รวมมาให้ครบ #18 ข้อที่คุณแม่ 「ตั้งครรภ์ 7 เดือน」ควรรู้เมื่อถึงโค้งสุดท้าย

รวมมาให้ครบ #18 ข้อที่คุณแม่ 「ตั้งครรภ์ 7 เดือน」ควรรู้เมื่อถึงโค้งสุดท้าย
ตั้ง ครรภ์ 7 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินมาถึง 7 เดือน คุณแม่หลายคนคงเริ่มเบาใจจากหลากหลายปัญหาก่อนหน้า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีปัญหาใหม่มาให้กังวลอีกต่อ

ในที่นี่ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตนเอง พัฒนาการของลูกหรือสิ่งที่ควรทำเมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ล้วนเป็นอะไรที่คุณแม่ต้องพิถีพิถันทั้งหมด บทความนี้จะไม่ปล่อยให้คุณแม่ต้องลำบากตามหาข้อมูล เพราะเรารวบรวมสิ่งที่จำเป็นมาทั้งหมดแล้วค่ะ ไปอ่านกันเลย

#7 สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยเมื่อตั้งครรภ์ 7 เดือน

1. ลูกจะมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นมาก มากจนเกือบเต็มพื้นที่มดลูกของคุณแม่เลยค่ะ ดังนั้นคุณแม่จึงควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก รวมถึงคอยสังเกตการเคลื่อนไหวของลูก เพราะถ้าหากว่าลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลยต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

2. ลูกจะมีการพัฒนาที่ต่อมรับรู้รสชาติ โดยในเดือนที่ 7 นี้ลูกจะสามารถจดจำรสชาติได้แล้วและจะจำได้ไปจนถึงเมื่อคลอดเลยนะคะ ช่วงนี้การรับประทานสิ่งต่างๆของคุณแม่จึงเป็นเรื่องของลูกน้อยด้วยเช่นกันค่ะ

3. พัฒนาการสมองของลูกที่ดีขึ้นทำให้ช่วงเดือนที่ 7 นี้ลูกจะสามารถจดจำและแยกแยะเสียงต่างๆได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเสียงคุณพ่อคุณแม่ เสียงดนตรี เสียงคุ้นเคยรอบตัว

4. ร่างกายของลูกเริ่มมีการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่เหี่ยวย่นอีกต่อไป

5. ลูกสามารถลืมตาได้แล้วนะคะในเดือนที่ 7 นี้

6. เช่นเดียวกันนั่นคือ ลูกสามารถหายใจได้เองได้แล้ว แม้ว่าหลักๆจะยังใช้ออกซิเจนผ่านสายสะดืออยู่

7. คุณแม่ต้องระมัดระวังให้มาก เนื่องจากในช่วงเดือนที่ 7 ลูกน้อยจะไวต่อการกระตุ้น การสัมผัสเป็นอย่างมาก

  • ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1,000 กรัม
  • ต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนี้ผิวลูกในท้องจึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น
  • ทารกในท้องลืมตาได้เองแล้ว
  • ช่วงนี้พื้นที่ในท้องแม่แคบลงเพราะลูกตัวใหญ่ขึ้น เมื่อลูกเริ่มยืดแขนขาแม่จึงรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย
  • ทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษณะคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว
  • ทารกมีการกลืนน้ำคร่ำ และฝึกการดูดนมด้วยเช่นกัน สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มล.ต่อวัน

รักลูก ติดตามฉบับเต็มต่อได้ที่เว็บไซต์Rukluke

#6 สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญเมื่อตั้งครรภ์ 7 เดือน

ตั้ง ครรภ์ 7 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

1. คุณแม่จะมีปัญหาในการนอนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความลำบากในการนอน เพราะท้องขยายใหญ่ขึ้น หรือปัญหาการนอนหลับไม่สนิทเนื่องจากลูกดิ้นหรือการลุกมาเข้าห้องน้ำถี่

2. คุณแม่จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากตอนนี้ครรภ์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ทำให้ไปกดกระเพาะปัสสาวะ สิ่งที่ควรทำคือ การลุกมาเข้าห้องน้ำและพยายามไม่อั้นปัสสาวะ เนื่องจากจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและติดเชื้อได้

3. คุณแม่จะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เนื่องจากครรภ์ลอยสูงขึ้นไปเบียดกระบังลมทำให้หายใจไม่สะดวก

4. คุณแม่จะมีอาการปวดที่เรียกว่า อาการไซติก้า (Sciatica) โดยจะมีอาการปวดตามเส้นประสาทตั้งแต่ช่วงเอวไปจนถึงบริเวณขา

5. คุณแม่จะมีอาการของกรดไหลย้อน นั่นคือ มีอาการแสบร้อนกลางทรวงอก เกิดจากอาหารไม่ย่อยและมีอาการวิงเวียนศีรษะร่วมด้วย

6. คุณแม่จะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและรู้สึกว่าลูกดิ้นถี่และแรงขึ้น

อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือนควรรับประทาน

  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมแก่ทารก
  • ช่วงนี้วิตามินซีมีความจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กแล้ว ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกด้วย
  • แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับวิตามินเค ที่จะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้นและช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้แก่คุณแม่ได้

รักลูก ติดตามฉบับเต็มต่อได้ที่เว็บไซต์Rukluke

#5 สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมเมื่อตั้งครรภ์ 7 เดือน

ตั้ง ครรภ์ 7 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

1. เตรียมวางแผนการคลอด เนื่องจากตอนนี้ถือเป็นโค้งสุดท้าย คุณแม่ควรศึกษาว่าวิธีคลอดแบบไหนเหมาะกับตนเองมากที่สุด แล้วจะเลือกโรงพยาบาลใด ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แต่ละที่มีข้อดีข้อเสียยังไงค่ะ

2. ในช่วงนี้การเรียนรู้อาการเตือนหรือสัญญาณเตือนการคลอดถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เนื่องจากคุณแม่จะเป็นคนแรกที่รับรู้อาการทุกอย่างและควรจะมีสติที่สุดเมื่อเกิดสถานการณ์คับขันค่ะ

3. คุณแม่ควรใส่ใจการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ เพื่อที่จะสังเกตและรับมือได้ทันท่วงทีหากว่าลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง หากว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ

4. คุณแม่ต้องไปตามนัดแพทย์ผดุงครรภ์ เนื่องจากแพทย์จะตรวจพัฒนาการของลูกว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ มีการติดตามความผิดปกติต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นคุณหมอยังจะให้คำแนะนำที่ควรทราบอีกด้วย

5. คุณแม่ควรเตรียมพร้อมเมื่อลูกคลอด ไม่ว่าจะไปการเตรียมตัวเข้าคอร์สอบรมหรือแม้แต่การอ่านหนังสือด้วยตนเอง ในขั้นตอนนี้สามารถชวนคุณพ่อไปทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเตรียมรับมือค่ะ

ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมี 4 สัญญาณดังต่อไปนี้

  • มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากช่องคลอด
  • ปวดแบบบิด ๆ โดยปวดอย่างรุนแรงหรือผิดปกติ
  • การดิ้นและการเคลื่อนไหวของทารกผิดไปจากเดิม หรือน้อยกว่า 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง
  • หายใจลำบาก หรือหายใจแย่ลงเรื่อย ๆ

พบแพทย์ ติดตามฉบับเต็มต่อได้ที่เว็บไซต์Pobpad

บทสรุป ตั้งครรภ์ 7 เดือน

ตั้ง ครรภ์ 7 เดือน
ที่มา https://pixabay.com/

ถึงแม้จะมาถึงโค้งสุดท้ายแต่คุณแม่ก็ยังคงวางใจไม่ได้สักเท่าไหร่ กลับกันยังต้องเตรียมตัวเพื่อรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น การเจ็บเตือนหรือการเจ็บท้องจริงๆ ดังนั้นคุณแม่ในช่วงเวลานี้จะต้องมีสติอยู่เสมอเพื่อพร้อมรับมือหากว่าการคลอดมาถึงนะคะ

ตั้งครรภ​์Latest articles in the category