลตามตลาด (ควรซื้ออาหารทะเลแบบสดใหม่จากเรือประมง)
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสและสูดดมสารเคมีที่อันตรายต่อคนท้อง
-
หากพบว่าติดเชื้อหรือมีไวรัสในร่างกายควรรีบรักษาให้หายโดยทันที
-
รับประทานอาหารที่มีวิตามินช่วยในการบำรุงร่างกายของคนท้องเช่น โฟเลต ธาตุเหล็ก และ แคลเซียม
-
ควรออกกำลังกายแบบเบาๆ เพื่อช่วยทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้เต็มที่และช่วยลดปัญหาท้องผูกที่พบมากในคนตั้งครรภ์ด้วย (ต้องออกกำลังกายแบบเบาๆ มาก หรือการออกกำลังกายสำหรับคนท้องนั้นเอง)
ในวันนี้คงต้องลากันแล้ว ขอให้คุณแม่ทุกคนผ่านพ้นปัญหาและมีความสุขกับของขวัญชิ้นใหญ่นะคะ
เริ่มต้นปีใหม่ด้วยสิ่งดีๆ happy new year นะค่าา!!
Write a comment