เอ๊!! โรคซึมเศร้ารักษาได้หายขาดจริงหรือ?? #2 วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่จะทำให้คนซึมเศร้า(ไม่)เศร้า อีกต่อไป

เอ๊!! โรคซึมเศร้ารักษาได้หายขาดจริงหรือ?? #2 วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่จะทำให้คนซึมเศร้า(ไม่)เศร้า อีกต่อไป

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

สวัสดีค่าาาา!!

วันนี้แอดนำสาระดีๆเกี่ยวกับ “ โรคซึมเศร้า “ โรคเงียบที่มาแบบไม่ทันตั้งตัวแอดขอบอกเลยนะสำหรับใครที่สงสัยและกำลังสังเกตเห็นเห็นความผิดปกติของคนรอบข้างที่เศร้ามากๆเศร้านานๆ เขาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือแค่เศร้าเพราะเสียใจกันแน่

แน่นอนเราจะรู้ได้เราต้องเช็กอาการของคนที่ป่วยเพื่อนำไปสู่การรักษาโรคนี้ให้หายไป เอ๊?? แต่จะเช็กยังไง อาการผู้ป่วยโรคนี้สังเกตจากอะไร ถ้าหากว่าป่วยจริงจะรักษาอย่างไรและรักษาให้หายขาดได้ไหม วันนี้แอดมีคำตอบที่จะไขข้อสงสัยดังกล่าวแล้วววว

ก่อนไปเช่นเคยแอดอยากให้ทุกคนเข้าใจกับโรคซึมเศร้าก่อนเพื่อความเข้าใจจะทำให้เราสามารถรับมือและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ถ้าพร้อมแล้วไปเลยยยยยย!!

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

ไขข้อสงสัยโรคซึมเศร้าคืออะไรกันแน่?

” โรคซึมเศร้าคืออะไร  ? ” จริงๆ แล้วโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทใสมองโดยส่วนนี้จะมีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการและพฤติกรรมของคนเศร้าเสียใจเท่านั้นเองแต่จริงๆ แล้วโรคซึมเศร้าเกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองนั้นจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์อย่างถูกวิธี โดยอาการสังเกตในการพิจารณาว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ มีดังนี้

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

9 อาการป่วยโรคซึมเศร้า

  1. รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิต
  2. ซึมเศร้าและท้อแท้ไม่อยากทำกิจกรรมอื่นๆ
  3. หลับตื่นๆ หรือนอนมาก และนอนน้อยผิดปกติ
  4. เป็นคนเชื่องช้าหรือเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียวในบางครั้ง
  5. เป็นคนเหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
  6. รู้สึกเบื่อหาร หรือเจริญอาหารมากผิดปกติ สังเกตจากน้ำหนักที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้น
  7. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและมักโทษตัวเองอยู่เสมอ
  8. ไม่มีสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ สติล่องลอยไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
  9. คิดจะฆ่าตัวตายและทำร้ายตัวเอง

** อาการเหล่านี้สังเกตในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หากพบอาการดังกล่าวถึง 5 อาการควรรีบพบแพทย์ **

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

#3 ประเภทโรคซึมเศร้าที่ควรรู้ไว้

ประเภทของโรคซึมเศร้ามี 3ประเภท แต่ละประเภทจะทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

1. Major Depression

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความผิดปกติทางอารมณ์นานกว่า 2 สัปดาห์ จะมีอาการเศร้ามากและไม่สนใจยิ่งอื่นหรืออยากทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ป่วยประเภทนี้เหมาะที่จะรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการรักษาแบบจิตบำบัดเพื่อป้องกันการป่วยในระดับรุนแรงที่เสี่ยงต่อการเกิดการคิดฆ่าตัวตาย

2Dysthymia Depression

โรคซึมเศร้าประเภท ผู้ป่วยจะมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรงมากแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารและนอนไม่หลับ บางครั้งอ่อนเพลีย หมดแรงไปจนถึง ไม่มีสมาธิ ขาดความมั่นใจในตัวเอง

3. Bipolar Disorder

ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าประเภท Dysthymia Depression จะมีอาการเซ็ง และซึมเศร้าในบางครั้งก็อยู่สุขไม่ได้โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกันหรือต่างขั้วกันนั้นเอง โดยผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีอารมณ์แปรปรวนและจะมีผลต่อตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ และบางครั้งการผิดพลาดในการตัดสินใจส่งผลทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประเภทนี้คิดอยากฆ่าตัวตายได้

เป็นยังไงบ้างเพื่อนๆ พอจะเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามาบ้างแล้วใช่ไหมล่ะ เมื่อเราเข้าใจโรคนี้แล้วเราไปดูการรักษาโรคนี้อย่างถูกวิธีกันเพื่อที่จะมาสามารถรักหายขาดจากโรคซึมเศร้านั้นเอง ไปเลยยยย

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้คนซึมเศร้า(ไม่)เศร้าอีกต่อไป

การรักษาโรคซึมเศร้าหลักๆ มีอยู่ 2 วิธีคือการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยจิตบำบัด การรักษาด้วยยามักใช้กับผู้ที่มีอาการระดับกลางไปถึงรุนแรงส่วนการรักษาด้วยจิตบำบัดใช้กับผู้ป่วยที่มีอาหารขั้นแรงคือไม่รุนแรงแต่ 2 วิธีนี้สามารถใช้เป็นการรักษาควบคู่กันได้

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

การรักษาด้วยยา

ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าแบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ 3 กลุ่มหลัก ได้แก

1. selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI)

ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีความวิตกกังวลกล ยากลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการดูดซึมกลับของสารสื่อประสาท ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่

  • Fluoxetine
  • sertraline
  • paroxetine
  • citalopram
  • fluvoxamine

** ผู้ป่วยจะรับประทานเพียงวันละครั้ง **

2. tricyclic antidepressants (TCA)

เป็นยาที่ใช้กันทั่วไป หาซื้อได้ง่ายถ้าหากแพทย์สั่ง ยากลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการดูดซึมกลับของสารสื่อประสาทในสมองที่เป็นตัวสำคัญทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์และความรู้สึก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่

  • amitriptyline
  • Clomipramine
  • imipramine
  • nortriptyline

** การใช้ขนาดของยากลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของโรคซึมเศร้าและมีผลข้างเคียงดังนั้นแพทย์จึงจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจ่ายยาให้ผู้ป่วย *

3. ยากลุ่มใหม่

เป็นยากลุ่มที่ไม่ส่งผลข้างเคียงที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงเหมือนกลุ่มยาอื่นๆและเป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการเลิกบุหรี่ได้ซึมในไทยมีการจดทะเบียนไว้แล้ว แต่ยากลุ่มนี้สามารถเป็นยาแก้ซึมเศร้าได้ด้วย ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่

norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) 

  •  venlafaxine

norepinephrine-dopamine reuptake inhibitor (NDRI) 

  • bupropion

noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSA) 

  • mirtazapine
  • mianserin (tetracyclic antidepressant)

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

การรักษาด้วยจิตบำบัด

การรักษาจิตบำบัดหรือการรักษาทางจิตใจ มีวิธีรักษาทางจิตใจหลักๆ มี 3 วิธีการรักษา โดยการรักษาคือการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการให้คำแนะนำและรับฟังปัญหาซึ่งอาจเป็นการพูดคุยและปรึกษากับจิตแพทย์ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเองและสามารถรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ตัวเองซึมเศร้า แนะสร้างการยอมรับปัญหาและก้าวผ่านช่วงเวลาแย่ๆ ไปได้

การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยจิตบำบัดมี 3 วิธีดังนี้

1. การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม

เป็นการรักษาที่เน้นการให้คำแนะนำและพูดคุยเพื่อปรับความคิดในแง่ลบให้เป็นคนคิดบวกมากขึ้น แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยให้เข้าใจปัญหาและช่วยหาทางแก้ปัญหาของผู้ป่วยไปทีละขั้นตอนวิธีนี้จะทำการรักษาควบคู่กับการใช้ยาในบางครั้งแล้วแต่แพทย์เห็นเหมาะสมและนี้จึงสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับมาใช้ชีวิตได้ปกติและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

2. การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

การรักษาวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม จะเน้นการรักษาทำให้ผู้ป่วยรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นและคนในครอบครัวเพื่อที่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติร่วมกันคนรอบข้างได้

3. การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก

เป็นการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจปัญหาของตัวเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะยอมรักปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ การเข้าใจปัญหาจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

และนี้คือ 2 วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การที่จะรักษาให้หายได้เร็วขึ้นอยู่กับว่าเราค้นพบว่าตัวเองป่วยตอนไหนและระดับอาการอยู่ระดับไหนด้วย หากปล่อยไว้นานจนอาการรุนแรงแล้วมารักษาก็อาจจะใช้เวลาในการรักษานานไปด้วยนั้นเองง

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

สรุป!!! โรคซึมเศร้ารักษาหายขาดได้ไหม

โรคซึมเศร้ารักษาให้หายขาดได้นะคะทุกคน การรักษาให้หายขาดประกอบไปด้วย ความตั้งใจ/เข้าใจ/ซื่อสัตย์และความอดทนของผู้ป่วยและคนรอบข้างด้วย การรักษาที่ถูกวิธีจะนำเราไปสู่การมีชีวิตที่มีความสุขอีกครั้ง การปล่อยตัวเองเศร้านานๆ จนมีอาการป่วยที่รุนแรงมากขึ้นจะทำให้การรักษาหายยากขึ้นตามระดับของอาการ แต่หากเราพบว่าตัวเองป่วยและรักษาได้ทันท่วงทีเราก็จะหายได้เร็ว ถ้าหากอาการอยู่ในระดับรุนแรงแล้วเราอาจจะต้องกินยาเป็นเวลานานและยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่มีผลข้างเคียงกินไปนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆในอนาคต

ดังนี้แอดขอแนะนำเลยนะคะรีบเช็กอาการของตัวเองหรือสงสัยคนใกล้ตัวว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าก็สามารถให้พวกเขาเช็กได้ แอดขอแปะลิงค์เช็กอาการไว้ด้านล่างนะคะ

โรคซึมเศร้าวิธีรักษา

สำหรับวันนี้แอดคงต้องไปแล้วไปไว้เจอกันใหม่นะค่าา

สุขภาพLatest articles in the category